11 ส.ค.2567 – น.ส.สุดาวรรณ หวังศุกภิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยยังพื้นที่โบราณสถานริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจึงห่วงใยพื้นที่โบราณสถานยังแหล่งมรดกโลกที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะจะมีปริมาณฝนตกมากกว่าทุกปี และระดับน้ำค่อนข้างสูง อีกทั้งวัดไชยวัฒนารามยังเคยถูกน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ และรับฟังแผนการบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม พบว่า มีความพร้อมทุกด้าน กรมศิลปากรได้ติดตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว 160 เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่งประมาณ 1.80 เมตร และต่อความสูงเพิ่มได้ถึง 2.40 เมตร
รมว. วธ. กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีการแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วคอนกรีตเสริมเหล็กแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3469 เป็นแนวป้องกัน รวมถึงการจัดแผนรองรับยังพื้นที่โบราณสถานสำคัญในพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่มีความเสี่ยงตามแผนปฏิบัติการลดผลกระทบจากภัยพิบัติการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ปี 2566 – 2575 โดยร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทหาร และหน่วยงานท้องถิ่น จัดแนวทางป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
” ยืนยันว่า จากความพร้อมดังกล่าวจะทำให้ไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมเช่นเดียวกับปี 2554 พร้อมกับสั่งการให้กรมศิลปากรติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ ยังได้ติดตามแผนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 19-20 ส.ค. พบว่ามีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ขณะที่ผู้ประกอบการอยากให้เปิดการท่องเที่ยวยามค่ำคืนที่วัดไชยวัฒนารามอีกเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ปีนี้สร้างรายได้มากกว่า 80 ล้านบาท จึงมีแนวคิดจะเปิดการท่องเที่ยวยามค่ำอีกครั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่น” รมว.วธ. กล่าว
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม HIA ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หนองคาย ช่วงสถานีอยุธยา) ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว) ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้แสดงความกังวลและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และขอให้มีการจัดทำรายงานฯ (HIA) ที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จ.พระนครศรีอยุธยา อีกทั้งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลกเดินทางลงพื้นที่ แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำการประเมินและลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในช่วงเดือน ก.ย.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม
5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ
ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม
วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา