“เรือกอแระ” เป็นเรือคู่กายของชาวประมงพื้นถิ่นในแถบพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และในบางพื้นที่ของสงขลา นครศรีธรรมราช ไล่ไปจนถึงแหลมมลายู ที่ยังคงพบเห็นการทำประมงด้วยเรือกอและ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนตัวเรือกอและนั้น ก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนเรือภาคอื่นๆในประเทศ เพราะมีความสวยงามด้วยสีสันที่ฉูดฉาด มีการวาดลวดลายทั้งไทย มลายู และชวา มีรูปลักษณ์ที่ปราดเปรียว คล่องแคล่ว ฝ่าคลื่นทะเลได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันการประมงได้พัฒนาให้มีความทันสมัยเป็นเรือพาณิชย์ หรือเรือเครื่องยนต์ ทำให้การใช้เรือกออาจจะพบเห็นได้ในบางพื้นที่ของจังหวัดในภาคใต้ อย่างในนราธิวาส นับเป็นอีกจังหวัดที่ยังมีการใช้เรือกอและในการทำประมงอยู่ค่อนข้างมาก และถือเป็นแหล่งอู่ต่อเรือและเขียนลวดลายที่สำคัญในแถบภาคใต้ ที่ยังคงมีผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการต่อเรือกอและมาจวบจนปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีนโยบายในการนำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา ประเพณี วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ซึ่งจ.นราธิวาสมีความหลากหลายทางด้านอัตลักษณ์ ประกอบกับมีการเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
โดยทางจังหวัดนราธิวาส โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดงานเทศกาลเรือกอและศิลปสีและลวดลาย ภายใต้โครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนอัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและขับเคลื่อน Soft Power ในจ.นราธิวาส โดยเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลเรือกอและฯ ประกอบด้วย นิทรรศการเรือกอและ การสาธิตวาดลวดลายเรือกอและ การทำเรือกอและจำลอง ผลิตภัณฑ์จากเรือกอและ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การแสดงดิเกร์ฮูลู การแสดงมโนราห์ การแสดงซีละฯลฯ เดินช้อปิมตลาดนัดวัฒนธรรม จำหน่ายอาหารพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย (CPOT) จากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี เป็นต้น
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เทศกาลเรือกอและ ศิลปะ สี และลวดลาย นับเป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ต่อเนื่องจากงานเทศกาลริเวร่าท้าลมร้อน : Shade of Pattani จังหวัดปัตตานี และเทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง จังหวัดยะลา เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และสร้างภาพลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาสควบคู่กับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางประเพณีวัฒนธรรม เพิ่มรายได้แก่คนในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นฐาน ตลอดจนการยอมรับความหลากหลายทางประเพณีวัฒนธรรม นำไปสู่ความมั่นคงในพื้นที่
“เป็นการเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมีโอกาสมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนใต้มากขึ้น เป็นมิติใหม่ในการพัฒนาและให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชน เพื่อขับเคลื่อน Soft Power ในจ.นราธิวาส โดยเฉพาะ เรือกอและ เป็นเรือประมงภูมิปัญญาและเป็นศิลปะชายแดนใต้ที่มีอัตลักษณ์และสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานดินแดนปักษ์ใต้ มีลวดลายที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนวิถีความเป็นอยู่ร่วมในจังหวัดชายแดนใต้ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่มีคุณค่าสมควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง” ปลัด วธ.กล่าว
ด้านนายฐปนัท วงศ์ศานติบูรณ์ วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของจ.นราธิวาส และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ที่จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งตลอดการจัดงานได้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ที่สำคัญือการเขียนลวดลายเรือกอและจำลอง สะท้อวิถีขาวประมงและสัญลักษณ์ของชาวนราธิวาส
ฮำซัม ยูโซะ ช่างเขียนเรือกอและ หมู่บ้านทอน ต.โคกเตียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เล่าว่า ครอบครัวเป็นช่างเขียนเรือกอและ เป็นสิ่งที่เราได้เห็นมาตั้งแต่เด็กทำให้เกิดความชื่นชอบและฝึกฝนในการเขียนเรือกอและเพื่อสืบทอดต่อจากพ่อ ซึ่งในหมู่บ้านปัจจุบันคนที่เป็นช่างเขียนเรือและช่างต่อเรือกอและเหลือน้อยแล้ว แต่คนในหมู่บ้านก็ยังมีการทำประมงด้วยเรือกอและอยู่บ้าง แต่ไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน และมีเรือท้ายตัด ที่มีรูปร่างเล็กกว่ามีการวาดลวดลายลายเหมือนเรือกอเและเหมือนกัน ซึ่งการวาดเรือเทคนิคที่สำคัญก็คือ การเขียนลวดลายที่มีการผสมผสานของหลากหลายวัฒนธรรมทั้งลายไทย ลายมลายู และลายอินโดนีเซีย ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการลงสีเพราะเป็นการวาดครั้งเดียว ที่สำคัญคือการแต่งแต้มสีสันให้เด่นชัด ทำให้เรือมีมีความสวยงามแชะความโดดเด่น ซึ่งตนมีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์และสืบทอด ส่งต่อ ภูมิปัญญานี้ให้กับคนรุ่นหลังต่อไปด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วธ. แถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 113 โครงการ รวมกว่า 44 ล้านบาท
นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร
วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท
สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ