นอนกรนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หยุดหายใจขณะหลับ

เทคโนโลยี iNAP ที่จะมาช่วยบำบัดอาการนอนกรน

อาการนอนกรน เป็นสัญญาณเตือนปัญหาด้านสุขภาพอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัว เนื่องจากภาวะการนอนกรนหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือ ผู้ที่เหนื่อยจากการทำงาน บางคนนอนกรนเป็นเรื่องปกติ แต่ปัจจัยเหล่านี้ซ่อนความเสี่ยงไว้ คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

โดยสถิติในประเทศไทย ข้อมูลจากราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย เผยว่าคนไทยประมาณ 25% มีภาวะนอนกรนและพบผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับประมาณ 5% หรือราว 3 ล้านคน  ดังนั้นอันตรายจากการนอนกรนที่นำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงทั้งทางกายและจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย อ่อนเพลีย ง่วงนอนมากระหว่างวันจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ในระยะยาว พร้อมชวนคนไทยสังเกตตนเองและคนรอบตัว หากมีอาการนอนกรนอยู่เป็นประจำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา

ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลวิมุต ร่วมกับ บริษัท นำวิวัฒน์ เมดิคอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NAM ได้เปิดตัวเทคโนโลยี iNAP (Intraoral Negative Airway Pressure Therapy) เพื่อยกระดับคุณภาพการนอนหลับ สอดรับเมกะเทรนด์สุขภาพ หลังคนทั่วโลกเผชิญหลายปัญหาด้านการนอนหลับมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง

นพ.พิชิต กังวลกิจ

นพ.พิชิต กังวลกิจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันตัวเลขจากทั่วโลกและในไทยชี้ให้เห็นว่าภาวะนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภัยร้ายที่คุกคามสังคมโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยข้อมูลของ National Council on Aging (NCOA) ในสหรัฐฯ ระบุว่าประชากรโลกราว 936 ล้านคนกำลังเผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรง และยังพบว่าผู้ที่มีอาการนอนกรน เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวมากถึง 94% โดยในไทยมีประมาณ 25% ซึ่งในผู้ที่มีภาวะดังกล่าวมักมีอาการกรนมากจนหายใจติดขัด เกิดการสะดุดหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ทำให้ร่างกายขาดอากาศเป็นระยะ ๆ ระหว่างที่หลับ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการทำงานของหัวใจ สมอง หลอดเลือด และอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย

นพ.พิชิต กล่าวต่อว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่ทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากมายโดยไม่รู้ตัว เช่น ภาวะใหลตาย, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, เบาหวาน, อัมพาต, ความดันโลหิตสูง และอีกหลายโรค จึงตระหนักว่าการนอนกรน ไม่ใช่แค่เรื่องน่ารำคาญ แต่เป็นสัญญาณอันตรายที่ควรพบแพทย์ และปัจจุบันมีหลากหลายแนวทางการรักษาทางการแพทย์ที่ทำให้ผู้ใช้บริการกลับมานอนได้อย่างมีคุณภาพ โดย iNAP Sleep Therapy System นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ในการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการแก้ปัญหาและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ

สาเหตุของการนอนกรนและความเสี่ยงจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ผศ.พญ.กวินญรัตน์ จิตรอรุณฑ์ แพทย์เฉพาะทางสาขานาสิกวิทยาและภูมิแพ้ โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า ในสังคมยุคปัจจุบัน ปัญหาการนอนนับเป็นปัญหาสุขภาพเรื่องใหญ่ที่พบตากผู้คนทั่วโลกมักมีความเครียดสะสม นอนไม่หลับ นอนไม่พอ และมีปัญหาเรื่องคุณภาพการนอน โดยพฤติกรรมนอนที่ผิดปกติเหล่านี้ก็ค่อย ๆ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจโดยที่เราไม่รู้ตัว และที่น่าเป็นห่วงคือหลายคนยังคิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องปกติ แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น โดยเฉพาะในคนที่นอนกรนรุนแรงจนโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมด้วยนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ภาวะนอนกรนพบได้ในทุกอายุ

ผศ.พญ.กวินญรัตน์ จิตรอรุณฑ์

ผศ.พญ.กวินญรัตน์ กล่าวต่อว่า โดยมักจะพบในผู้ใหญ่และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องตากโครงสร้างของร่างกายใบหน้า ลำคอ   ในกลุ่มอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เฉลี่ยผู้ชาย 13-50% ผู้หญิง 6-13%  โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวมาก การนอนกรนระดับรุนแรงที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยเราเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea ซึ่งเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โดยระบบทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบแคบลง สาเหตุอาจเกิดจากกายวิภาคของกล้ามเนื้อในช่องคอ โคนลิ้นมีการย่อนไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะขณะหลับหรือการที่ช่องคอมีลักษณะแคบ ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าสู่ปอดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะอื่น ๆ ได้ คนไข้จะมีภาวะออกซิเจนต่ำ มีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการสะดุ้งเฮือกกลางดึกหรืออาการเหนื่อยหอบหลังสะดุ้งตื่น ทำให้รู้สึกเหมือนยังไม่ได้พักผ่อนเมื่อตื่นนอน แต่กลับเหนื่อยล้าและรู้สึกง่วง

ดังนั้นหากอาการที่กล่าวข้างต้นเกิดขึ้นเป็นประจำจะส่งผลร้ายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงความเสี่ยงต่อโรค อาทิ ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจห้องบนผิดปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงซึมเศร้าและโรคอ้วน ซึ่งเป็นอาการในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจจะเสี่ยงต่อการไหลตายได้ถึง 0.04% ทั้งนี้ผู้ที่เสี่ยงมีภาวการณ์นอนกรนในไทยเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 11-12% จากการเข้ามาตรวจในโรงพยาบาล โดยยังไม่รวมกับผู้ที่ไม่ได้เข้ามาตรวจอีกคาดว่ามีอีกจำนวนมาก

สำหรับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัญหาการนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับที่ดีที่สุด ผศ.พญ.กวินญรัตน์ กล่าวว่า การลดน้ำหนักตัว ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ปรับท่านอนเป็นนอนตะแคงจะช่วยให้อาการลดลงบ้าง อย่าอดนอน และที่สำคัญหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและคนรอบข้าง หากพบอาการผิดปกติ เช่น นอนกรนเป็นประจำและมีอาการสะดุ้งเฮือก นอนเต็มที่แต่ตื่นมายังง่วงมาก ปากแห้ง-คอแห้งและเจ็บคอเมื่อตื่นนอน หรือปวดศีรษะหลังตื่นนอนเป็นประจำ ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างทันท่วงที หากซักประวัติแล้วเข้าข่ายก็ควรตรวจด้วยการทำ Sleep Test เพื่อวิเคราะห์การทำงานของร่างกายระหว่างนอนหลับโดยละเอียด เพื่อหาแนวทางรักษาอาการต่อไปและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงบรรเทาอาการเพื่อลดภาวะและปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ด้าน วิโรจน์ ชัยเทอดเกียรติ กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นําวิวัฒน์ เมดิคอล คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ NAM กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกและคนไทยเริ่มตระหนักรู้ถึงความสำคัญของคุณภาพการนอนหลับและภัยเงียบที่เกิดจากการนอนที่ไม่มีคุณภาพ โดยข้อมูลของ Research And Markets บริษัทวิจัยตลาดชั้นนำระบุว่าตลาดเครื่องมือแพทย์ในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 9.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 โดยขยายตัวที่ CAGR ที่ 7.34% จากปี 2567 ถึง 2573 ปัจจุบันตลาดประเมินไว้ที่ 6.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566

วิโรจน์ ชัยเทอดเกียรติ

“การพัฒนา iNAP Sleep Therapy System เป็นนวัตกรรมใหม่ออกแบบมาเพื่อลดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรน ด้วยเทคโนโลยี Oral Negative Air Pressure Therapy สร้างแรงดูดอ่อนๆ ทำให้ลิ้นและเนื้อเยื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยให้หายใจได้อย่างเป็นธรรมชาติขณะที่นอนหลับ โดยผ่านการรับรองความปลอดภัยและมาตรฐาน โดยได้รับการทดสอบและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และในประเทศไต้หวัน อีกทั้งยังได้รับรางวัลต่าง ๆ จากองค์กรชั้นนำ พร้อมการยอมรับจากแพทย์และนักวิจัยในหลายประเทศ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในทุกระดับความรุนแรง” วิโรจน์ กล่าว

ส่วนหลักการทำงานของ iNAP สร้างแรงดันลบผ่านท่อที่ต่อกับอุปกรณ์ในปาก ทำให้ลิ้นและเนื้อเยื่ออ่อนเคลื่อนไปด้านหน้า เพื่อเปิดทางเดินหายใจส่วนบน ทำงานต่อเนื่องตลอดคืนเพื่อรักษาทางเดินหายใจให้เปิดโล่งอย่างต่อเนื่อง ระบบสามารถปรับแรงดันให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน มีการตรวจจับการทำงานอัตโนมัติเมื่อมีการรั่วไหลของอากาศภายในช่องปาก และหยุดทำงานอัตโนมัติเมื่อปากปิดสนิท ดังนั้นประโยชน์ของการใช้ iNAP จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะนอนกรน นอนหลับได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการง่วงนอนขณะขับรถ และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้โดยรวม อีกทั้งมีรูปลักษณ์ที่สะดวกต่อการพกพา มีขนาดเล็กกะทัดรัด และสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ใช้งานได้นาน 4-6 วัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหาผิดปกติในระหว่างการนอนสามารถเข้ารับบริการตรวจ Sleep Test  ที่ศูนย์ หู คอ จมูก โรงพยาบาลวิมุต ให้ พร้อมแนะนำนวัตกรรมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ หู คอ จมูก ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต หรือโทร 02-079-0050

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หนึ่ง มาฬิศร์' แอดมิท หลังหยุดหายใจขณะหลับ!

ทำเอาแฟนๆใจหายใจหายคว่ำ เมื่อนักแสดงหนุ่ม หนึ่ง-มาฬิศร์ เชยโสภณ โพสต์รูปขณะนอนโรงพยาบาลพร้อมสายระโยงระยาง ซึ่งเจ้าตัวเผยผ่านอินสตาแกรมถึงโรคที่ทำให้ต้องมาแอดมิทก็เพราะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น