Logo 'ปักธงอาหารถิ่น' ลายแทงค้นหา'เมนูที่หายไป'

หลังจากที่กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) มีนโยบายเชิดชูอาหารท้องถิ่น  โดยผุดโครงการ Thailand Best Local Food“รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” เดินหน้าเฟ้นหาเมนูหาทานยากประจำ 77 จังหวัดยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย อาหารถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมจัดการประกวดโลโก้ และเพลงประจำโครงการ ล่าสุด โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.)ได้ ร่วมกับ บริษัท เซเว่น สตาร์ สตูดิโอ จำกัด ผู้ผลิตรายการ “ชุมทางฮอตโชว์” ได้จัดงานการประกาศผล การประกวดทั้งโลโก้และเพลงประจำโครงการขึ้น ณ ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการวธ.เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ร้อยตำรวจโท ดร. มนัส โนนุช ประธานมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ และประธานสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นางสาวพลอย ธนิกุลผู้ช่วย รมว.วธ.  นายประสพ เรียงเงิน อธิบดี สวธ. นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นายสมพล ตรีภพนารถประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจ ศูนย์การค้าบริษัท เอ็มบีเค จ ากัด (มหาชน)

สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วธ.

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า วธ. เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power ด้านอาหารของประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ในปีนี้  จึงได้มอบหมายให้ สวธ. ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีจัดงาน “อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา” พร้อมการเปิดตัวโลโก้และเพลงประจำโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” เพื่อนนำไปใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารรวมถึงชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ นาไปใช้ประกอบการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อสร้างการรับรู้ ให้ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและยกระดับอาหารถิ่น นอกจากนี้ ในแต่ละจังหวัดกำาลังเดินหน้าเฟ้นหา“1 จังหวัด 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น” ประจ าปี 2567 เพื่อให้ได้เมนูอาหารถิ่นของทุกจังหวัด ที่หาทานยากและเสี่ยงต่อการสูญหาย ให้ได้รับการฟื้นฟู เข้าสู่กระบวนการพัฒนายกระดับให้เป็นเมนูยอดนิยม เพื่อน ามาซึ่งรายได้และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นและภาพรวมของประเทศ


“ดิฉันรู้สึกดีใจที่ทุกภาคีเครือข่ายร่วมกันผลักดันอาหารถิ่นของไทย ซึ่งถือว่าเป็น ซอฟต์ เพาเวอร์ของไทยที่รัฐบาลอยากผลักดัน เพราะเรามีอาหารท้องถิ่นและสมุนไพร ที่เป็นเอกลักษณ์ และอาหารถิ่นแต่ละภูมิภาคจะหายไป หากไม่ได้รับการส่งเสริม และวันนี้ เราจะโปรโมทอาหารถิ่นของเราให้คนไทยและต่างชาติได้รู้จัก ได้ลิ้มลอง เขาจะได้รู้ว่าเรามีดีอะไรบ้าง  กิจกรรมต่อไปของเราก็คือ  กิจกรรม 1จังหวัด 1เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ซึ่งจะมีการคัดเลือก และเปิดให้คนในจังหวัดตัวเองโหวตให้คะแนน ซึ่งเราจะประกาศผลช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ “รมว.วธ.กล่าว

มอบรางวัลชนะเลิศประกวดโลโก้โครงการ

ผลการประกวดผู้ออกแบบโลโก้โครงการ Thailand Best Local Food“รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” อันดับ 1 นางสาวสุชาดา คันธารส  ออกแบบผลงานชื่อ “ปักธงอาหารถิ่น” รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ส่วนผู้แต่งเพลงประจำโครงการฯ “เพลง…รสชาติที่หายไป” ได้แก่ นายชรัมภ์ ศรหิรัญ และผู้ขับร้องเพลงประจำโครงการประกอบด้วย นางสิริมา หิรัญรุจี น.ส.เบญจมาศ พานทอง นายสัจจพงษ์ เติมสวัสดิ์น.ส.ถิรษิมา เมืองช้าง

นางสาวสุชาดา คันธารส  ผู้ออกแบบโลโก้ ในผลงานชื่อ “ปักธงอาหารถิ่น”  ปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ กราฟฟิกดีไซน์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  เล่าแนวคิดในการออกแบบว่าอย่างแรกได้ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์โครงการก่อนว่าคืออะไร ซึ่งก็คือ การตามหาอาหารถิ่นที่หายไป เพื่อให้คนทั้งโลกได้รู้จัก ซึ่งอาหารถิ่นบางเมนูจัดว่าเป็น Top Secret มาก ๆ และทำอย่างไรคนถึงจะให้คนเข้าถึงอาหารถิ่นนั้นๆ ดังนั้น รูปธงที่ออกแบบ จึงเป็นเสมือน เหมือนลายแทงที่จะไปตามหาสมบัติ  ซึ่งก็คืออาหารถิ่น   และต่อไปเชื่อว่าจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลอาหารถิ่นครบถ้วนทุกจังหวัด บางเมนูที่เป็นอาหารถิ่นอาจจะโด่งดัง และมีเชฟยอดฝีมือ ขนาดว่าถ้าใครได้มาจังหวัดนี้แล้ว ถ้าไม่ได้มาลิ้มลองถือว่ามาไม่ถึง และการจะไปตามหาอาหารถิ่นนั้นๆได้ ก็จะต้องอาศัยธงที่เป็นสัญลักษณ์ของโครงการนำไปค้นหา

สุชาดา คันธารส  ผู้ออกแบบโลโก้ ในผลงานชื่อ “ปักธงอาหารถิ่น”

“ส่วนสีที่เลือกใช้เป็นสีทอง แสดงถึงความหรูหรา บ่งบอกถึงคุณค่าอาหารถิ่น ที่อาจจะเป็นของหายาก และสื่อว่าเราต้องการยกระดับอาหารถิ่นนั้นทั้งในแง่คุณค่า ราคา ส่วนสีม่วง ก็มีความหรูหราในตัวเอง ในมุมศิลปะสีม่วงยังเป็นสีตรงข้ามกับสีเหลืองหรือสีทอง การตัดกันของสองสี สะท้อนไปถึงอาหารถิ่นนั้นมีความโดดเด่นหลากหลายแท้จริง ” สุชาดากล่าว

เมี่ยงคำกลีบบัวอาหารไทยโบราณ

ในงานประกาศผล ยังมีการเปิดบูธร้านอาหารถิ่นไทย ที่ผ่านการคัดเลือกในปีที่แล้ว อาทิ เมี่ยงโคราช , แกงรัญจวน, เมี่ยงกลีบบัว , ขนมข้าวตอก รวมถึงอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงเพชรบุรี แกงกะทิใบชะคราม ขนมจีนน้ ายาต่างๆ ,อโวคาโดปั่น, น้ าถั่วน้อย อีกด้วยซึ่งงาน “อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา” จะเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในรายการ“ชุมทางฮอตโชว์” ที่น าเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ เปี่ยมคุณประโยชน์ทางโภชนาการสรรพคุณสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ตามเทรนด์สุขภาพในยุคปัจจุบัน ส่งเสริมการท่องเที่ยว และพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย .

เมี่ยงโคราชที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ขนมจีนน้ำยาปลาหมอคางดำก็มา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวธ. จัดวันเด็กปี 68 ชวนเรียนรู้งานศิลป์ พบมาสคอต 'น้องหมูเด้ง Thai Cuteness ตัวตึง ถึงไทย'

วันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดกิจกรรมวันเด็กแบบจัดเต็มเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนไทย เพื่ออนุรักษ์ สืบสานและต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และมุ่งปลูกฝังให้เติบโตเป็นคนดี มีคุณธรรม รักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไว้

สวธ.ชวนประกวดเยาวชนต้นแบบมารยาทไทย ชิงรางวัลถ้วยพระราชทานกรมสมเด็จพระเทพฯ

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับ กองทุน ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศจัดการประกวด "เยาวชนต้นแบบด้านมารยาทไทยและมารยาทในสังคม ปี 2568"

วธ. แถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 113 โครงการ รวมกว่า 44 ล้านบาท

นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร

สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท