Soft Power ไทยสู่สากลผ่านคอสเพลย์

ถือเป็นสนามทดสอบไอเดียสร้างสรรค์ของเหล่าเลเยอร์ ผู้เล่นคอสเพลย์ (cosplay)  ที่หลงไหลตัวละครที่ชื่นชอบจากเกม ภาพยนตร์  อนิเมะ  การ์ตูนมังงะ  และใช้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งตัว แต่งหน้า ทำผมเลียนแบบ  ไม่ใช่แค่เหมือน ดูดี แต่ต้องผสมผสานวัฒนธรรมไทยได้อย่างลงตัวผ่านการประกวดคอสเพลย์ (  Cosplay Production Team ) ภายใต้โจทย์ท้าทาย “ถ้าตัวละครเหล่านี้ มาประเทศไทย จะเป็นอย่างไร?” ในงานมหกรรม Cosplay Art Festival หรือ  CAF  2024   ที่บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด  ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)  กระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่หลงไหลคอสเพลเยอร์ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์บอกเล่าความเป็นไทยในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

งานนี้ มีเหล่าเลเยอร์เข้าประกวดทั้งสิ้น 10 ทีม แต่ละทีมเลือกตัวละครจากอนิเมะ มังงะ หรือเกมแต่งเต็มตามต้นฉบับ พร้อมกับนำเสนอวัฒนธรรมไทยผ่านภาพถ่ายอย่างน่าสนใจ   รางวัลชนะเลิศและรางวัลส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ได้แก่ ทีมงานเผาเราถนัด อันดับที่ 2 ทีมอ้ายมา 3 คน และอันที่ 3 ทีม  CameGang

ประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า คอสเพลย์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ในแบบที่แต่ละคนสนใจ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชนไทยบนรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมให้กับประเทศ แต่ละคนที่แต่งคอสเพลย์มีความชื่นชอบที่ได้ออกแบบสร้างสรรค์การแต่งกาย ดังนั้น การนำความเป็นไทยใส่เข้าไปในตัวละครเป็นอีกหนึ่งช่องทางสื่อสารถึงความเป็นไทย

“  ปีนี้ได้เปลี่ยนโจทย์เป็นภาพถ่ายที่ให้ตัวละครที่เหล่าคอสเพลย์เยอร์ได้คอสเพลย์สื่อสารวัฒนธรรมไทยในรูปแบบใดก็ได้ เปิดพื้นที่ให้สร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยผ่านตัวละครที่ชื่นชอบเป็นการผสมผสานกันได้อย่างดี เป็นการสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ “อธิบดี สวธ. กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.สุรัตน์ จงดา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ในฐานะกรรมการตัดสินการประกวดภาพถ่ายคอสเพลย์   กล่าวว่า การเปิดเวทีให้เหล่าคอสเพลย์เยอร์ได้มาแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการนำวัฒนธรรมไทยอะไรก็ได้มา ไม่จำกัด ทั้งเสื้อผ้า อาหาร แหล่งท่องเที่ยว เครื่องใช้ หรือโขน ทั้งหมดทุกอย่างล้วนเป็นวิถีความเป็นไทย นำเสนอออกมาเป็นภาพถ่ายสวยงาม ทั้งยังสะท้อนแนวคิดการเชื่อมโยงคอสเพลย์และวัฒนธรรมไทยอย่างลงตัว ทั้งนี้ ภาครัฐต้องสนับสนุนวงการคอสเพลย์แบบไทยไปสู่ระดับอินเตอร์ เพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก รวมถึงกลุ่มศิลปินที่ออกแบบอนิเมชั่นหรือเกมของไทย ที่มีตัวละครอยู่แล้ว จะมีแนวทางอย่างไรทำคาแรคเตอร์แบบไทยเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก นอกจากเราเเป็นผู้รับแล้ว ต้องเป็นผู้ที่ส่งออกวัฒนธรรมด้วย

“ การประกวดในครั้งนี้แต่ละทีมนำเสนอความเป็นไทย ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ นอกจากโปรดักชั่นที่ดี ผู้ที่คอสเพลย์เป็นตัวละครยังคงคาแรคเตอร์ได้ไม่หลุด ไม่ว่าจะสีหน้า ท่าทาง รวมถึงการแต่งกาย  ที่สำคัญนำเสนอเรื่องราวของตัวละครและมาโผล่ที่ย่านเยาวราช แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แล้วยังมีรถตุ๊กตุ๊ก อีกสัญลักษณ์ของไทย เป็นการสร้างสรรค์ที่ได้เห็นมุมมองการนำเสนอวัฒนธรรมไทยที่ผสมผสานได้หลากหลาย”  ผศ.ดร.สุรัตน์ กล่าว

ด้านทีม”งานเผาเราถนัด” ขนม-ธีรวัฒน์ พันธุ คอสเพลย์เป็นฮาร์ลี ควินน์ จากภาพยนต์ Birds of Prey พร้อมเพื่อนร่วมทีมชรัช ธรรมเจริญ และพัชรพร เจริญพานิช บอกว่าเลือกตัวละครฮาร์ลี ควินน์ เพราะมีคาแรคเตอร์ที่สนุกสนาน และนำฉากหนึ่งในภาพยนตร์มาใช้ แต่ทีมปรับนำเสนอตัวละครให้มาโผล่ที่เยาวราช และเดินเที่ยวไปทั่ว เจอตุ๊กตุ๊กก็ขึ้นนั่งอย่างสนุกสนาน เลือกเยาวราชเพราะเป็นพื้นที่ที่มีสีสันในยามค่ำคืนตรงกับคาแรคเตอร์ของตัวละคร ทั้งยังนำเทคนิคการถ่ายภาพที่สื่อทั้งตัวละครและสถานที่ให้ออกมาอย่างลงตัว นำเสนอความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของกรุงเทพฯที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาวนาน

ทีม”อ้ายมา 3 คน” นนทพัทธ์ บุญเสริม เจ้าของเพจไอจะถ่าย และณัฐพร ส่งทานินทร์ คอสเพลย์เป็น ลูซี่จากอนิเมะ Cyberpunk: Edgerunners เล่าแนวคิดว่า เลือกตัวละครลูซี่ มาเป็นนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย โดยออกแบบชุดตัวละครให้เข้ากับแฟชั่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของเมืองไทย เปลี่ยนมาใส่กางเกงช้าง ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติและเปลี่ยนเสื้อคลุม สถานที่ในภาพ คือ ช่องนนทรี มีความคล้ายกับโลเคชั่นในเกมที่ต่อยอดมาจากอนิเมะ เรานำเสนอความเป็นไทยผ่ารเสื้อผ้าและสถานที่ที่เห็นภาพแล้วทุกคนก็รู้ได้ทันที  เราสนุกมากกับการประกวดรูปแบบนี้  อยากให้มีการจัดทุกปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ