เซวิคปรับโฉม'Learning and Experience Center' โชว์โซลูชั่นส์'เครื่องติดตามสัญญาณชีพ'ของฟิลิปส์

มีการคาดการณ์ว่า จะมีการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะพยาบาลประมาณ 13 ล้านคนในปี2030  ด้านหนึ่งนับว่าเป็นการเปิดทางให้เทคโนโลยีระบบการทำงานอัตโนมัติ ที่มีเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น  การทำงานของระบบอัตโนมัติ (Automation) จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ที่สามารถช่วยลดภาระงานด้านเอกสารให้กับแพทย์ พยาบาล และนักเทคนิคการแพทย์ เพราะการใช้งานโซลูชันดิจิทัลบนระบบคลาวด์ มีการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบ ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา ความสามารถของเทคโนโลยีอันล้ำสมัยยังเข้เาไปอยู่ในระบบคลาวด์ได้อีกด้วย  ซึ่งข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอันล้ำสมัยนี้  ยังเป็นสะพานเชื่อมโยงนำไปสู่การให้บริการ การแพทย์ทางไกล (Remote Operations) ได้อีกด้วย

และเทคโนโลยี Connected Care เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ระบบอัติโนมัติที่ทันสมัย มีความแม่นยำในการตรวจวัดและจับสัญญาณชีพต่างๆ ของผู้ป่วย  ที่เป็นตัวช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกและการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งฟิลิปส์ นับเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของ Connected Care ล่าสุด ฟิลิปส์ ได้ร่วมกับโซวิค (Xovic) ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับฟิลิปส์มาอย่างยาวนาน เปิดตัวศูนย์ “Learning and Experience Center” โฉมใหม่ ณ ศูนย์อำนวยการของบริษัทโซวิค

ศูนย์ Learning and Experience Center แห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์สำหรับฝึกอบรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และยังสามารถเข้าเยี่ยมชม เพื่อเรียนรู้ทำงานของโซลูชั่นส์เครื่องตรวจติดตามสัญญาณชีพสำหรับโรงพยาบาลและเทคโนโลยี Connected Care ของฟิลิปส์อย่างครบวงจร ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ได้อีกด้วย

อเล็กซี่ คอสต้า

อเล็กซี่ คอสต้า Head of Growth Region กลุ่มธุรกิจเครื่องติดตามสัญญาณชีพสำหรับโรงพยาบาล ฟิลิปส์ Growth Region กล่าวว่า เทคโนโลยีจะมีประสิทธิภาพ เมื่อสามารถทำงานตอบสนองความต้องการทางด้านสาธารณสุขได้ สำหรับ ฟิลิปส์ได้พัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งมานานกว่า 130 ปี และยังคงนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ในโซลูชั่นส์เครื่องตรวจติดตามสัญญาณชีพอยู่เสมอ และบูรณาการระบบ เพื่อสนองต่อความต้องการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น และการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ อนาคตของวงการแพทย์ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขด้วยทักษะและความสามารถเพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยและปฏิวัติผลลัพธ์ด้านสุขภาพให้ดีที่สุด

“ด้วยจำนวนผู้ป่วยและความต้องการด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเผชิญกับความท้าทายด้านจำนวนของบุคลากรทางการแพทย์ จึงมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุขด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งจากรายงานผลการสำรวจ Philips Future Health Index 2023 (FHI) พบว่าเกือบครึ่ง (44%) ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องการได้รับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย”อเล็กซี่ กล่าว

ภายในศูนย์ ‘Learning and Experience Center’ โฉมใหม่มีการติดตั้งโซลูชั่นส์เครื่องติดตามสัญญาณชีพสำหรับโรงพยาบาลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างครบวงจร เพื่อเชื่อมต่อการดูแลผู้ป่วยตลอดเส้นทางตั้งแต่ห้องฉุกเฉินจนถึงหอพักผู้ป่วยทั่วไป โดยบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับการฝึกอบรมในการใช้งานตั้งแต่เครื่องมอนิเตอร์ข้างเตียง, มอนิเตอร์สำหรับขนย้ายผู้ป่วย, ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง และแอปพลิเคชันการเชื่อมต่อสำหรับเคลื่อนที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

เครื่อง Connected Care ของฟิลิปส์ที่ติดตั้งภายในศูนย์Learning and Experience Center จะทำให้ผู้เยี่ยมชมหรือฝึกอบรมการใช้เครื่อง เห็นถึงศักยภาพของ “ดาต้าและข้อมูลเชิงลึก (Actionable Insights) “ของเครื่องConnected Care  ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่เครื่องจับสัญญาณได้นั้น มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องอย่างมากต่อการตัดสินใจในการดูแลรักษาทางคลินิก ของแพทย์และพยาบาล และตอบสนองการดูแลคนไข้อย่างทันท่วงที

“เครื่องจะมีการติดตั้งระบบเชื่อมต่อข้อมูลสารสนเทศที่มาพร้อมโซลูชั่นส์ขั้นสูงเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก ระบบดังกล่าวจะทำงานร่วมกับระบบสัญญาณเตือน (Smart alarms) ในการประมวลผลข้อมูลผู้ป่วย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทราบทันที  เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงหรือวิกฤต โดยระบบข้อมูลสารสนเทศนี้จะเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเครื่องติดตามสัญญาณชีพและเครื่องมือแพทย์ต่างๆ และรวบรวมไว้ในเวชทะเบียนฉุกเฉิน (EMR) และยังเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างไร้รอยต่อ ตั้งแต่เข้ารับการรักษาจนสิ้นสุดกระบวนการรักษาและในระหว่างการขนย้ายผู้ป่วยด้วย”อเล็กซี่กล่าว

วีระชัย แสงเกื้อกุลชัย

วีระชัย แสงเกื้อกุลชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โซวิค จำกัด กล่าวว่า ทุกวันนี้ รพ.ชั้นนำในประเทศไทย ทั้งรพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ และรพ.เอกชนชั้นนำล้วนใช้แต่เครื่อง Connected Care ของฟิลิปส์  กลุ่มเป้าหมายการเป็นเลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ของศูนย์แห่งนี้ ตั้งเป้าที่จะมีผู้เข้ามาเรียนรู้ 500 คนภายในปีแรก ของการเปิดศูนย์ ซึ่งจุดมุ่งหมายแรกของศูนย์ฯคือ ต้องการเทรนด์สต๊าฟของฟิลิปส์ก่อน กลุ่มที่สองรองรับ ลูกค้าที่เป็นแพทย์ พยาบาล โดยจะมีการสาธิตและสอนระบบของเครื่อง ว่ามีประสิทธิภาพและทำงานอย่างไร  ซึ่งบางครั้งระบบที่เรามีอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ อาจจะอยากได้อย่างอื่น เราก็จะCustomized ให้ เช่น เขาอาจจะไม่ได้เน้นเรื่องหัวใจ แต่เน้นเรื่องอื่นๆ เราก็จะ Customized ในสิ่งที่เขาต้องการได้  เพื่อที่เขาจะได้มองเห็นภาพว่าถ้าซื้อเครื่องไปแล้ว สามารถใช้งานได้จริงตามที่คิดไว้หรือไม่ ส่วนพนักงาน ก็ต้องเรียนรู้จากศูนย์ฯด้วยเช่นกัน เพราะเวลาที่ไปขาย หรือบริการหลังการขาย ก็ต้องรู้ว่าเครื่องทำงานอย่างไร ที่สำคัญศูนย์แห่งนี้ ยังเปิดกว้างให้โรงพยาบาลต่างๆมาเวิร์กช้อป เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับการแพทย์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือพวกนี้อีกด้วย

“เครื่องConnected Care จะใช้ได้ในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือห้องไอซียู ส่วนที่เป็นอุบัติเหตุ หรือส่วนผู้ป่วยธรรมดา ซึ่งจะมีการใช้เป็นCommand Center โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายเยอะหลายโรงพยาบาล ก็สามารถใช้เครื่องนี้ เป็นCommand Center ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องมีหมอประจำทุกที่ เพราะหมอจะสามารถConsult ทางไกลกับรพ.อื่นได้  เช่น รพ.ในเชียงใหม่ขอความช่วยเหลือมา หมอก็สามารถดึงข้อมูลมาดู และให้การรักษาทางไกลได้เช่นกัน”วีระชัย กล่าว

ความเป็น visual Avatar  เป็นอีกฟังก์ชั่นในเครื่องมือของฟิลิปส์ที่ดีไซน์ออกมา วีระชัย อธิบาย ความสามารถของเครื่องว่า เช่นในเวลาแพทย์ผ่าตัด ห้องผ่าตัดจะมีเครื่องมือเครื่องไม้เต็มไปหมด การหันไปดูจอแต่ละคร้ั้ง แพทย์อาจจะไม่รู้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนไข้ ซึ่งเครื่องของฟิลิปส์ที่ติดสัญญาณไว้กับคนไข้  จะมีตุ๊กตาอวาตาร เป็นสัญลักษณ์ บ่งบอกอาการคนไช้โดยรวม เช่าถ้าอวตารสีออกเขียว แสดงว่าคนไข้ซีดอานมีปัญหาขาดอ๊อกซิเจน visual Avatar  นี้จึงทำให้แพทย์ติดตามอาการคนไข้ได้ทันทีแค่เหลือบมอง  ทำให้รู้ว่าคนไข้อาจได้รับอ๊อกซิเจนไม่พอ หรือหัวใจมีปัญหา เป็นต้น

วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์

วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าฟิลิปส์และโซวิค เราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งมอบเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้กับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและผู้ป่วยในประเทศไทย และเรายังร่วมกันสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการฝึกอบรมการใช้งานเครื่องมือทางการแพทย์ การอัพเดทข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ หรือการสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย  ด้วยศูนย์ฯ แห่งนี้จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเครื่องติดตามสัญญาณชีพสำหรับโรงพยาบาลและระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประสบการณ์และผลลัพธ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้น

“ศูนย์ ‘Learning and Experience Center’ แห่งนี้ มีการเตรียมการฝึกอบรมเฉพาะทาง ทั้งในด้านคลินิก ด้านเทคนิคและด้านปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีการฝึกอบรมหลากหลายรูปแบบ และยังมีคอร์สสำรับการอัพเดทเทคโนโลยีล่าสุดและกระบวนการทางคลินิกด้วย”วิโรจน์กล่าว.

พิธีเปิดLearning and Experience Centerที่ปรับโฉมใหม่ โชว์ศักยภาพเทคโนโลยีของฟิลิปส์เป็นหลัก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตื่นตาตื่นใจโขน'รวมพลอาสาจงรักพระจักรี'

รวมพลนักแสดงโขนตั้งแต่รุ่นครูถึงรุ่นศิษย์ครั้งแรกถ่ายทอดศิลปะการแสดงโขนในการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติชุดพิเศษ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “รวมพลอาสาจงรักพระจักรี” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ  28 กรกฎาคม 2567