'ออสซีโอแลบส์ ' กระดูกเทียมรูพรุน ผลงานนักวิจัยไทย   พลิกโฉมผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกโลก

กระดูกเทียมที่พิมพ์3มิติ มีรูพรุน ทำให้เกิดการไหลเวียนของเซลล์และเลือด ยึดเกาะกระดูกเดิมได้ดี

ในฐานะที่ ‘KX – Knowledge Xchange ‘เป็นองค์กรสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของประเทศ สร้างระบบนิเวศพร้อมเพรียงให้กับเหล่าบรรดาสตาร์ทอัพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ แบบเปิด การจัดหาผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้แต่ละด้าน หรือที่เรียกว่า Mentors ที่เป็นการร่วมทำงานกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ หรือเป็นเมนเทอร์ชั้นนำ จาก 6 ประเทศและหุ้นส่วนพันธมิตรระดับโลก  นับเป็นการกระตุ้นความคิด หาจุดอ่อนจุดแข็งในนวัตกรรมที่เข้าโครงการ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ  นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรรมสร้างผู้ประกอบการ โดยมีทั้ง FABLAB Bangkok บริการสร้างต้นแบบ(Prototyping service), การให้คำปรึกษา (Business consultation), พื้นที่ (Co-working space, Event space),การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี  (Technology support), คำปรึกษาด้านกฏหมาย (Legal consultation) และการพัฒนาทักษะ(Workshop & Training ที่ดำเนินการอยู่ภายในตึก  KX 20 ชั้น และภายในตึกแห่งนี้ ยังมีหน่วยงานและองค์กร 44 แห่งที่มาเปิดกิจการและร่วมมือกันในภารกิจเป็นส่วนหนึ่งของ Startup Ecosystem

ในวาระครบรอบการดำเนินงาน  9ปี   KX – Knowledge Xchange ได้โชว์ผลงานในช่วงปี 2021 -2024 ว่าสามารถสร้างสตาร์ทอัพ   202 ทีม, เจรจาจับคู่ธุรกิจ 103 ราย,จัดกิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรม 2,500 งาน, ร่วมมือกับหุ้นส่วนพันธมิตรกว่า 80 องค์กร, จัดหาแหล่งทุนกว่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 177 ล้านบาท และ Total Portfolio Valuation มีมูลค่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากผลการดำเนินงานดังกล่าว สะท้อนให้เห็นเป้าหมายของ KX ว่าต้องการสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมเปิด เพื่อเสริมพลังศักยภาพให้ผู้ประกอบการ ในการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีมาสู่ตลาดทั้งนี้  ดร. ภัทรชาติ  โกมลกิติ ประธานเจ้าหน้าที่่บริหารของKX – Knowledge Xchange ยอมรับว่า แม้จะมีสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดกรองจำนวนมากหมายหลายร้อยราย แต่ส่วนมากยังล้มเหลว หรือมีสตาร์ทอัพ ที่สามารถนำไปพัฒนาได้ประมาณร้อยละ  10 เท่านั้น และมีที่สามารถต่อยอดไปถึงดวงดาวได้ประมาณ 3-5%  ทั้งๆที่ประเทศไทยมีความต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 10,000 นวัตกรรม

ดร. ภัทรชาติ  โกมลกิติ


“ประเทศเราต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นหมื่น ผลงาน  แต่สัดส่วนสตาร์ทอัพของเรา ยังประสบความสำเร็จน้อยมาก เช่น  100 ราย จะมีแค่2-3ราย ที่ไปต่อได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีการผลักดัน สตาร์ทอัพในบ้านเราและบทบาทของKX นี้ เป็นการสนับสนุนระดับนานาชาติ เพื่อให้ผลงานที่ออกไปถึงระดับสากลได้”ดร.ภัทรชาติกล่าว

ออสซีโอแล็บส์ (OsseoLabs) วัสดุทดแทนกระดูกแบบมีรูพรุน 3D พริ้นติ้งเฉพาะบุคคล  เป็นหนึ่งใน2-3% ที่ไปถึงดวงดาว  ได้รับความสนใจในตลาดนานาชาติ โดยออสซีโอแล็บส์ (OsseoLabs) นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเทคโนโลยีทางดิจิทัลเฮลท์แคร์และการแพทย์ด้วยโซลูชั่นและวัสดุทดแทนกระดูกแบบมีรูพรุน 3D พริ้นติ้งเฉพาะบุคคล และนับเป็นรายแรกของเอเซียปฏิวัติรูปแบบใหม่ของระบบปลูกถ่ายผ่าตัดขากรรไกรใบหน้า กระดูก และข้อสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปากซึ่งคนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆของมะเร็ง รวมถึงผู้ป่วยโรคกระดูกส่วนต่างๆ และผู้ประสบอุบัติเหตุผลตอบรับดีในสหรัฐและนานาชาติ กำหนดวางตลาดโลกในปี 2567

กระดูกเทียมส่วนข้อเท้า นิ้วมือ

ก่อนหน้านี้สตาร์ทอัพ ’ออสซีโอแลบส์’ได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำ และคว้าหลายรางวัลในประเทศไทยและต่างประเทศปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนร่วมลงทุนกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้กำลังเตรียมเปิดตัวขั้นตอนการผ่าตัดในระดับสากลเช่น การสร้างขากรรไกรล่าง การสร้างกระดูกเท้าใหม่ การสร้างกระดูกสันหลังใหม่

ทั้งนี้เทคโนโลยี TPMS ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรซึ่งช่วยให้การปลูกถ่ายกระดูกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและปรับแต่ง กร-กระดูกทดแทนนี้ทำจากวัสดุไทเทเนียมที่โดดเด่นด้วยการพัฒนาเชิงกลออกแบบ ’รูพรุน’ เหมือนตาข่ายภายในซึ่งช่วยให้มีน้ำหนักเบาเซลล์เนื้อเยื่อและเลือดสามารถไหลผ่านและเติบโตได้เพื่อส่งเสริมการรวมตัวเชื่อมต่อของกระดูกทดแทนกับกระดูกเดิมอย่างเหมาะสมที่สุด ทำให้ฟื้นตัวเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยี 3 Dสามารถสแกนและปรับแต่งได้ตามความแตกต่างของสรีระแต่ละคนทั้งรูปร่าง ขนาด ความหนา

“‘โครงสร้างรูพรุน’ ที่เป็นลิขสิทธิ์ออสซีโอแลบส์ มีความเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์ อัตราการปฏิเสธจึงต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับวิธีการทั่วไปประกันผลลัพธ์ที่ดีกว่าของผู้ป่วย คาดว่า ’ออสซีโอแลบส์’ จะพลิกโฉมการผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกส่วนต่างๆทั่วโลก

สองหนุ่มนักวิจัยมณเฑียร สุขประเสริฐ(ซ้าย)ธนาวัฒน์  ปิยะภัย(ขวา)

ธนาวัฒน์  ปิยะภัย  และมณเฑียร สุขประเสริฐ สองนักวิจัย “ออสซีโอแล็บส์”กล่าวว่า นวัตกรรมกระดูกเทียมมีรูพรุนนี้ เป็นไอเดียของ รศ.ดร. พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์  วิศวเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ สนใจเทคโนโลยีผลิตโลหะแบบ 3 มิติ  และมองว่าควรหาทางทำให้เทคโนโลยีนี้จะไปจับกับเทคโนโลยีอื่นๆที่สร้างมูลค่าให้กับสังคมมากที่สุด   จนนำมาสู่การทำวัสดุทางการแพทย์ ซึ่งวงการแพทย์มีความต้องการวัสดุที่มีความซับซ้อนในรูปทรง ในการรักษาคนไข้มาก  จึงเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การผลิตกระดูกเทียมดังกล่าวขึ้น โดยการทำงานวิจัยระยะแรก ในปี2564 คณะวิจัยได้ทำงานร่วมกับแพทย์ ที่รพ. จุฬาฯ ในขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบจนผ่าตัดเสร็จ ซึ่งคนไข้ที่ใช้กระดูกเทียมนี้ ส่วนใหญ่เป็นเคสมะเร็งในช่องปาก หรือประสบอุบัติเหตุ  การใช้งานจะมีการออกแบบเป็นรายเคสและติดตามผลหลังการผ่าตัด ว่าคนไข้เป็นอย่างไร

“ออสซีโอแล็บส์”มีความเป็นนวัตกรรม และดีกว่าวัสดุทางการแพทย์รุ่นเก่าอย่างไร  ธนาวัฒน์ อธิบายว่า ก่อนหน้านี้ทมีการผลิตวัสดุที่เป็นกระดูกเทียมออกมา แต่เป็นแบบStandard size  สิ่งที่แพทย์จะต้องทำก็คือ นำวัสดุที่ได้นี้มาดัดแปลงให้เข้ากับคนไข้แต่ละคน  ซึ่งในวิธีการแบบเดิมบางกรณีอาจเกิดการผิดพลาด จนส่งผลต่อการฟื้นตัวของคนไข้ แต่สำหรับออสซีโอแล็บส์ เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้เฉพาะบุคคลได้ ตั้งแต่แรก เช่นการเปลี่ยนกระดูกใบหน้าะจะมีการถ่ายภาพใบหน้าคนไข้ ก่อนผลิตออกมาด้วยเครื่องปริ้นท์ 3D  วัสดุที่ได้จึงพอดีกับคนไข้ ไม่ต้องผ่านการปรับแต่ง ซึ่งจะมีผลดีทำให้คนไข้ฟื้นตัวดีขึ้น ประสิทธิภาพการใช้งานดี การรับแรงและการแทนที่กระดูกเดิมดีขึ้นกว่ารุ่นเก่า

“เราพบว่าวัสดุที่เป็นรูพรุน รับแรงที่ดีขึ้น  กว่าวัสดุทดแทนกระดูกแบบเดิมมันมีความแข็งมาก หรือแข็งเกินไป  พอมาติดตั้ง และมีการเคลื่อนไหว ก็จะไปกดทับ สร้างความเสียหายทำลายกระดูกเดิม ซึ่งเทคโนโลยีTPMS นี้ ได้เข้ามาช่วย เพราะเป็นอุปกรณ์การแพทย์ของเรามีความแข็งแรงที่เหมาะสม ติดตั้งไปแล้วจะไม่ทำลายกระดูกเดิม ไม่ไปกดทับกระดูกจริง “

ปัจจุบัน “ออสซีโอแล็บส์”นำไปใช้กับการเปลี่ยนกระดูกใบหน้ามากกว่า 100 เคส โดยคนไข้พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ ออสซีโอแล็บส์ ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ  เช่น ข้อเท้า สะโพก และกระดูกส่วนอื่นๆ ที่คณะวิจัยกำลังอยู่ระหว่างการคิดพัฒนา

“ที่ผ่านมา เราได้ไปpitching ในต่างประเทศ เพื่อระดมทุนทั่วโลก  ได้รับความสนใจมาก ทำให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ  1 ล้านยูเอสดอลลาร์ ต่างชาติ ให้ความสนใจและเชื่อถือ ซึ่งในต่างประเทศพิมพ์โลหะ 3มิติมีมานานแล้ว แต่ความต่างของเราอยู่ที่ 1.ตัวเทคโนโลยี  2.การออกแบบกว่าเราจะได้อุปกรณ์นี้มา  จะต้องทำทีซีสแกน จะให้ภาพกระดูกว่าเป็นชั้นๆ ซึ่งการจะผลิตตัววัสดุออกมาระหว่างแต่ละชั้นส่วนที่เป็นเส้นโค้ง จะต้องใช้คนออกแบบ จึงมีความแม่นยำเพื่อนำมาเปลี่ยนถ่ายให้กับคนไข้ อีกทั้ง วัสดุที่เป็นรูพรุน ยังทำให้เลือดและเส้นประสาทไหลเวียนยึดเกาะวัสดุใหม่ได้ดี ” ธนาวัฒน์กล่าว.

เพิ่มเพื่อน