ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นับเป็นอีกวันที่ทุกคนต่างเฝ้ารอคอยที่จะได้ชม งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยจะมีการใช้เรือในขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมาคจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ ใช้กำลังพลประจำเรือจำนวน 2,200 นาย
ความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นการสืบสารประเพณีการจัดขบวนเรือพระราชพิธีที่มีมาอย่างยาวนาน และมีเพียงประเทศไทยที่ยังคงสืบสานประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน การเดินทางในครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับตำนานกระบวนเรือพระราชพิธี ที่อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนที่เข้าชมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระนั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ อย่างใกล้ชิด ณ อู่แห้งหมายเลข 1 และชมพิพิธภัณฑ์และโบราณสถาน ในพื้นที่อู่ทหารเรือธนบุรี โดยสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ 14.00-15.00 น. ในวันที่ 23 – 26 กรกฎาคม 2567 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
เมื่อมาถึงที่กรมอู่ทหารเรือในช่วงบ่าย 2 กว่าๆ แม้ว่าในวันที่แดดร้อน อากาศอบอ้าว แต่ก็ไม่อาจสู่ความงดงามของเรือพระนั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ที่มีกำลังพลฝีพายประจำเรือกำลังฝึกซ้อมด้วยเสียงขานรับกาพย์เห่เรืออันทรงพลังดังก้องกังวาลพร้อมท่วงท่าที่พายอย่างพร้อมเพรียง
หลังจากจบการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่ง ก็เดินมายังพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ตัวอาคารหลังนี้มีอายุกว่า 100 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีอิทธิพลแบบวัฒนธรรมตะวันตกคือ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง โดยชั้นบนจะเป็นไม้ ชั้นล่างเป็นปูน มุงหลังคากระเบื้องทรงปั้นหยา เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุลวดลายงดงาม จุดเด่นของอาคารแห่งนี้คือ ด้านหน้าจั่วอาคารประดับเครื่องและสัญลักษณ์ของกองทัพเรือ ใต้หน้าจั่วสลักเป็นรูปเครื่องมือช่างต่างๆ
สำหรับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งเป็น 2 ชั้น ส่วนของชั้นล่างจะเป็นวัติความเป็นมาของการสร้างเรือรบและเรือพระที่นั่ง เมื่อเข้ามาก็เห็นหัวเรือครุฑ 2 ตัว สีแดงดูน่าเกรงข้าม ธานัท ภุมรัช วิทยากรประจำทริปได้เล่าว่า หัวเรือครุฑนี้เป็นการแกะสลักจากไม้ทั้งตัว ซึ่งเคยติดตั้งอยู่ด้านหน้าเรือรบหลวงแม่กลอง เปรียบเสมือนกับแม่ย่านางที่คอยปกปักพิทักษ์รักษาเรือ ซึ่งพอปลดประจำการจึงได้มีการนำมาจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์และมีการเคารพกราบไว้จะเห็นได้จากพวงมาลัยที่นำมาสักการะ
ต่อมาเป็นการจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเมื่อครั้งที่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง มากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำของชาวกรุงศรีอยุธยาจึงต้องอาศันเรือในการสัญจรไปมา และด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้ขบวนทัพเรือเป็นสำคัญ และมีเรือหลวงที่มีใช้ในราชการ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากเป็นเวลาราษฎรว่างการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อม ขบวนทัพเรือ ประจวบกับการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายพระกฐิน โดยใช้ขบวนเรือรบแห่ และมีการแข่งขันเรือสนุกสนาน
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์มีการเสด็จเลียบพระนคร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดให้มีการสร้างเรือพระที่นั่งเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์เหมือนเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 2 และ 3 ก็มีการเสด็จเลียบพระนครทางชลมารค ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างและซ่อมแซมพระที่นั่งและขบวนเรือไว้ ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โดยการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีจำนวนเรือมากถึง 269 ลำ มีเรือนอกขบวนอีกกว่า 50 ลำ รวมฝีพายทั้งหมดกว่า 10,000 คน นับเป็นความยิ่งใหญ่ที่สุดประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ก็มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จนกระทั่งในรัชกาลที่ 8 ได้มีการเว้นว่างไป
ในรัชกาล 9 ทรงได้ฟื้นฟูจารีตประเพณีขบวนพยุหยาตราชลมารค เริ่มครั้งแรก พ.ศ.2500 เนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งการจัดขึ้นเกือบทุกปี อีกทั้งยังได้มีการก่อสร้างเรือพระที่นั่งพระนารายณ์ทรงสุบรรณในสมัยของพระองค์ ซึ่งเดิมในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกว่า มงคลสุบรรณ ได้รับการแก้ไขให้มีความสง่างามมากกว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 รูปลักษณ์ใหม่นี้โดดเด่นด้วยรูปปั้นไม้แกะสลักอย่างวิจิตรงดงามของพระนารายณ์ในศาสนาฮินดูซึ่งประทับอยู่บนครุฑ มีพื้นฐานมาจากตำนานพราหมณ์โบราณที่ว่าครุฑทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์ การก่อสร้างพระนารายณ์ทรงสุบรรณจึงเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 และยังคงมีขบวนพยุหยาตราชลมารคมาจวบจนปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีส่วนของการจัดแสดงส่วนประกอบและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในเรือรบ อาทิ เครื่องน้ำผลักดันน้ำ หุ่นจำลองพระมหาพิชัยราชรถพร้อมเชือกฉุดชัก ส่วนชั้นบน จะเป็นการจัดแสดงผังการสร้างเรือ โดยมีวัตถุจัดแสดงชิ้นสำคัญ อาทิ ค้อน ขวาน ปุ่มกด ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระพันปีหลวง กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงใช้ในพิธีวางกระดูกงูเรือและปล่อยลงน้ำ รวมถึงประวัติการสร้างเรือนารายณ์ทรงสุบรรณอันงดงาม
เดินต่อมาที่ อุโบสถวัดดงศมูลวิหาร โบราณสถานสำคัญในกรมอู่เรือ โดยในช่วงรัชกาลที่ 4 มีบันทึกไว้ว่าในปี 2400 สร้างขึ้นโดยกรมขุนธิเบศรบวร จึงเป็นวัดในกรม ต่อมา เมื่อถึงสมัย รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงได้ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยุบเลิกวัดวงศมูลฯ เพราะพิจารณาแล้วว่าไม่อาจพัฒนาให้เจริญขึ้นได้อีกด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ซึ่งทรงเห็นด้วย ทำให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2459 เป็นต้นมาก็ไม่ปรากฏชื่อวัดวงศมูลวิหารในบัญชีกฐินพระราชทาน และไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี วัดแห่งนี้ได้รับการดูแลโดยกรมอู่เรือและยังสามารถประกอบกิจทางศาสนาได้ เพียงแต่ต้องนิมนต์พระจากวัดอื่นมาทำพิธี
จุดเด่นของอุโบสถแห่งนี้ คือการสร้างขวางการคมนาคม ซึ่งพระประธานจะหันหน้าไปทางทิศเหนือ และหันข้างให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งผิดแปลกไปจากการสร้างอุโบสถตามเส้นทางคมนาคม และพระประธานต้องหันไปทางทิศตะวันออกหรือหันหน้าไปฝั่งแม่น้ำ ตามแบบวัดริมน้ำทั่วๆไป ซึ่งอาจจะเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ลักษณะการสร้างแบบนี้ โดยพระประธานมีศิลปะแบบสุโขทัย และที่เป็นเอกลักษณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ซุ้มวิมารหินอ่อนศิลปะโกธิก (ฝั่งซ้าย) ส่วนฝั่งขวาจะเป็นศิลปะแบบมัวร์ลิส(ฝั่งขวา) นอกจากนี้ด้านหน้าบันของอุโบสถยังปรากฏครุฑที่มีลักษณะตัวเฉียง ราวกับกำลังบินอยู่
มาอีกจุดที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์การสร้างเรือ คือ ศาลาเรือโบราณ ที่ตั้งอยู่ ภายในวันดุสิตดารามวรวิหาร สถานที่แห่งนี้เมื่อราวๆ 80 ปีที่แล้วในบริเวณนี้มีการก่อสร้างเพื่อเป็นสถานที่ภายในวัดในระหว่างทำการก่อสร้างได้พบกับซุงที่มีขนาดยาวถึง 42 เมตร ที่อาจจะเป็นเรือขุดในสัยธนบุรี ที่มีการจมน้ำอยู่สังเกตได้จากตัวเพรียงที่เกาะอยู่ในไม้ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่ตรงนี้ย่าจะเป็นอู่เรือในอดีต เนื่องจากอยู่ใกล้กับคลองวัดดุสิตที่สามารถนำเรือออกสู่คลองบางกอกน้อยได้ ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดสักการะขอโชคขอลาภของผู้ที่ศรัทธาทั้งเจ้าถิ่นและขาจร มีการนำผ้าสามสี เครื่องเซ่นต่างๆที่นำมาบูชา
ทริปการเดินทางสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยความรู้ความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคทและสถานที่คัญของการทำเรือในเมืองกรุง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จิราพร' เผยคนไทยปลื้มใจได้เฝ้ารับเสด็จและชมความงดงาม 'ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค'
'จิราพ' เผยคนไทยปลื้มใจ ได้เฝ้ารับเสด็จและชมความงดงาม 'ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค' แนะเข้าเว็บ 'พระลาน' แหล่งรวมข้อมูล-ภาพถ่าย เปิดให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า
ปีติถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ประมวลภาพ ในการพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2567 เวลา 15.14 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ปชช.เนืองแน่นสองฝั่งเจ้าพระยา ปลื้มปีติได้ชื่นชมพระบารมี ตราตรึงใจพระราชพิธีสมพระเกียรติยิ่งใหญ่งดงามตระการตา
ชีวิตนี้คงไม่มีอีกแล้ว! ยายวัย 74 เหมารถตู้ เฝ้าฯรับเสด็จ รอชมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ที่ใต้สะพานพระปิ่นเกล้ามีประชาชนแต่งกายด้วยชุดสีเหลืองจำนวนมาก มารอรับเสด็จ
พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค LIVE พิเศษ : วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567