ชม 'ดินดวงจันทร์' จากยานฉางเอ๋อ 5 งานอว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND

มีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าในโครงการฉางเอ๋อ 7 ที่มีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2026 จะมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทยเดินทางไปด้วยคือ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope  เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศและศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

จากความสำเร็จในอดีต ของการสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo  ซึ่งเป็นการแข่งขันแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างชาติมหาอำนาจ  แต่หลังจากนั้น การสำรวจดวงจันทร์ก็ค่อยๆซบเซาลงโดยเฉพาะในกลุ่มชาติมหาอำนาจ แต่ปัจจุบันกระแสการเดินทางไปดวงจันทร์กลับมาอีกครั้ง เห็นได้จากประเทศต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการสำรวจอวกาศกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ต่างก็มีแผนการมุ่งหน้าไปดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้ และนอกเหนือจากภาครัฐแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทเอกชนที่จะมีภารกิจเยือนดวงจันทร์อีกด้วย

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสนใจดวงจันทร์อีกครั้ง มาจากการค้นพบสารประกอบน้ำบนดวงจันทร์ ในปี 2008 ซึ่งได้จุดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ว่า การสำรวจดวงจันทร์จะกลายเป็นการเปิดประตูสู่การสำรวจอวกาศห้วงลึกให้กับมนุษย์ นอกจากการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ แล้ว การสำรวจดวงจันทร์ยังเป็นการผลักดันศักยภาพด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ การสื่อสารด้วย WiFi, GPS และการถนอมอาหาร ที่ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น

ปัจจุบันจึงเป็นยุคแห่งการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะการสำรวจดวงจันทร์ ของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจกับการสำรวจดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน โดยได้มีการประกาศตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) ในปี 2021 ที่เป็นการรวมตัวของหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศและสถาบันอุดมศึกษา รวม 14 หน่วยงาน นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของโครงการ TSC คือการสร้าง“ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์” ด้วยเทคโนโลยีฝีมือคนไทย เพื่อบุกเบิกการวิจัยวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมขั้นสูง ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP


ประเทศไทยยังได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์และระดับโลกของจีน นำโดย องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ทั้งนี้ได้ร่วมลงนามกับห้องปฏิบัติการสำรวจห้วงอวกาศลึก (Deep Space Exploration Lab หรือ DSEL) ของ CNSA ในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยบนดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station หรือ ILRS) ในปีที่แล้ว เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการสำรวจดวงจันทร์ระดับแถวหน้าอย่างฉางเอ๋อ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการนำเอาตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศจีนกับโครงการฉางเอ๋อ 5

ยานฉางเอ๋อ 5 ของจีน

ละมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าในโครงการฉางเอ๋อ 7 ที่มีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2026 จะมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทยเดินทางไปด้วยคือ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope  เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศและศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์
 

การพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศหรือรังสีคอสมิก (Cosmic Ray) เพื่อติดตามผลกระทบของสภาพอวกาศที่มีต่อโลก จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม 5 ด้านหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Solar activityโดยตรงคือ 1. ระบบดาวเทียมในทุกพันธกิจ โดยเฉพาะระบบดาวเทียมนำร่องในงานด้านโลจิสติก ระบบบริการเวลาแม่นยำ 2. อุตสาหกรรมการบินของประเทศ ในด้านวิทยุการบิน ระบบนำร่องเครื่องบินพาณิชย์ 3. อุตสาหรรมพลังงานสะอาด เนื่องจากคุณภาพของ Solar Cell ขึ้นอยู่กับอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ 4. เสถียรภาพด้านสายส่งไฟฟ้ากำลังงานสูง การมีข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Weather จะทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการแจ้งเตือนภัยต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ และ 5. ระบบสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นของประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้างต่อกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากการสื่อสารเป็นปัจจัยหลักในทุกมิติ

สำหรับโครงการความร่วมมือไทย-จีน ด้านการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาของนวัตกรรมอวกาศยานไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยชาวไทย ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาด้านวิศวกรรมระบบอวกาศยานสำหรับการสำรวจอวกาศห้วงลึก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยจากสภาพอวกาศแก่สาธารณะ ในกรณีที่อนุภาคพลังงานสูงผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่อาจเกิดขึ้นจากพายุสุริยะ หรือรังสีคอสมิกจากอวกาศห้วงลึก รวมถึงทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้เอง และสามารถนำมาใช้ในโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ในลำดับถัดไป

ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา ผอ.NARIT

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย กล่าวว่า “วามร่วมมือดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าร่วมกับองค์การอวกาศระดับชาติของจีนทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้เองและใช้งานในอวกาศได้จริง ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ไทย-จีน ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ ตรรกะการออกแบบอุปกรณ์สำหรับอวกาศยานในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยานนี้จะช่วยให้มนุษย์ได้ค้นพบความรู้ใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์และสามารถต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกได้


การไปถึงจุดหมายปลายทางได้นั้น ต้องมีการร่วมมืออย่างบูรณาการทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมีศักยภาพ โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ให้ความสำคัญในการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศยาน

นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความเห็นว่า กลุ่มธุรกิจ TCP เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยกันผลักดันงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยาน ซึ่งจะนำความก้าวหน้ามาสู่การสรรสร้างนวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม เราจึงให้การสนับสนุน NARIT ในการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัยไทย เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านอวกาศห้วงลึกจากองค์กรด้านอวกาศชั้นนำของโลก และนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นอวกาศยานจากฝีมือคนไทยต่อไป รวมถึง ยังสนับสนุนการนำดินดวงจันทร์จากฉางเอ๋อ 5 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่มีใจรักวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาเรียนรู้ และเข้าใจว่าดาราศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราและงานวิจัยจากอวกาศสามารถนำไปสู่ วันที่ดีกว่าได้

สราวุฒิ อยู่วิทยา แห่ง PCT ผู้สนับสนุนโครงการอวกาศ ของNARIT

” ความพยายามดังกล่าวจะนำไปสู่แรงขับเคลื่อนในการสร้างอวกาศยานของไทยเอง และอาจเป็นโอกาสในการสำรวจดวงจันทร์ของประเทศไทยในที่สุด “สราวุฒิกล่าว

กลุ่มธุรกิจ TCP และ NARIT ขอเชิญชวนทุกคนไปร่วมเรียนรู้นวัตกรรม และชมดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในบูทนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group จัดโดย NARIT ในงาน อว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND บริเวณโซน F ระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

'อัจฉริยะ' ร้อง อสส. ชี้ขาดฟ้อง 'สส. พปชร.' ฟอกเงินเว็บพนัน

‘อัจฉริยะ’ ร้อง อสส. ชี้ขาดฟ้อง 'สส.พปชร.' ฟอกเงินเว็บพนัน หลังตำรวจภาค 9 เเย้งความเห็นอัยการ พร้อมตั้ง คกก.สอบวินัยอัยการสงขลา