'ราช 'กรุ๊ป สร้างกำลังคนด้านพลังงานหมุนเวียนให้'สปป.ลาว '

.เรียนรู้การใช้เครื่องจักร พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน 

สปป.ลาว เป็นหนึ่งในประเทศอาเซียน ที่รอการพัฒนาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม ที่สำคัญก็คือการศึกษา ที่รอการวางรากฐานการพัฒนา เพื่อสร้างบุคคลากรของประเทศให้มีศักยภาพ  อันจะส่งผลดีโดยรวมต่อการพัฒนาประเทศ  แต่ในระยะสั้น สปป.ลาว มีความต้องการพัฒนาประชาชนเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีทักษะและศักยภาพ  โดยเฉพาะในสายแรงงานอาชีพ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ขิด  และมีฐานะเป็นคู่ค้าและการลงทุนที่สำคัญในสปป.ลาว โดยเฉพาะ การลงทุนและการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากสปป.ลาว ทำให้องค์กรเอกชน อย่างบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน ) บริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่มีการลงทุนโครงการในประเทศไทย  ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น รวมถึงสปป.ลาว   ได้เข้าไปมีส่วนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสปป.ลาว โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. จัดทำโครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป. ลาว (Education for Career Empowerment Project) โครงการนี้อย่างต่อเนื่องสู่ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2567-2573)  ล่าสุดได้ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงความร่วมมือในโครงการนี้เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ บริษัท ราช กรุ๊ป  ได้เข้าไปสนับสนุนการศึกษาให้กับ สปป.ลาวมาแล้ว 2ระยะการดำเนินงาน โดยการดำเนินการโครงการในระยะที่ 1เป็นช่วงระหว่าง ปี 2554 – 2558 และระยะที่ 2  ปี 2559 – 2566  มีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการรวม 2 ระยะ ประกอบด้วย  1. วิทยาลัยเทคนิคลาว-เยอรมัน 2. วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแขวงหลวงพระบาง 3. วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแบบผสมแขวงไซยะบุรี 4. วิทยาลัยเทคนิคสรรพวิชา 5.  วิทยาลัยเทคนิคปากป่าสัก 6.  วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์ 7.วิทยาลัยอาชีวศึกษาแขวงคำม่วน

นศ.อาชีวะที่ลาว ทำงานกับเครื่องจักรจริง  

ในสาขาวิชา  ได้แก่ สาขาการควบคุมไฟฟ้า PLC  สาขาการเชื่อมโลหะ สาขาช่างทั่วไป สาขาพลังงานทดแทน (การติดตั้งโซลาร์เซลเพื่อผลิตไฟฟ้า) สาขาพลังงานทดแทน (การปลูกพืชให้พลังงานและอาหารสัตว์) สาขาพลังงานทดแทน (การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ)   สาขาช่างกลโรงงาน   ซึ่งตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการช่วยเสริมสร้างพัฒนาทั้งความรู้และทักษะฝีมือแก่ครูและนักเรียนอาชีวศึกษา โดยเฉพาะในสาขาเชื่อมโลหะ ซ่อมบำรุงทั่วไป เครื่องกล ไฟฟ้าควบคุม และพลังงานทดแทน ให้มีความทันสมัยและสอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น

และในระยะที่ 3 นี้ ได้มีการปรับและเพิ่มจำนวนสถาบันการศึกษาเป็น แห่งประกอบด้วย 1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาแขวงคำม่วน 2. วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์ 3. วิทยาลัยเทคนิคแขวงหลวงพระบาง 4. วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแบบประสมแขวงไซยะบุรี 5. โรงเรียนอาชีวศึกษาเทคนิคบอลิคำไซ 6. วิทยาลัยเทคนิคแขวงจำปาสัก 7. วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแบบประสมแขวงเซกอง 8. วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแบบประสมแขวงอัตตะปือ โดยมีการเพิ่มหลักสูตรจากในระยะ 1-2 เป็นการพัฒนาหลักสูตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การติดตั้งและซ่อมบำรุงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

สุลิอุดง สูนดารา

สุลิอุดง สูนดารา รัฐมนตรีช่วย กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว กล่าวว่า ในการดำเนินการระยะที่ 3 ได้มีการปรับวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสปป. ลาว สถานการณ์ของโลก และบริบทของสังคมด้วย โดยจะมุ่งเน้นการสร้างเสริมฐานการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติให้ทันกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคนิค ทักษะต่างๆ ตลอดจนทัศนคติการทำงานให้กับนักเรียน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีผลิตภาพและสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมพลังงาน รวมทั้งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะด้านพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นด้วย  

เรียนภาคปฏิบัติ เตรียมพร้อมทำงานจริง

“จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการระยะที่ 2 ได้สำรวจการมีงานทำของนักเรียนที่ผ่านมามีการเข้าอบรมเข้มของโครงการฯ จำนวน 1,035 คน ภายหลังจบการศึกษา ซึ่งสามารถติดตามผลของนักเรียนได้จำนวน 920 คน คิดเป็นร้อยละ 88.9ของจำนวนนักเรียนที่อบรมทั้งหมด ผลที่ได้รับพบว่า อัตราของนักเรียนที่มีงานทำและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 88.2 และคาดว่าในระยะที่ 3ครูและนักเรียนจาก 8 วิทยาลัยเทคนิคเป้าหมาย มีความรู้และทักษะการวางท่อ เชื่อมโลหะ การซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ แมคคาโทรนิกส์ การเดินเครื่องและซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (พืชพลังงาน ขยะ พลังงานลม และแสงอาทิตย์) และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน” สุลิอุดง กล่าว      

สุลิอุดง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเยาวชนมีการเลือกเรียนสายอาชีวศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะมีตำแหน่งงานเปิดกว้างรองรับ และตลาดกำลังขยายตัวสูงขึ้นตาม  ทั้งนี้ทางสปป.ลาว กำลังพัฒนาเสริมสร้างเพื่อให้ประเทศลาวหลุดพ้นจากประเทศที่ด้อยพัฒนาภายในปี 2026 ตามความคาดหมายของรัฐบาลลาว ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาในการปรับโครงสร้างต่างๆ รวมถึงการผลักดันให้ประชากรลาวจบระดับการศึกษามัธยมต้นให้ได้ จึงต้องเร่งการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษา ทั้งนี้ทางรัฐบาลอยู่ในระหว่างการประเมินถึงประเทศที่เข้ามาลงทุน ซึ่งต้องเตรียมให้แรงงานลาวมีคุณภาพ ศักยภาพที่เพียงพอรองรับให้ผู้เข้ามาลงทุนว่าจ้างแรงงานลาวในการทำงานในอนาคต  นอกจากนี้ในระหว่างปี 2024-2025 จะมีการนำหลักสูตรสายวิชาเข้าสู่ระบบสามัญศึกษา ซึ่งได้มีการนำร่องใช้ในบางโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนในสายสามัญได้เรียนและฝึกทักษะวิชาชีพ เมื่อเรียนจบนักเรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้ง 2 ระบบ เพื่อให้ในการสมัครงานที่หลากหลายสา

นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์

ด้านนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในการดำเนินงานโครงการระยะที่ 3 ยังได้ยกระดับเป้าหมายไปสู่ SDGs เป้าหมายที่ 4 และเป้าหมายที่ 8 ในการส่งเสริมเพิ่มจำนวนผู้ที่มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการขยายโอกาสด้านทุนการศึกษา การฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ โครงการระยะที่ 3 ได้ให้ความสำคัญด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะ และพืชพลังงาน จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติภาคสนามในการติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์ในชุมชนท้องถิ่นที่ยังขาดแคลนไฟฟ้า ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน

นิทัศน์ กล่าวต่อว่า หากสปป.ลาวจะก้าวพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา สู่ประเทศกำลังพัฒนา จะต้องอาศัยกำลังของแรงงานที่ทักษะในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งในอาชีวศึกษาเป็นแหล่งในการบ่มเพาะบุคลากรของลาวได้เป็นอย่างดี เพราะปัจจุบันถือว่าลาวเป็นประเทศที่มีกลุ่มผู้ประการที่สนใจเข้ามาลงทุน อย่าง ในด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ทั้งนี้ จะเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิสาขบูชา' ไทย-ลาว สืบทอดศรัทธาวิถีพุทธ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือ

เซ็นทารา เปิดตัว “โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ” โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง

ประสบการณ์ความสนุกครั้งใหม่ในสปป.ลาว กับโรงแรมไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเวียงจันทน์ พร้อมห้องพักทันสมัย ดีไซน์เรียบง่าย และเทคโนโลยีเชื่อมต่อสุดล้ำ