ความน่าสะพรึงของ'เอเลียนสปีชีส์'บุกน่านน้ำไทย

 

ปลาหมอคางดำ เอเลียนสปีชีส์ที่กำลังแพร่พันธุ์มหาศาลในประเทศไทยเวลานี้ ถือเป็นภัยทำลายล้างระบบนิเวศและสัตว์น้ำท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เปิดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง”จบปัญหา…การรุกรานแหล่งน้ำไทย…จากปลาหมอคางดำ” โดยคณาจารย์ นักวิชาการ จากคณะประมง มก. มาเปิดเผยจุดแข็งของปลาหมอคางดำอันน่าสะพรึงที่หลายคนนึกไม่ถึง และหากไม่ควบคุมการระบาดของเหล่าเอเลียนมีครีประบบนิเวศไทยอาจไม่หวนคืน

ดร.วีรกิจ  จรเกตุ นักวิชาการกรมประมงชำนาญการ สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม มก. กล่าวว่า จ.สมุทรสงคราม เป็นจุดที่มีรายงานพบการแพร่ระบาด ปัจจุบันมี 16 จังหวัดพบแพร่ระบาด  เมื่อ 7 ปีก่อน นักวิจัยลงพื้นที่กับชาวบ้านเก็บข้อมูลและภาพปลาที่พบ นำไข่ศึกษาพัฒนาการและระยะการแพร่พันธุ์ ขณะนั้นระบาดเชิงพื้นที่ ไม่ได้แพร่กระจายในวงกว้างเหมือนตอนนี้  สำหรับจุดแข็งของปลาหมอคางดำอาศัยได้ในน้ำจืด น้ำกร่อย และมีสภาวะทนความเค็มได้สูง   สามารถปรับตัวในความเค็มช่วงกว้างแบบฉับพลัน อาศัยได้ในน้ำที่มีค่าคุณภาพน้ำต่ำมากกว่าสัตว์น้ำอื่นๆที่ดำรงชีวิตได้ แถมดึงออกซิเจนในแหล่งน้ำนั้นๆ ด้วย   เจริญพันธุ์เร็ว อายุ 3 เดือน ก็ขยายพันธุ์ได้แล้ว   อีกทั้งมีไข่ตลอดทั้งปี ให้ลูกปลาจำนวนมหาศาล ปลาอมไข่ในปาก อัตราลูกปลารอดจึงสูงมาก   ปลาหมอคางดำกินอาหารหลากหลาย กินหมดทุกอย่างทั้งพืช วัยอ่อนสัตว์น้ำ ซากสัตว์ ย่อยอาหารได้ดี มีลำไส้ยาว อีกทั้งอุปนิสัยดุร้าย ทำลายล้างสูง

“  ที่น่าห่วงปลาหมอคางดำในไทยปรับตัวให้เจริญพันธุ์เร็วขึ้น  พบปลาหมอคางดำโผล่นอกเขต 3 ไมค์ทะเล ผ่าท้องมาพบลูกกุ้ง ลูกเคย เป็นสิ่งที่น่าวิตก เป็นมหันตภัยร้ายทำลายระบบนิเวศ ทำลายวิถีชุมชนชายฝั่ง ไม่สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตามกำหนด อนาคตสัตว์น้ำพื้นถิ่นในแม่น้ำลำคลองไทยจะเสี่ยงสูญพันธุ์ “ ดร.วีรกิจ กล่าว

เวทีวิชาการนี้ยังพูดถึงมาตรการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำที่กรมประมงประกาศ นอกจากควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกที่ที่พบการระบาด การปล่อยผู้ล่า เช่น ปลากระพงขาว ปลาอีกง เพื่อกำจัดเอเลียนสปีชีส์ในแหล่งน้ำธรรมชาติบ้านเรา การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามพื้นที่กันชนต่างๆ หนึ่งในมาตรการที่กลายเป็นกระแสในช่วงนี้ คือ การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดไปใช้ประโยชน์

ผศ.ดร.นันธิภา พันธุ์สวัสดิ์ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มก. กล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่พบถี่ในฟลอริดา ฮาวาย และฟิลิปปินส์ ในฟลอริดา สหรัฐ พบปี 1992 แต่ปัญหาไม่รุกรานเท่าประเทศไทย  ส่วนฟิลิปปินส์พบรายงานปี 2015 เป็นปลาที่จับได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ส่วนไทยแพร่กระจายไป 16 จังหวัด ฟิลิปปินส์นำเนื้อปลานี้ไปวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยต่อการบริโภค พบว่า มีโปรตีน 15-20%  ปริมาณโลหะหนักอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ถ้าขอดเกล็ด ตัดหัวคลักไส้ได้เนื้อปลา 65% ถ้าแล่ชิ้น 25%   มีความพยายามใช้เป็นวัตถุดิบเนื้อปลาบดซูริมิ ใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารสัตว์

ปลาหมอคางทำใช้ทำอาหารสัตว์ ทั้งอาหารสดเลี้ยงปลา ปลาป่น โปรจีนไฮโดรไลเซต ปลาหมักอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมนำมาทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ  ส่วนอาหารจะประกอบอาการ แปรรูปอย่างง่าย เช่น แดดเดียว ปลาหวาน  หมักดอง  เช่น ปลาส้ม น้ำปลา ปลาร้า เมนูอาหาร เช่น น้ำยาขนมจีน ไส้อั่ว ปลาผัดพริกขิง ทอดมัน ผัดพริก ฯลฯ  รวบรวม ตัดแต่ง หรือเตรียมเป็นวัตถุดิบเพื่อจำหน่าย ซึ่งต้องมีการดูแลหลังการจับอย่างเหมาะสม เช่น ดองน้ำแข็ง คัดขนาด  ปลาหมอคางดำกินได้แน่นอน แต่ต้องสุกและสะอาดเพื่อความปลอดภัย  ในไทยมีการทำปลาป่น น้ำปลาปลาหมอคางดำ หรือทำกะปิเคย จากการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ นักศึกษาภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง มก. ทำกิจกรรมเมนูกู้แหล่งน้ำหลายเมนู บุคลากรและนักวิจัย มก. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าปลาหมอคางดำ  อยากให้ช่วยกันจับ ช่วยกันใช้ ช่วยกันปรุง ช่วยกันกิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'

เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา

'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง

“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด

ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว

ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3