กว่า 9.4 แสนปัญหาเมือง ทั้งน้ำท่วมขังหน้าคอนโด ถนนชำรุด เสียงดังก่อสร้าง ทางเท้าชุ่ย ก่อสร้างผิดกฎหมาย จุดกลับรถอันตราย ต้นไม้โค่นล้ม รถจอดถนนแคบ ไฟฟ้าริมทางดับ และอีกสารพัดเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนและทำให้ชีวิตคนเสี่ยงอันตราย ในจำนวนนี้ 6.4 แสนเรื่อง เป็นปัญหาที่พบในพื้นที่กรุงเทพฯ ถูกแจ้งบนแพลตฟอร์มทราฟฟีฟองดูว์ ( Traffy Fondue ) ก่อนส่งต่อสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การแก้ไขจนเสร็จสิ้น 733,000 เรื่อง ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต นี่เป็นสถิติตลอด 2 ปี ของทราฟฟี ฟองดูว์ ถือเป็นต้นแบบการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากรเมือง ตรงตามคอนเซ็ปต์เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City
เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้อำนวยการหน่วยบริการนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับเมือง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทีมวิจัยหน่วยบริการนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับเมือง ซึ่งพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการ ทราฟฟี ฟองดูว์ : แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง ช่องทางรับแจ้งและจัดการปัญหาเมืองที่พบ ผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Traffy Fondue ช่วยให้การสื่อสารเรื่องแจ้งปัญหา มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำ AI มาช่วยประมวลข้อมูลเรื่องรับแจ้งปัญหาที่ประชาชนแจ้งเข้ามา ตั้งแต่สรุปสาระของปัญหาที่ได้รับแจ้ง คัดแยกประเภทปัญหาจากข้อความและรูปภาพ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในแก้ไขปัญหา
อีกทั้ง ใช้ เอไอ เพิ่มการตรวจสอบคำหยาบ คำไม่สุภาพ คำด่าทอ และเสนอแนะข้อความที่สุภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงข้อความยาวๆ เป็นสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย ถูกต้องตอบโจทย์เรื่องที่แจ้งให้แก้ปัญหามากยิ่งขึ้น
ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม กล่าวว่า แพลตฟอร์มนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในยุคดิจิทัล Line เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สื่อสาร สั่งอาหาร เรียกใช้บริการรถ ในประเทศไทยมีผู้ใช้งานกว่า 80% จึงพัฒนา Traffy Fondue ขึ้น ตอบโจทย์สำหรับคนไทย พบปัญหาที่ไหน กดปุ่มแจ้งปัญหา ใช้เวลาแจ้งเรื่อง 1 นาที หน่วยงานใช้เวลารับเรื่อง 1 นาที รวม 2 นาที ส่งต่อปัญหาการร้องเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งลดระยะเวลาแก้ปัญหา เดิมนานเป็นเดือน เหลือเพียง 3 วัน หรือ 91 ชม. เร็วขึ้น 4 เท่า แม้เจ้าหน้าที่ปิดเรื่องแก้เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าประชาชนไม่พอใจมีปุ่มแก้ไขใหม่ ถือเป็นตัวอย่างนำเทคโนโลยีมาปฏิรูปประสิทธิภาพการทำงานของราชการ ผนวกการทำงานของผู้บริหาร จนท.เข้มแข็ง นอกจาก กทม. ที่ใช้ Traffy Fondue รับแจ้งปัญหาแล้ว ปัจจุบันมี 21 จังหวัด ท้องถิ่น 4,000 แห่ง ใช้งาน ส่วนโรงพัก สตช. 1,484 แห่ง ทั่วประเทศ ใช้รับแจ้งเรื่องจราจร อุบัติเหตุ สินบน มีหน่วยงานใช้งานแล้ว 15,000 แห่ง เป้าหมายขยายผลการใช้งานให้ครบ 77 จังหวัด
“ เมื่อก่อน กทม.มีเรื่องแจ้งเข้ามา 8 หมื่นเรื่อง ตอนนี้สถิติแจ้งปัญหามากกว่าเดิม 5 เท่า แก้ไขเสร็จไป 5 แสนกว่าเรื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยใช้คนและงบประมาณเท่าเดิม แสดงว่า เอไอช่วยลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรคน ทุกเรื่องที่แจ้งถือเป็นอาสา ช่วยทำให้เมืองดีขึ้น อยากให้อาคารสำนักงานของภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ให้บริการประชาชน นำไปใช้ “
ทุกเรื่องที่แก้ไขเสร็จ ดร.วสันต์ บอก อย่าถือว่าเป็นการร้องเรียน แต่ช่วยให้หน้าบ้าน สภาพแวดล้อมใกล้บ้านของเราดีขึ้น เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าฝาท่อชำรุดหรือเปิดอยู่ มีผู้แจ้งปัญหา จะลดสถิติคนตกท่อใน กทม. ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 750 คนต่อปี แก้ไขหนึ่งฝา ช่วยชีวิตคนได้มากมาย หรือทางเท้าพังไม่ปลอดภัยต่อการเดินเท้า เสี่ยงอุบัติเหตุ จากสถิติมีแจ้งปัญหา 9 หมื่นเรื่องและแก้ไขแล้ว มีคนที่ได้ประโยชน์เป็นร้อยเป็นพันคนต่อวันที่สัญจรไปมา
อีกตัวอย่างปัญหาการติดป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย หรือ “ป้ายกองโจร” ปี 66 รับแจ้งกว่าพันเรื่อง แก้ด้วยไล่รื้อถอนไม่ยั่งยืน นำไปการบริหารจัดการปัญหา โดยสำนักงานเขตเชิญหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม มาพูดคุย เพื่อทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเศรษฐกืจทางเท้า แผงลอยที่ไม่รบกวนทางเดินเท้า ใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารระร่วมกัน ทำให้เมืองน่าอยู่ ทราฟฟี่ ฟองดูว เป็นสื่อรักของคนที่ใช้ชีวิตในเมืองแล้วเจอปัญหากับคนแก้ปัญหาได้มาพบกัน
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ Traffy Fondue มาจากเสียงเรียกร้องของประชาชน โดยลดขั้นตอน จาก 5 เหลือ 3 ขั้นตอน สะดวกในการแจ้งเรื่องแก้ปัญหา ได้แก่ 1.กดปุ่ม แจ้งเรื่องใหม่ แล้วแชร์พิกัดตำแหน่ง 2.พิมพ์รายละเอียดของปัญหา และ 3.ส่งภาพประกอบของปัญหาและรับการ์ดยืนยันการแจ้ง โดยไม่ต้องเลือกหน่วยงานที่ต้องการแจ้ง ไม่ต้องเลือกประเภทปัญหาแล้ว ใช้ เอไอ สุดล้ำ ทำงานแทน
ผอ.อธิบายฟีเจอร์ใหม่เพิ่ม รับแจ้งเตือน เหตุฉุกเฉิน ภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ ข่าวสารในพื้นที่ มีเมนูข่าวสารเพิ่มเติม ให้คลิกว่า ต้องการข่าววารแบบไหน ประเภทไหน น้ำท่วม ภัยพิบัติ การก่อสร้างคอนโดมีเนียม ทุกครั้งที่มีการแก้ไขปัญหาเสร็จ จะมีอินโฟกราฟฟิก ภาพก่อนแจ้งแก้ไข เช่น ปัญหาไฟทางเสีย แก้โดยหน่วยงานใด แจ้งเวลาใด รับเรื่องเวลาใด เสร็จสิ้นเวลาไหน ใช้เวลาแก้ไขเท่าไหร่ เป็นการสรุปขั้นตอนและเวลาที่ใช้แก้ปัญหา พร้อมภาพก่อนและหลัง เพื่อความโปร่งใส
“ ฟีเจอร์ใหม่ยังมีเรื่องแจ้งของคนอื่น สามารถคลิกดูเรื่องแจ้งของคนอื่น มีปัญหาใกล้ตัว เราสามารถส่งโลเคชั่นเพื่อดูปัญหาที่แก้ไขไปแล้วในพื้นที่ใกล้เคียง จะมีประโยชน์บางคนยังไม่เคยแจ้ง เกิดความไม่มั่นใจ แจ้งได้หรือ แก้ไขได้จริงมั้ย จะเป็นตัวอย่าง แก้ไขอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องแจ้งถึงไหนแล้ว พร้อมปุ่มติดตาม เหมือนกดสั่งของ ของถึงไหนแล้ว ส่งหรือยัง โดยปุ่มติดตามสามารถตามเรื่องจากเจ้าหน้าที่ได้เลย ฟีเจอร์ใหม่ให้ความสำคัญเรื่องที่ยังแก้ไขไม่เสร็จ “ ดร.วสันต์ กล่าว
เมื่อมองการพัฒนากรุงเทพฯ สู่เมืองอัจฉริยะ ดร.วสันต์ แสดงทัศนะว่า ขณะนี้ กทม.มีแผนพัฒนาพื้นที่สู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ แสวงหาเทคโนโลยีและต่อยอดความร่วมมือใหม่ๆ มากขึ้น อย่าง ร่วมกับ สวทช. พัฒนาแพลตฟอร์มการใช้พื้นที่ในกรุงเทพฯ ถ่ายทำภาพยนตร์ ลดขั้นตอนรับเรื่อง ส่งต่อ เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงการขออนุญาตก่อสร้างในพื้นที่ขนาดเล็กผ่านออนไลน์ ซึ่งเมืองอัจฉริยะมีหลายมิติ ยังต้องสนับสนุนด้านสุขภาพ พลเมือง ธรรมาภิบาล เพื่อไปสู่การพลิกโฉมเมืองน่าอยู่
ทั้งนี้ ประชาชนและหน่วยงานที่ต้องการใช้ Traffy Fondue สามารถใช้ LINE สแกนคิวอาร์โค้ดหรือเพิ่มเพื่อน @TraffyFondue เพื่อแชทแจ้งปัญหา และติดตามรายงานอัพเดทการแก้ไขปัญหาได้ผ่านการแจ้งเตือนในของ LINE Chatbot และที่เว็บไซต์ http://www.traffy.in.th/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปักหมุด แชร์ข้อมูล สร้าง'เมืองใจดี'
เป็นคำถามที่ค้างคาและสงสัยอยู่ในสังคมมาตลอด ที่จอดรถ ทางลาด ห้องน้ำ ทางลาดเลื่อน ลิฟต์ของคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา รวมไปถึงคนที่มีข้อจำกัดด้านการเดินทาง ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ
รองประธานสภาฯ ผุดไอเดียแขวนระฆังหน้าอาคารรัฐสภา เปิดจุดประชาชนร้องทุกข์
สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ หน้าอาคารรัฐสภา ฝั่งวัดแก้วฟ้า โดยมีการนำระฆังขนาดใหญ่มาแขวนไว้ด้านหน้าศูนย์ เป็นที่สะดุดตาของผู้พบเห็นและวิพากษ์วิจารณ์สวนทางกับนโยบายสภาทันสมัยของรัฐสภาหรือไม่
นักวิจัยด้านกุ้ง จาก จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567
นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 ขณะที่