บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม – ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย – เนปาล

18 ก.ค.2567- นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี คณะพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย – เนปาล และมูลนิธิพระธรรมวิทยากรไทยในแดนพุทธภูมิ จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 30 กรกฎาคม 2567 รวมระยะเวลา 13 วัน ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร และพุทธสังเวชนียสถาน สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรร เข้าร่วมพิธี ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จังหวัดสมุทรปราการ

รมว.วธ. กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าไตร สำหรับอุปัชฌาย์ จำนวน 1 ไตร และสำหรับผู้บรรพชาอุปสมบท จำนวน 73 ไตร และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ ถวายเป็นพระราชกุศลครั้งนี้ ไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการ ปฏิบัติงานและได้รับเงินเดือนตามปกติ ซึ่งโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิฯ ครั้งนี้ มีบุคลากรภาครัฐ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน และประชาชนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท จำนวน 73 คน บวชชีพรหมโพธิ จำนวน 73 คน และบวชเนกขัมมะ จำนวน 98 คน นอกจากนี้ มีผู้บวชสมทบในโครงการฯเพิ่มเติมอีกแบ่งเป็นบรรพชาอุปสมบทจำนวน 25 คน และบวชชี 34 คน รวมมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 303 คน

” โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันบำเพ็ญคุณงามความดี ถวายเป็นพระราชกุศลด้วยการปฏิบัติธรรมในพุทธสังเวชนียสถาน ที่สำคัญให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรม เพื่อนำหลักธรรมมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อธำรงรักษาและร่วมกันเผยแพร่พุทธศาสนา” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล ขลิบผม และปฐมนิเทศ ตลอดจนซักซ้อมพิธีการ ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ในวันที่ 18 ก.ค. จากนั้นในวันที่ 19 ก.ค. จะมีการซ้อมขานนาค/ซ้อมบวชชีพรหมโพธิ และอบรมการรักษาศีล ณ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย และวันที่ 20 กรกฎาคม จะมีพิธีมอบผ้าไตรพระราชทานแก่ผู้บรรพชาและมอบผ้าสไบ พร้อมเข็มที่ระลึกแก่ผู้บวชชีพรหมโพธิ ศีล 10 ณ ปริมณฑลต้นพระศรีมหาโพธิ์ และประกอบพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา จากนั้นระหว่างวันที่ 20 – 28 ก.ค. 2567 ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท และบวชชีพรหมโพธิ จะปฏิบัติธรรม ฟังบรรยายธรรมะและศึกษาพุทธประวัติ ณ สังเวชนียสถาน และวันที่ 29 ก.ค.จะมีทำพิธีลาสิกขา/ลาศีล 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดชมมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ 5 วัน 5 แสนคน

16 ก.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ

ชวนเที่ยว'สวนแสง'งานมหรสพสมโภช ชมนิทรรศเฉลิมพระเกียรติ

13 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน