สิ้นศิลปินแห่งชาติ 'แม่คำปุน ศรีใส' ช่างทอตำนานแดนอีสาน ผู้วางรากฐาน' หมี่ ขิด ยก จก '

16ก.ค.2567-นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า นางคำปุน ศรีใส ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) พุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สิริอายุ ๙๑ ปี โดยทายาทแจ้งว่า มีกำหนดการบำเพ็ญกุศล พิธีสวดพระอภิธรรม ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ถวายภัตตาหารเพล เวลา ๑๐.๐๐ น. สวดพระอภิธรรม เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ บ้านคำปุน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ เมรุชั่วคราว วัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี


ในการนี้ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม โดยกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติฯ ดำเนินการจัดสวัสดิการช่วยเหลือ ดังนี้ คือ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ค่าเครื่องเคารพศพ ๓,๐๐๐ บาท และค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ด้วย


สำหรับประวัติของ นางคำปุน ศรีใส เกิดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ณ อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนสามัคคีวัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี แม่คำปุน ได้รับการสืบทอดศิลปะการทอผ้าไหมจากบรรพบุรุษตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งการทอผ้าไหมสีต่าง ๆ ผ้าไหมมัดหมี่ชนิด ๒ ตะกอ ๓ ตะกอ และ ๔ ตะกอ รวมถึงผ้าไหมยกเงินผ้าไหมยกทอง ทั้งยังได้พัฒนาการทอผ้าไหมให้มีลวดลายวิจิตรพิสดาร โดยยึดรากฐานการทอผ้าอีสาน คือ หมี่ ขิด ยก และ จก เป็นพื้นฐาน และพัฒนาผ้าไหมให้มีลวดลายหลากหลายยิ่งขึ้น โดยผ้าที่มีชื่อเสียงของบ้านคำปุนคือ ผ้าไหมมัดหมี่ผสม การจก (การปัก) ด้วยไหมสีต่าง ๆ มีทั้งไหมเงินไหมคำลงบนผืนลายผ้า เพื่อให้เกิดแสงเลื่อมพรายเมื่อต้องแสงไฟ ช่วยให้ผ้ามีความงดงามวิจิตรตระการตามากขึ้น อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอันโดดเด่นของผ้า


จากความคิด ปรัชญาและความสามารถในการสร้างสรรค์งานฝีมือด้วยลวดลายที่เต็มไปด้วยศิลปะ ตลอดจนกรรมวิธีในการทอ การให้สีผ้าและการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ ที่มีความละเอียดประณีตในทุกขั้นตอน จึงทำให้ผ้าทอของนางคำปุนได้รับความสนใจจากบุคคลผู้มีชื่อเสียงของประเทศนําไปใช้ในพิธีการต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ในการหมั้น การเข้าเฝ้าฯ เป็นต้น และยังได้ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของตัวเอกในภาพยนตร์ เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” รางวัลที่ได้รับ เช่น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปหัตถกรรม เครื่องถักทอ) จากคณะกรรมกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗ รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมผ้าทอ) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น แม่คำปุน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – ทอผ้า) พุทธศักราช ๒๕๖๑

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ

21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562  นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี” 

อาลัย! สิ้น 'เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา' ศิลปินแห่งชาติ ราชานวนิยายลึกลับสยองขวัญของไทย

แฟนเพจ "ตรี อภิรุม" แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "อ.เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2562

'น้าหงา' เขียนถึง ฝรั่งนักล่าอาณานิคม ปล้นชิงเอาสิ่งมีค่า กระทบต่อโลกอย่างไม่คาดไม่เห็นมาก่อน

น้าหงา สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า คิดๆเขียนๆไปงั้นแหละครับ ในยุคล่าอาณานิคมที่คนส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเอ

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

ประกาศเกณฑ์รับเงินอุดหนุนงานวัฒนธรรมปี68

28 ก.ย. 2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรม