ชวนเที่ยว'สวนแสง'งานมหรสพสมโภช ชมนิทรรศเฉลิมพระเกียรติ

มหรสพสมโภชที่ท้องสนามหลวง วันที่ 3 คึกคัก ปชช.ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในหลวง สัมผัสสวนแสงสุดตระการตา พบการแสดงศิลปวัฒนธรรม-ดนตรี มากมาย

13 ก.ค.2567 – นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย วันนี้เป็นวันที่ 3 ของการจัดงาน มีประชาชนสนใจร่วมงานต่อเนื่อง ภายในงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ณ ท้องสนามหลวง ได้แก่ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ“ทศมินทรราชา 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แบ่งออกเป็น 3 โซน

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อว่า โซนที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกร โซนที่ 2 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ส่วนโซนที่ 3 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ นิทรรศการ ประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร นอกจากนี้ ยังมีจัดนิทรรศการของกระทรวงวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ

รมว.วัฒนธรรม กล่าวต่อว่า ภายในงานจัดแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติ “มหาทศมินทรราชา” โดยจัดแสดงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ประดับคำว่า“ทรงพระเจริญ”และ“LONG LIVE THE KING”ตกแต่งด้วยดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 10 และนำเอาสื่อสัญลักษณ์ของสถานที่สำคัญอันเป็นสถานที่มงคล ทั้ง 4 ภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาจำลองอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ ภาคเหนือ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง เป็นปีพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วยสื่อสัญลักษณ์ “ดอกกุหลาบ” เพื่อสื่อถึงความอ่อนโยนและความอ่อนหวานของดินแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชสักการะ สรงน้ำองค์พระธาตุพนมถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งยังตกแต่งด้วย “ดอกบัว”สื่อถึงคติสัญลักษณ์แห่งสายใยผูกพันของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)

นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วย “ต้นข้าว” เพื่อสื่อถึงอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ และภาคใต้ ศาลหลักเมืองประจำจังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลหลักเมืองประจำจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วย“ดอกบานบุรี ” ซึ่งนิยมปลูกกันในแถบภาคใต้เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวปักษ์ใต้ และมีจุดถ่ายภาพด้วยระบบ AI สามารถเลือกแต่งกายด้วยชุดอัตลักษณ์แต่ละภาคและฉากหลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้โดยให้บริการประชาชนฟรี

นอกจากนี้ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 เวที คือ เวทีกลาง จัดแสดงวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.30-22.00 น. ซึ่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 การแสดงดนตรี “เทิดไท้องค์ราชัน พระมิ่งขวัญ ปวงชนชาวไทย” การแสดงละครนอก ตอน ถวายลูกแก้วหน้าม้า การแสดง “มหานาฏกรรมรามายณะนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ” โดยไทยร่วมกับ 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 การแสดงดนตรี “มหาดุริยางค์ 4 เหล่า” เป็นการแสดงร่วมกันของกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การแสดงดนตรี “สดับคีตศิลป์ทศชาติชาดก” (10 พระชาติชาดก เฉลิมพระเกียรติ) และการแสดงละครเพลง “เทิดไท้ทศมินทรราชา”

นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้จัดการแสดง“ศิลปะร่วมสมัยเทิดไท้องค์ราชัน”ภายใต้งานมหรสพสมโภช การแสดงศิลปะร่วมสมัยเทิดไท้องค์ราชัน เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบการแสดงประกอบแสง สี เสียง และสื่อผสม สะท้อนแนวคิดการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 10 รัชกาล มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจ ผ่านการสร้างสรรค์และส่งเสริมงานศิลปะร่วมสมัย แบ่งการแสดงออกเป็น 10

ผอ.สศร. กล่าวต่อว่า สำหรับคอนเซปต์การแสดงทั้ง 10 องค์ นำเสนอความรุ่งเรืองโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมในแต่ละรัชสมัย สะท้อนบทบาทการทำนุบำรุงสืบสานศิลป์แห่งแผ่นดิน ผ่านสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้ประเทศไทยดำรงความเป็นชาติที่มีขนบวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งมาอย่างยาวนาน จนได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทรงอิทธิพลทางมรดกวัฒนธรรมของโลกประกอบด้วย การแสดงโขน การแสดงงิ้วร่วมสมัย การขับร้องประสานเสียง การแสดง Thai Contemporary เรือง “เงาะป่า”การแสดงเดี่ยวเปียโน บทเพลงมัทนะพาธา การแสดงContemporary Dance การแสดงบัลเล่ต์ประกอบบทเพลงพระราชนิพนธ์เรื่อง “มโนราห์” เป็นต้น จัดแสดงในวันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 21.00 – 22.30 น.ในงาน “งานมหรสพสมโภช”ฯ ณ ท้องสนามหลวง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

ประติมากรรมเพื่อชุมชน แหล่งรวมคนเมืองแห่งใหม่

ใจกลางกรุงเทพฯ นอกจากสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดให้กับคนเมืองแล้ว การมีสวนประติมากรรมให้เที่ยวชมย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งนัดพบชาวเมืองแห่งใหม่ เต็มเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในเมืองด้วยผลงานศิลปะที่ชวนให้เราหยุดพัก

7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่

ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน  7 สาขา

ปักหมุดพิพิธภัณฑ์ใน LA ต้องไปชมสักครั้ง

การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศให้สนุกสนาน  นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามตระการตาและแหล่งมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า พิพิธภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เราอยากแนะนำให้ไปเยี่ยมชม เก็บเกี่ยวช่วงเวลาพิเศษควรค่าแก่การจดจำ