วธ. เผยรายการหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติ พระชนมพรรษา ๖ รอบ

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เปิดเผยว่าตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติฯดำเนินการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลนี้ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้กำหนดจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก จำนวนทั้งหมด ๖ เล่ม แบ่งเป็นหนังสือจดหมายเหตุ จำนวน ๑ เล่ม และหนังสือที่ระลึก จำนวน ๕ เล่ม ดังนี้

๑. หนังสือจดหมายเหตุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาแต่โบราณ คือ จด-หมาย-เหตุการณ์ไว้ให้ปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการรวบรวมกฤตภาคข่าวออนไลน์จากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และส่งนักจดหมายเหตุไปสังเกตการณ์การประชุมจดบันทึกการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รวบรวมเอกสารและภาพถ่ายกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วประเทศจดบันทึกเหตุการณ์และถ่ายภาพพระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีที่เกี่ยวเนื่องเริ่มตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖จนเสร็จสิ้นระยะเวลาของโครงการกิจกรรม คือประมาณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗

จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นต้นฉบับตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการอนุญาตจากสำนักพระราชวัง แล้วจึงจัดพิมพ์เป็นหนังสือจดหมายเหตุ แจกจ่ายเผยแพร่ไปตามห้องสมุดหน่วยราชการและโรงเรียนต่าง ๆทั่วประเทศ

๒. หนังสือ “ทศพิธ ทศมรัช” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหนังสือที่นำเสนอพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๐ ด้านโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และกวีที่เป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน ๑๐ คน ร่วมแต่งคำประพันธ์เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นร้อยกรองทั้งเล่ม และมีภาพประกอบตามเนื้อหาพระราชกรณียกิจ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ตามขนมวรรณคดีเฉลิม พระเกียรติแต่โบราณ

๓. หนังสือหกรอบนักษัตร ใต้ร่มฉัตรพระภูมินทร์: ประมวลข่าวจากหนังสือพิมพ์พุทธศักราช๒๔๙๕ – ๒๕๖๗ โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการรวบรวมข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนาการแพทย์และสาธารณสุข การทหาร การต่างประเทศ การกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บทความเฉลิมพระเกียรติและสิ่งอนุสรณ์โดยรวบรวมจากต้นฉบับหนังสือพิมพ์ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๕ – ๒๕๖๗ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศคัดกรองร้อยเรียงเรื่องราวให้ต่อเนื่องกันไป ในแต่ละรอบนักษัตรแล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

๔. หนังสือที่ระลึกพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูล เอกสารและภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จากทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน และธำรงไว้ซึ่งพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน

๕. หนังสือที่ระลึกในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยกองทัพเรือ เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้งด้านประวัตึความเป็นมาการจัดเตรียมขบวนพระพยุหยาตราทางชลมารค การจัดพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๖. หนังสือที่ระลึกรวบรวมผลการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยกรุงเทพมหานครเป็นหนังสือที่รวบรวมข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจพิเศษของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าวสำหรับใช้ในการค้นคว้า อ้างอิง รวมถึงน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ มาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนอีกทั้งเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่าสำหรับระยะเวลาในการจัดทำหนังสือที่ระลึกแต่ละรายการจะแล้วเสร็จภายหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม เมื่อจัดพิมพ์หนังสือเรียบร้อยแล้วจะมอบให้แก่ห้องสมุด หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษารวมทั้งจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)เผยแพร่ทางออนไลน์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ

ชวนเที่ยว'สวนแสง'งานมหรสพสมโภช ชมนิทรรศเฉลิมพระเกียรติ

13 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน

มหรสพสมโภชในหลวง 72 พรรษา จัดใหญ่สนามหลวง

3 ก.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแถลงข่าวงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม