'ณัฐชา' โอดชาวประมงเลี้ยงกุ้งโดน 'ปลาหมอคางดำ' กินเกลี้ยงบ่อ เรียก 'ซีพีเอฟ' แจงอนุกมธ.

'ณัฐชา' โอด ชาวประมงในพื้นที่เลี้ยงกุ้ง 3 แสนตัว โดน'ปลาหมอคางดำ' กินเกลี้ยงบ่อ ต้องกู้เงินทำทุน สุดท้ายขายโฉนด เผย 11 ก.ค.นี้ เรียก 'ซีพีเอฟ' เข้าแจง อนุ กมธ. จี้ส่งซากปลาขวดโหลตรวจ DNA ตรงกันกับที่ระบาดหรือไม่

10 ก.ค. 2567 - ที่รัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ให้สัมภาษณ์ถึงวิกฤตปลาหมอคางดำ ว่า สถานการณ์หนักมาก เนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ อาศัยอยู่แถบประเทศกาน่า แอฟริกาใต้ ซึ่งมีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งนำเข้ามา 2,000 ตัว เมื่อปี 2553 หลังจากนั้นก็พบว่ามีการแจ้งทำลายทิ้งหมดแล้ว แต่กลับพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ

“หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องชัดเจนและตรงที่สุดคือกรมประมง ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ กรมประมงดำเนินการอย่างไรไม่ทราบ แต่ผลกระทบสุดท้ายก็คือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่สุด เนื่องจากปลาสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปเต็มทั่วพื้นที่ วันนี้เราจะเห็นข่าวที่พี่น้องชาวภาคใต้ ทั้งจ.นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ออกมาบอกว่าวิตกกังวลกับปลาสายพันธุ์นี้ จะไปรุกรานสัตว์น้ำของเขา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นมหันตภัยร้ายที่สามารถทำลายมูลค่าทางเศรษฐกิจสัตว์น้ำไปปีหนึ่งหลาย 1,000 ล้านบาท” นายณัฐชา กล่าว

นายณัฐชา กล่าวต่อว่า พี่น้องในเขตบางขุนเทียนที่ตนเป็น สส. ลงทุนเลี้ยงกุ้ง 300,000 บาท โดยปลาสายพันธุ์นี้หลุดเข้ามากินกุ้งจนหมดบ่อ พอจะเลี้ยงรอบ 2 ต้องกู้เงินมาลงทุน พอถึงรอบ 3 ไม่มีเงินไปจ่ายเงินกู้ ตอนนี้ต้องขายโฉนดที่ดิน นี่เป็นภาพที่สะท้อนและเห็นได้ชัดถึงภัยร้ายแรงของปลาหมอคางดำ ดังนั้น อนุกรรมาธิการฯ จึงเรียกประชุมและถามหางานวิจัยที่ผิดพลาด ว่ามีหลักฐานทำลายล้างปลาต้นแบบมากน้อยแค่ไหน เพื่อหาต้นต่อคนรับผิดชอบให้ได้

เมื่อถามว่าในอนุ กมธ. บริษัทเอกชนชี้แจงว่าอย่างไรบ้าง นายณัฐชา กล่าวว่า ในวันที่ 11 ก.ค.ทางอนุ กมธ. จะเชิญ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ เพื่อขอดูข้อมูลหลักฐานการขออนุญาต นำเข้าแบบมีเงื่อนไขตอนปี 2549 เนื่องจากในปี 2549 มีการนำเข้าปลาสายพันธุ์นี้ ตอนนั้นยังไม่ใช้ชื่อว่าปลาหมอสีคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ แต่กลับใช้ชื่อว่าปลาสายพันธุ์เดียวกับปลานิล เพื่อมาผสมพันธุ์กับปลานิล และการขอนำเข้ามา จากข้อมูลที่ได้รับแจ้งไว้ชัดเจนว่าเป็นการนำเข้ามาเพื่อวิจัย โดย บริษัทเอกชน และมีการนำเข้าจริงเกิดขึ้นปี 2553 หลังจากนั้นได้มีการแจ้งว่างานวิจัยผิดพลาด เนื่องจากปลาอ่อนแอและตายในที่สุด แต่ยังไม่ทราบรายงานเป็นอย่างไร ซึ่งอนุ กมธ. พยายามติดตามหาความจริงว่าหากปลาสายพันธุ์นี้หมดไปตั้งแต่วันนั้นแล้ว ณ วันนี้มาจากไหน

“กรมประมงมีงานวิจัยที่ไปจับปลาหมอคางดำทั่วประเทศ 6 จังหวัด เพื่อมาศึกษา DNA ว่ามาจากต้นตอเดียวกันหรือไม่ รายงานฉบับนั้นก็พิสูจน์แล้วว่าปลาทุกพื้นที่ของประเทศไทยที่เป็นปลาหมอคางดำที่มาจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เดียวกัน ดังนั้นเหลือเพียง DNA ของปลาที่นำเข้ามา หากตรงกันเมื่อไหร่ แสดงว่าปลาที่แพร่ระบาดอยู่ทุกวันนี้มาจากปลาชุดที่นำเข้ามาวิจัย แต่ตอนนี้ไม่สามารถยืนยันได้ ทางอนุ กมธ.ก็ยังศึกษาต่อ”นายณัฐชา กล่าว

เมื่อถามว่าปลาที่ทำลายไปแล้ว จะนำกลับเข้ามาตรวจสอบได้หรือไม่ นายณัฐชา ระบุว่าในรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เข้าไปตรวจสอบเมื่อปี 2560 มีรายงานว่า มีการทำลายทิ้งโดยการฝังกลบแล้ว เกือบ 2,000 ตัว เหลือไว้เพียงแค่ซากในขวดโหลประมาณ 50 ตัว ขวดละ 25 ตัว ส่งให้กับทางกรมประมง เพราะฉะนั้นตอนนี้เราอยากนำชิ้นส่วนตัวอย่างของปลาที่อยู่ในขวดโหลมาเทียบ DNA ว่าตรงกับที่แพร่กระจายอยู่หรือไม่

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยผลการตรวจสอบโครงการอุตสาหกรรมจะนะ ขาดการมีส่วนร่วม แนะศอ.บต. แก้ไข

กสม. เผยผลการตรวจสอบโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย แนะศอ.บต. แก้ไข

กสม.แนะแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินปชช. ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ

กสม. แนะกระทรวงพลังงานเร่งเสนอ ครม. แก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

30 โรงงานของ CPF รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award จากกรอ. เดินหน้าร่วมรับผิดชอบสังคมและชุมชน

จากความมุ่งมั่นในการสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในทุกระดับของทุกกลุ่มธุรกิจ มีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ในทุกมิติแก่สังคมและชุมชนที่สถานประกอบการของบริษัทฯตั้งอยู่ เพราะถือว่าซีพีเอฟคือหนึ่งในสมาชิกของชุมชน

กสม. ประกาศ 9 บุคคลและองค์กร ที่ส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กสม. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 - 2567

ซีพีเอฟโชว์กำไร Q3 เพิ่มขึ้น 504%

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  และบริษัทย่อย  ผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร มีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ

หมากล้อมเชื่อมสัมพันธ์ ศึกลุยไถ2024 พีซีจี–ซีพีเอฟ-ซีพีแอ็กซ์ตร้า ชิงกว่า650,000บาท

สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (ซีพีเอฟ) และ บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด (พีซีจี)  และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาหมากล้อมศึกลุยไถ 2024 เพื่อแลกเปลี่ยนฝีมือและประสบการณ์เชื่อมความสัมพันธ์ให้กับนักหมากล้อม 3 บริษัท ชิงถ้วยเกียรติยศและเงินรางวัลรวมกว่า 650,000 บาท