'บุรีรัมย์' ดังไม่หยุด อาจารย์ จุฬาฯ ค้นพบแนวคันดินบ่งชี้'เป็นพื้นที่อยู่อาศัยกลุ่มคนโบราณ' เมื่อ 700-1,000 ปีก่อน

แนวคันดิน

จุดเริ่มต้นการค้นพบ      ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ค้นพบแนวคันดินใน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของชุมชนโบราณเมื่อ700-1,000 ปีก่อน คาดว่ามีคนประมาณ 300-500 คนอาศัยอยู่การค้นพบนี้เกิดจากการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารในปี 2519 ซึ่งแปลความโดย ศ.ดร.สันติ โดยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่ทำนาและทำไร่สวนยางพาราแต่พบแนวคันดินที่มีลักษณะกว้างและสูงกว่าคันนาปกติทั่วไปในพื้นที่บ้านเขาดินใต้ ต.บ้านกรวด โดยแนวคันดินนี้กว้าง 3 เมตร สูง 0.5-1 เมตร จากการสอบถามชาวบ้านพบว่า แต่เดิมคันดินสูงกว่า 2 เมตรและเต็มไปด้วยจอมปลวกและต้นไม้รกทึบต่อมาชาวบ้านได้ปรับพื้นที่ให้สะอาดและต่ำลงเพื่อใช้เป็นถนนในการทำการเกษตร


ขอบเขตพื้นที่  จากการลงสำรวจและรังวัดแนวคันดิน พบว่าแนวคันดินดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยคันดินด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกยาว 200 เมตร และคันดินด้านทิศใต้ยาว 330 เมตรส่วนทิศเหนือกำหนดเขตจากธารน้ำธรรมชาติห้วยเสว คำนวณพื้นที่ครอบคลุมได้ 66,000 ตารางเมตร หรือ 41 ไร่

พื้นที่รอบแนวคันดิน

แนวคันดินนี้มีขนาดเล็กกว่าเมืองโบราณทรงสี่เหลี่ยมอื่นๆ เช่น เมืองนครราชสีมาและเมืองเชียงใหม่ 20-40 เท่า จึงนิยามว่าเป็นระดับชุมชนโบราณมากกว่าเมืองขนาดใหญ่ โดยคาดการณ์จำนวนประชากรที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ประมาณ 300-500 คน

อายุและหลักฐานโบราณคดี  จากการสำรวจและเก็บหลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่ภายในแนวคันดินพบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่ 41 ไร่ โดยเศษภาชนะทั้งหมดบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งผลิตจากกลุ่มอุตสาหกรรมเตาเครื่องปั้นดินเผาโบราณ อ.บ้านกรวดจ.บุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5-10 กิโลเมตร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 (ประมาณ 700-1,000 ปี) นอกจากนี้ยังพบเศษอิฐจำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งบ่งชี้ว่าภายในแนวคันดินเดิมน่าจะมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทำด้วยอิฐ

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้


จากการขยายพื้นที่สำรวจโดยรอบแนวคันดิน พบว่าห่างออกไปประมาณ 1.3 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของปราสาทหนองตะโก และทางทิศตะวันออกห่างออกไปประมาณ 1.4 กิโลเมตรพบเนินขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทับถมของเศษตะกรันหรือขี้แร่ที่เหลือจากการถลุงเหล็ก โดย อิสราวรรณอยู่ป้อม กำหนดอายุกิจกรรมถลุงเหล็กดังกล่าวว่าเคยดำเนินอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800 ปี)


ศ.ดร.สันติเชื่อว่าแนวคันดินหรือชุมชนโบราณที่พบมีความสัมพันธ์กับแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณทั้งในด้านพื้นที่และเวลา              จึงกล่าวได้ว่า แนวคันดินล้อมรอบพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 41 ไร่ ใน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์คือที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณเมื่อ 700-1,000 ปีก่อนและอาจเป็นกลุ่มคนที่ประกอบกิจกรรมการถลุงเหล็กในอดีต

หลักฐานโบราณคดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'มาร์เกซ'พร้อมเหล่านักแข่ง มาถึงจ.บุรีรัมย์แล้ว รอบิด'พีที กรังด์ปรีซ์ฯ 25-27ต.ค.นี้

มาร์ค มาร์เกซ และ ฟรานโก้ โมบิเดลลี่ รวมถึงเหล่านักแข่ง และขบวนตู้คอนเทนเนอร์ทีมแข่ง รถจักรยานยนต์ทางเรียบ ชิงแชมป์โลก หรือโมโตจีพี ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่อรายการ “PT Grand Prix of Thailand 2024” ได้เดินทางมาถึง จ.บุรีรัมย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เพื่อร่วมทำการแข่งขัน ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคมนี้ ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์

จุฬาฯ “เปิดแพลตฟอร์ม ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมเตือนพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 3 ด้าน จากการจัดอันดับโดย THE WUR 2025

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกโดย The Times Higher Education World University Rankings 2025 (THE WUR 2025) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับกว่า 2,000 แห่ง กว่า 115 ประเทศ