'ตักบาตรหาบจังหัน' วิถีงดงามบ้านหาดสองแคว

ประเพณีตักบาตรหาบจังหัน เป็นวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้านหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ หรือชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงที่อาศัยอยู่ในหาดสองแคว ที่พบเห็นได้ยามเช้าของทุกวันที่ชาวบ้านออกมารอใส่บาตรพระ ด้วยชุมชนแห่งนี้ผูกพันกับวัด คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น   ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา นำเสนอเป็น 1 ในจุดเช็กอิน 10 เสบียงบุญ ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน”  เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวทำบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ที่วัดและแหล่งศาสนสถานต่างๆ ควบคู่การเรียนรู้วัฒนธรรมและอัตลักษณ์โดดเด่น รวมทั้งผลักดัน  Soft Power ด้านเฟสติวัลด้วยมิติทางศาสนาโดยเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญในวันพระ’ตักบาตรหาบจังหัน’ เช้าวันที่ 29 มิ.ย.2567 ณ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์

ความพิเศษ’ตักบาตรหาบจังหัน’หรือประเพณีการหาบสาแหรกของชุมชนคุณธรรมบ้านหาดสองแคว ไม่เหมือนชุมชนอื่นๆ  คำว่า “จังหัน” หมายถึง ภัตตาหารที่จะถวายแด่พระสงฆ์ ในยามเช้า ขณะที่พระสงฆ์ออกบิณฑบาตตอนเช้าชาวบ้านจะตักบาตรด้วยข้าวสวยอย่างเดียว โดยไม่มีกับข้าวใส่บาตร เพราะอาหารคาว-หวาน จะมีนางหาบหรือนายหาบแต่งกายชุดลาวเวียงวันละ 5-10 คน ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนหาบอาหารด้วยสาแหรกเดินตามพระเข้าวัด ซึ่งอาหารคาวหวานที่หาบไปจะได้จากชาวบ้านนำอาหารไปวางไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลัง โดยนางหาบนายหาบจะเดินเก็บอาหารตามบ้านแต่ละหลังไปตามเส้นทางไปจนถึงวัด

จากนั้นจะนำอาหารหรือจังหันถวายพระที่วัดในตอนเช้า ถือเป็นการเชื่อมบุญมาสู่คนในชุมชน หลังจากถวายพระแล้ว นางหาบหรือนายหาบ จะนำภาชนะใส่อาหารกลับไปวางคืนไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลังตามเดิม โดยไม่มีผิด  ซึ่งทำเป็นประจำแบบนี้ทุกวันไม่ขาด ยกเว้นวันพระหรือสำคัญทางศาสนาชาวบ้านจะไปรวมตัวตักบาตรกันที่วัด

ชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา  กล่าวต่อว่า กรมการศาสนา ได้ขยายผลสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และภาคีเครือข่าย เปิดจุดเช็กอิน 10 เสบียงบุญ ประกอบด้วยตักบาตรทางเรือ วัดบำเพ็ญเหนือ กรุงเทพฯ ,ตักบาตรริมโขง วัดมหาธาตุ จ.นครพนม ,ตักบาตรข้าวเหนียว วัดศรีคุนเมือง จ.เลย ,ตักบาตรหน้าวัด วัดมหาธาตุฯ  จ.นครศรีธรรมราช ,ตักบาตรสะพานบุญรับอรุณ วัดตระพังทอง จ.สุโขทัย, ตักบาตรบนเมก วัดเมธังกราวาส จังหวัดแพร่ , ตักบาตรหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส จ.ราชบุรี ,ตักบาตรหาบจังหัน วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ ,ตักบาตรพระขี่ม้า วัดถ้ำป่าอาชาทอง  และตักบาตรสะพานซูตองเป้ จ. แม่ฮ่องสอน แต่ละพื้นที่เป็นสถานที่ที่สะท้อนความศรัทธาและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น  สำหรับตักบาตรหาบจังหันเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สะท้อนความศรัทธาในพุทธศาสนา ความสามัคคี และช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน หากใครอยากมีโอกาสใส่บาตร ได้เห็น หรือได้หาบ สามารถมาเยือนกันได้ที่บ้านหาดสองแคว ทั้ง 10 จุดเช็คอินรณรงค์ให้หันกลับมาใช้ตะกร้าเป็นภาชนะใส่ของตักบาตรเป็นการส่งเสริมให้สืบสานวิถีชีวิตดั้งเดิม

นอกจากมาชมประเพณีตักบาตรที่ไม่เหมือนใครแล้ว อธิบดี ศน. บอกว่า ยังจะได้เดินเล่นถนนสายวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียงในบรรยากาศตลาดย้อนยุคของชาวลาวเวียง ชิมอาหารลาวเวียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของคนลาวเวียงจันทร์ พบเห็นการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง  ซึ่งชุมชนร่วมรักษาประเพณีวัฒนธรรมแบบชาวลาวเวียงให้คงอยู่จนปัจจุบัน รวมถึงใช้วัสดุทางธรรมชาติเป็นภาชนะใส่อาหารแทนกล่องโฟม ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าที่ขายภายในตลาด เป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม งานประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด และของที่ระลึก  นอกจากผู้มาทำบุญและนักท่องเที่ยวจะรู้สึกอิ่มบุญแล้ว ยังอิ่มเอมใจที่ได้เที่ยวชมอุดหนุนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมที่ชาวบ้านหาดสองแคว และชุมชนละแวกใกล้เคียงนำมาวางขาย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เงินสะพัด สร้างรายได้ในครัวเรือน ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง เป็นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมและทุนแห่งศรัทธาที่เป็นทุนทางสังคมอีกด้วย  อยากให้มาลองสัมผัสวิถีงดงามบ้านหาดสองแคว เมืองอุตรดิตถ์สักครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ

'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา

หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน

รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'

ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน

เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้

ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา

เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ