ไข้เลือดออก'ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องป้องกัน'คาดปีนี้เสียชีวิต280รายสูงสุดรอบ 5 ปี

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค กำลังจะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก มีการวิเคราะห์ว่ายิ่งโลกร้อนขึ้น ก็จะทำให้มีอัตราการระบาดโรคไช้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น เกือบ 50%เนื่องจาก ระยะเวลาของการฟักตัวของเชื้อในคนและเชื้อในยุงสั้นลง วงจรชีวิตของยุงสั้นลง ยุงมีพฤติกรรมการดูดเลือด เพื่อนำไปพัฒนารังไข่ให้สมบูรณ์บ่อยขึ้น  ส่วนประเทศไทยสามารถพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ทั่วทุกภาค และมีแนวโน้มสูงในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราการเกิดของประชากรไทยจะลดลงต่อเนื่อง แต่กลุ่มเสี่ยงไข้เลือดออกยังไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงอยู่ในกลุ่มวัยเรียน อายุ 15 ปีขึ้นไป

ดังนั้นในทุกปีจึงต้องมีการเฝ้าระวัง ประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกัน  ล่าสุดในงานวันไข้เลือดออกอาเซียน 2567 หรือ ASEAN Dengue Day 2024 ที่จัดขึ้นโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร  บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด และพันธมิตร ภายใต้แนวคิด Dengue Hero towards Zero Death   เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนถึงอันตรายของไข้เลือดออกที่ใกล้ตัวและวิธีการป้องกันภายใต้แคมเปญ “ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องป้องกัน ” พร้อมชวนทุกคนมาเป็น “ฮีโร่” ช่วยกันส่งต่อแนวทางการป้องกันไข้เลือดออกให้คนรอบตัว เพื่อลดอัตราการระบาดและทำให้ไข้เลือดออกเหลือศูนย์ต่อไป ขานรับนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่อัตราการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกจะต้องหมดไปภายในปี 2573

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในประเทศไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม 2567  ประมาณ  30,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าปีนี้อาจเสียชีวิตสูงถึง 280 ราย  ซึ่งเป็นยอดที่เพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี และไข้เลือดออกไม่ได้เป็นเพียงแค่ในเด็ก แต่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย เพราะอัตราการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกในปีนี้พบว่าอยู่กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น สาเหตุอาจจะมาจากเมื่อเป็นไข้ จึงไปซื้อยามาทานเอง ทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นให้สังเกตอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีไข้ขึ้นสูง อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า การขับเคลื่อนนโยบายเร่งรัดการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก 4 ด้าน ได้แก่ 1.เน้นการเฝ้าระวังโรคและยุงพาหะ โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายต่ำกว่าร้อยละ 5  2.เน้นการตอบโต้ และควบคุมยุงพาหะ โดยหน่วยงานสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการ  3.เน้นการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว โดยผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไข้เลือดออกทุกรายควรได้รับการคัดกรองตรวจวินิจฉัยด้วยชุดตรวจไข้เลือดออกแบบรวดเร็ว (NS1 rapid test) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ  4.เน้นการสื่อสารความเสี่ยง ให้ร้านขายยาและสถานบริการทางการแพทย์งดจ่ายยากลุ่ม NSAIDs หรือยากลุ่มแอสไพริน ให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้เลือดออก เพราะยากลุ่มนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร อาจทำให้เลือดออกได้ และยังทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัวอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น

“ดังนั้นหากรู้สึกไม่สบายเบื้องต้นให้ทานพาราเซตามอลก่อน หาก 3 วันแล้วอุณหภูมิไข้ยังไม่ลดลงควรพบแพทย์ทันที  และขอแนะนำให้ประชาชนทายากันยุงเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไข้เลือดออกสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน รวมทั้งในกลุ่มเด็กซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่พบป่วยมากที่สุด และในกลุ่มผู้สูงอายุที่พบว่าเมื่อป่วยแล้วมีโอกาสเสียชีวิตมากที่สุด หรือหากมีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน” นพ.ธงชัย กล่าว

นอกจากนี้การสื่อสารความเสี่ยงที่เป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐและประชาชนทุกภาคส่วนได้ปฏิบัติตามเพื่อป้องกันไข้เลือดออก การต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกเพื่อหยุดวงจรไข้เลือดออกให้หมดไป และการเห็นถึงคุณค่าของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยนวัตกรรมการป้องกันต่างๆ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ช่วยกันบอกต่อแนวทางการป้องกันไข้เลือดออกให้กับคนใกล้ตัว เพื่อเป็นการกระจายความรู้ออกไปเป็นวงกว้างด้วย

 พญ.ฉันทนา ผดุงทศ

สถานการณ์ไข้เลือดออกในไทย พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวเสริมว่า เนื่องจากในปีนี้มีอากาศที่ร้อนมาก ซึ่งนักกีฏวิทยาทั้งในไทยและต่างประเทศ มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่าเมื่อไหร่ที่อุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณน้ำฝน และความชื้นเพิ่มสูงขึ้น วงจรชีวิตของยุงลายจะสั้นลง ทำให้เกิดการเจริญเติบโตเต็มไวที่เร็ว จึงทำให้มีการเพิ่มจำนวนที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการทิ้งช่วงของฤดูฝนที่ช่วยให้จำนวนยุงเพิ่มขึ้นคือ 1.แม้ฝนจะไม่ตกบ่อย แต่ตกหนักเพียง 1 ครั้งและทิ้งช่วง จะทำให้เอื้อต่อการไข่ของยุงลาย 2.หน้าแล้ง การจัดการภาชนะที่น้ำขังภายในบ้าน อาคารต่างๆ ลดลง เพราะยุงมักอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด ส่งผลต่อการระบาดของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ดังนั้นในปีนี้ช่วง 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน ทำให้ตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงกว่าปี 2566 กว่า 1.4 เท่า แต่หากเปรียบเทียบในเดือนพฤษภาคม ปี 2566 พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดสูงกว่าปี 2567 ในเดือนเดียวกัน

พญ.ฉันทนา กล่าวต่อว่า การเฝ้าระวังหน้าฝนในปีนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน คาดการณ์ว่าอาจจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 1.5 แสนคน จึงตั้งเป้าที่จะควบคุมผู้ป่วยไข้เลือดให้ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน และการควบคุมค่าดัชนีจำนวนยุงอยู่ในระดับต่ำ อาจจะเพราะการรณรงค์เรื่องการจัดการลูกน้ำยุงลายของอาสาสมัครในพื้นที่ และการวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเฝ้าระวังอาการป่วย หากมีไข้ขึ้นสูง 3 วันไม่หายให้รีบไปพบแพทย์ทัน อย่าซื้อยาในกลุ่ม NSAID ทานเอง เพราะอาจจะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เลือดออกเร็วขึ้น

นพ.สุนทร สุนทรชาติ

ด้านพื้นที่กรุงเทพฯ นพ.สุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มลดลง โดยในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม-1 มิถุนายน มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 1,973 ราย เทียบต่ออัตราประชากรแสนคนอยู่ที่ 36% เสียชีวิต 3 ราย และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นราวๆ 19 ราย ทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกพบในกลุ่มเด็ก 5-14 ปี 61.83% รองลงมาคืออายุ 15-34 ปี 57.07%, อายุ 39-59 ปี 27.07% และอายุ 60 ปีขึ้นไป 14.06% ส่วนเขตพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุดอยู่ในแขวงคูหาสวรรค์เขตภาษีเจริญ 17.35% แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต 14.88% และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 12.39% อาจจะเกิดการเคลื่อนย้ายของประชากรอยู่ตลอด บางคนอาจจะเป็นไข้เลือดออกแค่ไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะแพร่กระจายเชื้อได้

นพ.สุนทร กล่าวต่อว่า แนวทางในการรณรงค์ในประชาชนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เนื่องจากสภาพภูมิทัศน์ของกรุงเทพมหานครที่หลากหลายและอาจเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก กทม.จึงดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ชุมชน โรงเรียน และศาสนสถาน โดยการเฝ้าระวังการเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย การสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ชุมชน  การปรับภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม จัดทำ Big Cleaning Day ลงพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และย้ำเตือนแก่ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขทั้ง 50 เขต โดยกรุงเทพฯ ตั้งเป้าว่าภายในปีนี้ผู้ป่วยจะต้องไม่เกิน 7,140 ราย ในปีนี้

ยูจิ ชิมิซึ

ยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ได้ตระหนักถึงภัยร้ายของโรคไข้เลือดออก โดยได้ดำเนินโครงการ GUARD OUR FUTURE ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อปกป้องให้ผู้คนให้ห่างไกลและปลอดภัยจากยุง ซึ่งในส่วนแรกของโครงการได้มุ่งเน้นในการทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันศึกษา โดยในปีนี้คาโอได้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาฟีเจอร์ Mosquito Bite Crowdsourcing ในแอปพลิเคชันรู้ทัน หรือแอปแจ้งเตือนภัยสุขภาพที่อยู่รอบตัว    ซึ่งดำเนินการโดย เนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเข้ามาร่วมช่วยกันรายงานสถานการณ์ของยุงตรงพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ จากการทำงาน หรือทำกิจกรรมใด ๆ ได้จากทั่วประเทศ  โดยข้อมูลการรายงานนี้ จะนำมาช่วยเสริมการตรวจจับการระบาดในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดระดับประเทศ ได้ทำการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงให้ทางกรมควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการแพร่ระบาดจากโรคไข้เลือดออกในวงกว้าง และในส่วนที่ 2 ของโครงการได้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อปกป้องผู้คนให้ห่างไกลจากยุง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สธ. ห่วง ปชช. ช่วงฤดูฝน พร้อมดูแลผู้ป่วยงูพิษกัด ไข้เลือดออกระบาด

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข

ห่วง 'ไข้เลือดออก' ระบาดหนัก ย้ำมาตรการ 3 เก็บ 7 ร.

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

'หมอยง' เตือน 'ไข้ปวดข้อยุงลาย' กำลังระบาดหนักใน กทม.

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคที่นำโดยยุงกำลังระบาดมาก

รัฐบาลเตือนประชาชนระวัง 3 โรคร้าย 'ไข้เลือดออก-ไข้ซิกา-ไข้ปวดข้อยุงลาย' ในช่วงฤดูฝน

รัฐบาลห่วงใยประชาชนเสี่ยงป่วยจากยุงลายในช่วงฤดูฝน แนะปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค “ไข้เลือดออก-ไข้ซิกา-ไข้ปวดข้อยุงลาย”