สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

สถาบันศิลปะนครชิคาโกประสานกรมศิลปากรส่งคืนชิ้นส่วนเสาติดผนังรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะของปราสาทพนมรุ้งอายุกว่า 900 ปี กลับประเทศไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ (Fragment of a Pilaster with Krishna lifting Mount Govardhana) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทปราสาทหิน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ 900 ปี ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลโบราณวัตถุดังกล่าว พบว่า เป็นชิ้นส่วนเสาติดผนังด้านซ้ายของกรอบประตูมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ คาดว่าถูกลักลอบนำออกไปจากประเทศไทยราวปี พ.ศ. 2508 ก่อนที่กรมศิลปากรจะเริ่มโครงการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง

นายพนมบุตร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ดร. Nicolas Revire ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกได้เดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และพบหลักฐานที่เชื่อมั่นได้ว่า เสาติดผนังรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะที่สถาบันฯ ได้รับบริจาคเมื่อปี พ.ศ. 2509 นั้น มาจากปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ สถาบันฯ จึงมีความห่วงกังวลว่า โบราณวัตถุดังกล่าวอาจมีที่มาที่ขัดต่อกฎหมายจึงมีความประสงค์ส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลไทย โดยสถานะปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารทรัพย์สิน (Board of Trustees ) ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกได้อนุมัติให้ถอดโบราณวัตถุรายการนี้ออกจากทะเบียนของสถาบันฯ แล้วตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา และได้ประสานกรมศิลปากรถึงขั้นตอนการเตรียมการส่งคืนสู่ประเทศไทย

" ตนได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทราบในเบื้องต้นด้วยแล้ว โดย รมว.วธ. มีความเห็นว่า แม้โบราณวัตถุดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ในรายการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศ เป็นการเสนอคืนของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยจะได้รับโบราณวัตถุสำคัญกลับคืนมา ซึ่งสามารถนำมาเติมเต็มชิ้นส่วนที่ขาดหายไปของโบราณสถานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกเป็นอย่างยิ่ง ที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณในการครอบครองโบราณวัตถุที่มีที่มาถูกต้อง และความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะให้ความสำคัญในการต่อต้านการค้าโบราณวัตถุที่ผิดกฎหมาย การส่งคืนโบราณวัตถุครั้งนี้ตนถือเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดความร่วมมือของทั้งสองประเทศ หวังว่าสิ่งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกันต่อไป " นายพนมบุตร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

ชมสำรับ'กับข้าวเจ้านาย'ในสยาม

พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน  บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี

ศิลปากร รุดตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณพันปี พร้อมภาชนะดินเผา ขุดพบกลางเมืองโคราช

นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และซากภาชะดินเผา ที่ถูกขุดค้นพบขณะที่ทางเจ้าหน้าที่