'Banpu Academy'มรดกความรู้40ปีผนวกดิจิทัล ตัวอย่าง'ปั้นคน'รับโลกเปลี่ยนแปลง 

 

ในโลกยุคดิจิทัล ส่งผลให้แต่เทรนด์การทำงานของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มคนยุคใหม่   Gen-Z  ที่เริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน  โดยผลสำรวจจาก World Economic Forum ของปีที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า องค์กรต่างๆ มักมองหาคนมาทำงาน ที่มีความสามารถหลากหลายด้านมากยิ่งขึ้น ขณะที่คน Gen-Z  เองก็มีแรงบันดาลใจ สนใจที่จะค้นหาและพัฒนา Skill ใหม่ๆ ให้กับตนเอง ที่สำคัญ คนกลุ่มนี้ยังต้องการให้นายจ้างช่วยพัฒนาทักษะเพิ่มเติมหลากหลายที่ช่วยให้สามารถปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น ทำให้พวกเขามีศักยภาพเพียงพอที่จะผสมผสานความรู้จากหลายสาขา และสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ  ซึ่งส่งผลดีต่อบริษัท และถือว่าเป็นการทำให้หน้าที่การงานของตนเองเติบโต

ด้วยเหตุนี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)ธุรกิจด้านพลังงาน ที่หลากหลายในระดับนานาชาติ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ (Capacity Development) ในนิยาม“คนบ้านปู” อย่างเต็มกำลัง ทั้งในด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพที่มีความหลากหลาย รองรับการขยายตัวและปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพ

สินนท์ ว่องกุศลกิจ ซีอีโอ บ้านปู

สินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า ที่บ้านปูให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคน (Human Empowerment) โดยเฉพาะพนักงานทุกคนที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตขององค์กร เรามุ่งเน้นการเตรียมพนักงานให้พร้อมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Disruptive World) ทั้งการสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) และพัฒนาทักษะเดิมให้แข็งแกร่ง (Upskill) รวมทั้งสร้างทักษะด้านดิจิทัล ผ่าน “สถาบัน” ที่แข็งแกร่งด้วยมรดกของวัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากร และองค์ความรู้ที่รวบรวมมากว่า 40 ปี ภายใต้ชื่อ ‘Banpu Academy’  โดยสิ่งหนึ่งที่บ้านปูได้เปรียบ คือ องค์ความรู้ที่ตกผลึก สู่การพัฒนา “คนบ้านปู” ผ่านการทำงานของหน่วยงาน ‘Banpu Academy’ สถาบันแห่งการเรียนรู้ที่บ่มเพาะความรู้รอบด้านตามความเหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์และเกิดการนำไปใช้งานได้จริง รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ที่มุ่งสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์และโลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสอดรับการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างอย่างยั่งยืน (Sustainable Transition)

แม้ว่าเดิมบ้านปูจะมีหน่วยงานภายใต้สายงานทรัพยากรบุคคล ที่ดูแลการจัดอบรมและพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานอย่างจริงจังมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงที่บ้านปูเริ่มเปลี่ยนผ่านองค์กร (Banpu Transformation) ในช่วงปี 2561 ซึ่งมีการใช้กรอบการทำงานที่เรียกว่า “Triple Transformation” ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ (Business), การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี (Technology) และ การเปลี่ยนผ่านด้านทรัพยากรบุคคล (People) เพื่อทำให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานมีส่วนสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านองค์กรเป็นอย่างมาก บ้านปูจึงเริ่มผนวกหน่วยงาน People Capability Development หรือ การพัฒนาศักยภาพพนักงาน กับหน่วยงานด้าน Digital เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถ จากนั้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนก่อตั้งเป็น Banpu Academy อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2565

“บ้านปู นับเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด (Lifelong Learning Organization) หน่วยงาน Banpu Academy คือปลดล็อกความสามารถของพนักงานและส่งเสริมให้พวกเขาเติบโต ซึ่งเมื่อทุกคนพัฒนาตนเองและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันองค์กรให้ไปสู่เป้าหมาย ในอนาคต พวกเขาก็จะสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ ไปคิดต่อยอด หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อเดินหน้าเป็นผู้ให้สังคมและสร้างประโยชน์ต่อโลกใบนี้ต่อไป” สินนท์ กล่าวทิ้งท้าย

จรียา เชิดเกียรติศักดิ์

จรียา เชิดเกียรติศักดิ์  Head of Banpu Academy กล่าวว่า  ‘Banpu Academy’ ถือเป็นสถาบันปลดล็อกศักยภาพคนบ้านปู ที่มีกว่า 6,000 คน ใน 9 ประเทศ และปรับเปลี่ยน Mindset ให้ทุกคนเชื่อว่าสามารถพัฒนาและเติบโตหากพยายามและตั้งใจ และเป็นแหล่งรวมศาสตร์มาไว้ในที่เดียว ทั้ง มรดกความสำเร็จ (Legacy of Success) ที่รวบรวมเอาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตของบ้านปู หยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างการแก้ไขปัญหาจริง องค์ความรู้ (Knowledge) ในด้านต่างๆ รอบด้าน ทั้ง Hard Skill ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเฉพาะทาง และ Soft Skill เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และความเป็นมาอย่างยาวนาน (Longevity) ที่เราสั่งสมมากว่า 40 ปี

คอร์สอบรมต่างๆ ที่ Banpu Academy พัฒนาขึ้นมานั้นมีความหลากหลายเพื่อเสริมทักษะให้แก่คนบ้านปูอย่างรอบด้านและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน ซึ่งคอร์สการอบรมต่างๆ เหล่านั้นล้วนมีเอกลักษณ์ (Uniqueness) ตามสไตล์ของ Banpu Academy ที่แตกต่างจนโดดเด่น  หลักสูตรที่อบรม หลักๆมี   Resolution Design มีการออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับธุรกิจที่หลากหลาย และสามารถประยุกต์รองรับการขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจในอนาคต อีกทั้งส่วนของ Coaching & Mentoring 

“เราเลือกใช้โค้ช (Coach) มาจากภายในและภายนอก โดยเฉพาะภายในคือพนักงานที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้พนักงานด้วยกัน หรือที่เรียกว่า “พี่สอนน้อง”จรียา กล่าว

Business Case เป็นอีกเนื้อหาที่อบรม โดยมีการยกตัวอย่างการบริหารโครงการ การทำแบบจำลองทางธุรกิจเชิงปฏิบัติการที่ถูกบันทึกจากประสบการณ์กว่า 4 ทศวรรษของบ้านปู ซึ่งถูกสอนกันรุ่นต่อรุ่นจากเอกลักษณ์ในการออกแบบและพัฒนาคนบ้านปู ที่มีมาอย่างจริงจังต่อเนื่องและสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพพนักงานของ Banpu Academy ที่ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่างๆ มากมาย อาทิ Employee Experience Awards 2024 และ “NEWS Compass®️ Global Award – Excellence in Coaching and Mentoring”  ซึ่งเป็นรางวัลองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงาน ในระดับสากล

“หนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของ Banpu Academy คือ International Business Leader Program (IBLP) หลักสูตรที่คัดสรรผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความสามารถจากหลากหลายหน่วยธุรกิจของบ้านปูใน 9 ประเทศ มาเข้าร่วมการอบรมแลแชร์ค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านธุรกิจและเทคโนโลยี เพื่อติดอาวุธให้กับผู้นำรุ่นใหม่และเตรียมความพร้อมให้พวกเขาได้กลายเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จในอนาคต ซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือผู้บริหารที่มีศักยภาพเหล่านี้ ได้รับโอกาสเติบโตในตำแหน่งงานได้จริง”จรีพรกล่าว

นิติ พิทักษ์ธีระธรรม

ด้านนิติ พิทักษ์ธีระธรรม Country Head – Japan หนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ของบ้านปูที่เคยเข้าร่วมหลักสูตร IBLP ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลธุรกิจของบ้านปูในประเทศญี่ปุ่น เล่าประสบการณ์ว่าก่อนหน้านี้ดูแลงานในส่วนการขยายการลงทุนในญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายคือเป็นผู้อำนวยการของหน่วยงาน และไม่เคยนึกถึงการขึ้นมาสู่ตำแหน่งนี้ จนกระทั่งมีโอกาสได้พูดคุยกับ CEO ในขณะนั้น ท่านบอกให้ปรับวิธีคิดใหม่ ตั้งเป้าให้สูงที่สุดที่คิดว่าจะเป็นไปได้ และอย่ายอมแพ้ “Aim high, and never give up” จึงลองเปิดโอกาสให้ตัวเอง ประกอบกับการเข้าโปรแกรม IBLP ของบริษัทฯ ได้ช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามความคิดที่คิดว่า เป็นไปไม่ได้ เริ่มปรับตัว ทำความเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันได้มากขึ้น รวมถึงการได้องค์ความรู้ต่างๆ จากรุ่นพี่ผู้บริหารระดับสูงที่มาโค้ช (Coaching) และตนเองได้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้ในการทำงาน ทำให้ได้รับความไว้วางใจมาดำรงตำแหน่งนี้

“หนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้มาถึงจุดนี้คือความเป็นสถาบันของบ้านปู ช่วงแรกผมรับตำแหน่ง มีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ในองค์กรที่ช่วยสอนงาน ทำความเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การดูแลสัญญาต่างๆ จนกลายเป็นผู้มีส่วนร่วมโครงการสำคัญๆ ของบ้านปูมากมาย แม้จะมีอุปสรรคในช่วงแรก เช่น วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ยึดตามกระบวนการเป็นหลัก แต่เราก็พยายามพูดคุยกันให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากันแต่ใช้เวลาที่น้อยกว่า นับเป็นอีกความสำเร็จหลังจากการได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้” นิติ กล่าว

—————–

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิมพ์ภัทรา' ประกาศรัฐหนุนเต็มที่ย้ำไทยพร้อมเป็นฮับแบตเตอรี่อีวี

“พิมพ์ภัทรา” หารือกับคณะผู้บริหารจากบ้านปูและเอส โวลต์ ย้ำนโยบายรัฐหนุนการลงทุนผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในไทย มุ่งเป้าผลักดันไทยเป็นฮับผลิตแบตเตอรี่อีวีของอาเซียน

การศึกษาไทยในยุคดิจิทัล ยุคสมัยเปลี่ยนไป...แต่ทำไมระบบการศึกษาไทยยังเหมือนเดิม

คำว่า “การศึกษา” หมายถึง วิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมาย ความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมา ให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง