พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถือเป็น Soft Power ที่ถูกหยิบยกขึ้นมา กระตุ้นเศรษฐกิจ เหตุนี้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดนิทรรศการเรื่อง “เมนูสำรับกับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” เจาะลึกเมนูสำรับเจ้านายในวังผ่านการจัดแสดงหนังสือ ตำรา เอกสารโบราณ ภาพประกอบ และสื่อมัลติมีเดียที่เกี่ยวกับอาหารชาววัง หรือที่เรียกว่า ‘กับข้าวเจ้านาย’ เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมแสดงถึงความประณีตและวิจิตรบรรจงแบบไทยผ่านอาหาร
นิทรรศการนี้จัดแสดงเรื่องราวขนบธรรมเนียมการกินของเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์ รวบรวมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ไล่เรียงไปจนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น แกงมัสมั่นเนื้อ ยำใหญ่ หรุ่ม ล่าเตียง ลุดตี่ เกสรลำเจียก เรไร จ่ามงกุฎ เครื่องคาวหวานที่ปรากฎในวรรณคดี กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, แกงหัวปลากับใบมะขาม ลูกชุบเมล็ดแตงโม ข้าวแช่ชาววัง กับข้าวในสมัยรัชกาลที่ 4
เมนูข้าวบุหรี่ของเสวยทรงโปรดในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังเป็นอาหารยอดนิยมในหมู่เจ้านาย รวมถึงสำรับที่ปรากฎบนพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ที่ทรงพรรณนาถึงพระกระยาหารไทยที่ทรงประกอบพระกระยาหารไทยด้วยพระองค์เองหลายครั้ง ซึ่งปรากฎในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน ทรงเสวยอะไรเมื่อไกลบ้าน หาคำตอบได้จากนิทรรศการนี้
ส่วนชุดพระกระยาหารในรัชกาลที่ 6 ทั้งสวยงามและเรียบง่าย แกงเผ็ดเนื้อ ปลาเค็มชุบไข่ทอด แกงจืดเกาเหลา น้ำพริกผักต้มกะทิ ผักสดต่างๆ ขาดไม่ได้ยำไข่ปลาดุก เมนูเครื่องเคียงทรงโปรด กะเพาะปลาทอดกรอบจิ้มน้ำพริกเผา เครื่องหวานที่จัดถวายอย่างฝอยทอง กระท้อนลอยแก้ว ลิ้นจี่สดกับเยลลี่ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์เห่ชมเครื่องว่าง อาหารไทยที่นิยมกินกันในหมู่สังคมชนชั้นสูงหลังมื้อกลางวัน เห่ชมเครื่องว่าง เช่น ข้าวต้มเนื้อนก ไม่เป็นรู้จักแพร่หลายนัก ถือเป็นอาหารรสชาติดีใครได้ทานไม่ลืมจานนี้แน่นอน สำรับทรงโปรดรัชกาลที่ 7 ข้าวแช่ ขนมจีนน้ำพริก ยำเกสรชมพู่ และโปรดทำน้ำพริกกะปิด้วยพระองค์เอง ,บุยยาแบส เมนูทรงโปรด เป็นอาหารฝรั่งเศส นำอาหารทะเลมาปรุงรวมกัน
นิทรรศการยังจัดแสดงสูตรอาหารพระราชทานจากรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปี มีพระราชจริยวัตรงดงาม ทรงห่วงใยพสกนิกรเหมือนแม่ห่วงใยลูก ทรงดูแลอภิบาลพระเจ้าลูกเธอใกล้ชิด โปรดให้เสวยอาหารตามหลักโภชนาการอย่างเหมาะสม บางครั้งพระองค์ทรงคิดเมนูขึ้นเอง เช่น ผัดเล่าปี่ อุดมด้วยธาตุอาหารบำรุงสุขภาพ หรือเมนูไข่พระจันทร์ การทอดไข่ดาวแล้วนำข้าวสวยวางทับบนไข่ดาวแล้วพลิกกลับมาคล้ายมีพระจันทร์อยู่กลางข้าว เรื่องราวสำรับร้อยเรียงถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี การทำเครื่องเสวยถวายในหลวง ร.9 ขณะประทับต่างแดน
นอกจากเมนูสำรับในราชสำนักแล้ว ภายในนิทรรศการนี้ยังโชว์เรื่องราวตำรับอาหารของเจ้านายและบุคคลที่เคยรับใช้ใกล้ชิดหรือมีสายสัมพันธ์กับราชสำนัก ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาการปรุงอาหารและนำมารวบรวมเป็นตำราอาหารเผยแพร่ในเวลาต่อมา เช่น ตำรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ที่คนไทยน่าจะคุ้นหู แต่ไม่เคยเห็นของจริงมาก่อน แวะมาชมได้ที่นี่ อีกทั้งตำรับของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ ผู้ซึ่งได้รับวิชาการปรุงอาหารจากพระวิมาดาเธอ พระองค์สายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ตำรับของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล เป็นต้น
ภายในนิทรรศการยังจัดแสดงหนังสือเกี่ยวกับตำราอาหารชาววัง และตำราอาหารพระราชทานเช่น ตำรากับข้าวฝรั่ง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตำรากับข้าววังบางขุนพรหม ครัวสระปทุม พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สนใจชมสำรับกับข้าวเจ้านายนิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2567 ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ ณ ห้องวชิรญาณ 2 – 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า
วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน
13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด
มั่นใจวัดไชยวัฒนารามรอดน้ำท่วม
5 ก.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการประชุมเตรียมแผนรับมือสถานการณ์น้ำร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวานนี้ ซึ่งกรมชลประทานได้แจ้งการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อรองรับปริ
กำชับดูแลโบราณสถานลุ่มเจ้าพระยา หวั่นน้ำท่วม
28 ส.ค.2567 -น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รับน้ำภาคเหนือที่ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากหน่วยงานในสังกัด โดยกำชับดูแลพื้นที่โบราณสถานกับศาสนสถาน และพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม
24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา