จัดอันดับมหาวิทยาลัยยั่งยืน 'ม.มหิดล' ครองอันดับ 1 ในไทย

จากการจัดอันดับระดับโลกอย่าง Impact Rankings 2024 ครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นโดย Times Higher Education’s(THE ) ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ทั้ง 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ เป็นอีกส่วนที่ทำให้มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นให้ความสนใจเรื่อง SDGs และเกิดแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม รวมถึงเป็นกระตุ้นนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักและขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ล่าสุด THE  ได้ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงาน Global Sustainable Development Congress (GSDC) ประจำปี 2567 ปีที่ 3 ที่จัดครั้งแรกที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ภายในงานได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกของ THE Impact Rankings 2024 ได้แก่ อันดับที่ 1  Western Sydney University(Australia) รองลงมาคือ University of Manchester(United Kingdom) University of Tasmania(Australia) ตามลำดับ ในส่วนมหาวิทยาลัยไทยมีทั้งหมด 77 แห่ง ที่ได้ถูกจัดอยู่อันดับ โดย ม.มหิดล คือมหาวิทยาลัยอันดับสูงสุดของประเทศไทยในประเภทโดยรวม อยู่อันดับที่ 19 ซึ่งม.มหิดล มีความโดดเด่นใน 5 เป้าหมายของSDGs ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 3, 7, 14, 15 และ 17  และจุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 43

ในส่วนอันดับที่ 50-300 ได้แก่ ม.เชียงใหม่ อันดับที่ 75, ม.ธรรมศาสตร์ อันดับที่ 81, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ม.เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และม.วลัยลักษณ์ ทั้ง 6 แห่งอยู่ในอันดับที่ 101–200 และม.สงขลานครินทร์ อยู่ในอันดับที่ 201–300 นอกจากนี้ประเทศไทยนับว่ามีมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดอยู่ในอันดับถึง 77 แห่ง ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11 แห่ง เพิ่มขึ้น17% และยังสามารถทำตามเป้าหมายของ SDGs ได้ถึง 15 ข้อจากทั้งหมด 17ข้อ

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยไทยที่ครองตำแหน่งสูงสุดใน 17 เป้าหมายของ SDGs ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1  ม.ขอนแก่น อยู่อันดับที่ 34, เป้าหมายที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย อยู่อันดับที่ 12, เป้าหมายที่ 3 ม.มหิดล อยู่อันดับที่ 3, เป้าหมายที่ 4 ม.เชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 15, เป้าหมายที่ 5 ม.เชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 18,  เป้าหมายที่ 6 ม.วลัยลักษณ์ อยู่อันดับที่ 55, เป้าหมายที่ 7 ม.มหิดล อยู่อันดับที่ 29, เป้าหมายที่ 8  ม.สงขลานครินทร์ อยู่อันดับที่ 25, เป้าหมายที่ 9  จุฬาฯ  อยู่อันดับที่ 23, เป้าหมายที่ 10สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย อยู่อันดับที่ 201-300, เป้าหมายที่ 11 ม.ธรรมศาสตร์ อยู่อันดับที่ 51,  เป้าหมายที่ 12 ม.เกษตรศาสตร์ อยู่อันดับที่ 86, เป้าหมายที่ 13สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 101-200, เป้าหมายที่ 14 ม.มหิดล อยู่อันดับที่ 27, เป้าหมายที่ 15 ม.มหิดล อยู่อันดับที่ 63, เป้าหมายที่ 16 ม.ธรรมศาสตร์ อยู่อันดับที่ 19 และเป้าหมายที่ 17 ม.มหิดล อยู่อันดับที่ 5

Phil Baty

 Phil Baty, Chief Global Affairs Officer ของ THE กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษา เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืน และเป็นเรื่องที่ THE ให้ความสำคัญทั้งสถาบันอุดมศึกษาและความยั่งยืน  ซึ่งการจัดงาน GSDC ในไทยสะท้อนให้เห็นถึงผลงานในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่มีความมุ่งมั่นในการทำเรื่องความยั่งยืนอย่างโดดเด่น โดยส่วนของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการจัดอันดับ Impact Rankings 2024 มีกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศต้น ๆ ของโลกหรือเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางด้านการศึกษาที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ช่วยสนับสนุนโลก และประเทศในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และมีความชัดเจนในการทำเรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะความโดดเด่นด้านงานวิจัยและการทำงานเชิงพื้นที่ โดยการจัดอันดับจะมีเกณฑ์ประเมินความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. การวิจัย (Research) 2.การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ(Stewardship) 3.การบริการวิชาการ (outreach) และ 4.การเรียนการสอน (teaching) ซึ่งการจัดอันดับในปีนี้มีมหาวิทยาลัยกว่า 220 แห่งในเอเชียที่เข้าร่วม โดยประเทศมีมหาวิทยาลัยถึง 77 แห่งที่ติดการจัดอันดับในปีนี้

“ซึ่งในการประเมินแต่ละมหาวิทยาลัย ไม่เกี่ยวกับขนาดหรือชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย แต่จะเน้นผลงานด้านความยั่งยืนเพื่อรองรับความหลากหลายของแต่ละมหาวิทยาลัย แม้ว่าในเป้าหมายของ SDGs จะมีถึง 17 ข้อ ไม่ได้หมายความว่ามหาวิทยาลัยจะต้องทำทุกข้อ แต่สามารถทำในสิ่งที่ถนัดและเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับชุมชน หรือนโยบายของรัฐ ทั้งนี้การประเมินไม่เพียงแค่ดูในส่วนของงานวิชาการ แค่ยังต้องมีการประเมินแนวทางการฏิบัติด้านความยั่งยืนว่ามีการลงมือทำจริงหรือไม่ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน ชุมชน ภาครัฐ เพื่อให้ครอบคลุมในทุกมิติ จึงแตกต่างจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเภทอื่น ดังนั้นประโยชน์ในระยะยาวที่เห็นได้ชัดคือ มหาวิทยาลัยจะมีการปรับตัวเพื่อพัฒนางานวิจัยให้ตอบโจทย์ในพื้นที่ชุมชนมากยิ่งขึ้นในด้านความยั่งยืน”  Phil กล่าว

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า  ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในด้าน SDGs สะท้อนให้เห็นความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยไทยทางด้านนี้ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยในประเทศมีต้นทุนการทำงานร่วมกับพื้นที่ชุมชนเยอะมาก ดังนั้นเมื่อมีการจัดอันดับด้านความยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงผ่านเกณฑ์ติดอันดับมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืนค่อนข้างเยอะ ในส่วนที่ อว. ได้เข้าไปสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้ตรงตามเป้าหมาย SDGs มากยิ่งขึ้น ในเกณฑ์ประเมินความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน 4 ข้อ ของ THE เชื่อว่ามหาวิทยาลัยของไทยมีครบทุกข้อ แต่ก็ยังมีจุดอ่อนในด้านงานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่ไม่สามารถแปลงให้งานวิจัยที่มีอยู่ไปสู่ระดับสากลได้ ไม่เพียงแค่เรื่องภาษา แต่ยังรวมไปถึงคอนเทนต์ และกระบวนการทำวิจัยที่ยอมรับในระดับสากล

ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวต่อว่า ประโยชน์ที่มหาวิทยาลัยได้รับจากการจัดอันดับ Impact Rankings  ด้านความยั่งยื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสสังคมระดับโลก ดังนั้นมหาวิทยาลัยที่ให้ความตระหนักในเรื่องนี้ ก็มีแนวโน้มที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความใส่ใจต่อโลก สิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมต่างๆ จากการสำรวจในต่างประเทศ พบว่าเด็กไทยมีความเข้าใจเรื่องของ SDGs เกิน 80% สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผลพ่วงจากบ่มเพาะในสถาบันศึกษา และเป็นผลอันดีต่อการทำงานในอนาคตของนักศึกษาด้วย

สำหรับงาน GSDC ได้จัดนิทรรศการที่รวบรวมมหาวิทยาลัยและสมาคมชื่อดังมากมายจากประเทศไทยและทุกทั่วมุมโลกที่มาร่วมแสดงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนกว่า 3,000 คน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม ที่ได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและร่วมดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับโครงงานต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การวิจัย นวัตกรรม และการขยายงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ของสหประชาชาติ และโอกาสเสริมสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำแผนงานที่ประสบความสำเร็จ และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม พร้อมนำเสนอโครงการที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้สามารถเข้าดูผลการจัดอันดับฉบับเต็มที่ Impact Rankings 2024 Results.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

มหิดลตั้ง'ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล' คุมศูนย์ตรวจสอบ สารต้องห้ามในนักกีฬา

ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการรับรองจาก องค์การต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาชุดใหม่ เรียบร้อยแล้ว

ม.มหิดล จับมือ IRPC ร่วมผลักดันงานวิจัยเทคโนโลยีการแพทย์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 - มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือทางวิชาการ