รายงานพิเศษความจริงและความเร่งด่วน ของสถานการณ์เด็กนอกระบบในประเทศไทย จัดทำขึ้นจากการประมวลงานวิจัย องค์ความรู้และข้อค้นพบในพื้นที่การทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ67 ภาคีทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2562 – 2567 และเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) รายงานถึงสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดของของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกพื้นที่ ซึ่งจังหวัดที่มีจำนวนเด็กและเยาวชนที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษาสูงสุด อันดับหนึ่งคือ กรุงเทพมหานคร (137,704 คน) อันดับ 2 จังหวัดตาก (65,371 คน) และอันดับสาม คือ จังหวัดเชียงใหม่ (36,888 คน) ซึ่งสาเหตุมาจากความยากจนมากที่สุด (ร้อยละ 46.70) รองลงมาคือ มีปัญหาครอบครัว (ร้อยละ 16.14) ออกกลางคันถูกผลักออก (ร้อยละ 12.03)
ถ้าประเทศไทยสามารถยุติปัญหา โดยทำให้เยาวชนนอกระบบการศึกษา กลายเป็นศูนย์ได้ (Zero Dropout) จะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 1.7 ของ GDP เนื่องจากรายได้ตลอดชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นของเด็กและเยาวชนที่มีการศึกษาสูงขึ้น
แนวทางหนึ่งที่จะนำเด็กนอกระบบให้กลับเข้าสู่การเรียน ก็คือ “การศึกษายืดหยุ่น” ซึ่งเป็นการศึกษาที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน ล่าสุด เคเอฟซี ซึ่งนับว่าเป็นเอกชนรายแรก ที่ร่วมกับ กสศ.ในการแก้ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา พร้อมกับสร้างหลักสูตรการเรียน ที่มีความยืดหยุ่นและตอบโจทย์ชีวิตเด็ก เพื่อสนับสนุนให้เด็กได้ค้นหาศักยภาพและพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นอาชีพได้ ภายใต้โครงการ KFC Bucket Search โดยมอบโอกาสให้เด็กได้เลือกการเรียนที่เหมาะสมกับตนเองแบบยืดหยุ่น ทั้งด้านเวลาและวิชาเรียน ผ่านทางเลือก Work & Study หรือหลักสูตรวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการของแต่ละคน ช่วยให้พวกเขาสำเร็จการศึกษาและพึ่งพาตนเองได้
ห้องเรียนเคเอฟซี และสร้างหลักสูตรนอกกรอบ หรือ “หลักสูตรทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ” เพื่อปลดล็อกกำแพงต้นทุนชีวิตให้กับเด็กไทย โดยเป็นการนำร่องการศึกษายืดหยุ่นที่เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านการทำงานและเรียนไปพร้อมกัน เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทำงานกับเคเอฟซี รวมถึงได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่งานหลังร้านไปจนถึงงานบริการ ตัวอย่างวิชาเรียน เช่น ด้วยใจรักนักบริการ ที่จะเรียนรู้เรื่องของงานบริการในร้านอาหาร รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ หรือวิชาจักรวาลภาษาในโลกธุรกิจเพื่อให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นในการทำงาน และที่พิเศษอีกวิชาของเคเอฟซีคือ ตัวตึงวงการอาหาร และปรมาจารย์ด้านการครัว ที่จะทำให้เข้าใจมาตรฐานการทำสินค้าให้อร่อยถูกสุขลักษณะในทุกคำ
ภัทรา ภัทรสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริหารแบรนด์เคเอฟซีบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด และประธานมูลนิธิเคเอฟซี กล่าวว่า เปิดเทอมนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เคเอฟซีจึงริเริ่มหลักสูตร KFC ทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ โดยเป็นเอกชนแบรนด์แรกในการนำร่องการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และมีเด็กเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อมอบโอกาสให้เด็กได้เลือกเรียนตามความสนใจและความเหมาะสมของตัวเด็กเอง
หลักสูตรที่KFC สร้างขึ้นมาตอบโจทย์ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ภัทรากล่าวว่า โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว การเลือกเรียนควรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ใช้ประสบการณ์จริงในการเรียนรู้ จะทำให้เด็กๆค้นพบศักยภาพที่เขามี ซึ่งอาจจะมีความโดดเด่นและมีศักยภาพสูง ทักษะที่น้องๆ จะได้จากการเรียนรู้การทำงานในร้านKFC จะทำให้เขาได้มากกว่าการเรียนในห้อง ได้เรียนรู้ระบบต้นทุน กำไร ทำอย่างไรถึงจะทำให้ร้านมีกำไร เรียนรู้เรื่อง อาหารปลอดภัย ระดับGlobal รู้จักสังคมภายในร้านและการทำงาน หรือระบบ Post office ที่ให้โอกาสน้องที่อยากเป็นมากกว่าพนักงาน
” โดยช่วงแรกเราจะรับเด็ก 300 คน เข้าร่วมโครงการนี้ ขณะที่ปี 2566 เรารับเด็กเข้าโครงการKFC Bucket Search 130 คน นับเป็นการมอบโอกาสที่สองให้กับ น้องๆที่หลุดจากระบบการศึกษา ด้วยเหตุผลต่างๆ และโครงการนี้ ยังเป็นไปตามแรงบันดาลใจของผู้พันแซนเดอร์ส ที่เคยเป็นเด็กนอกระบบ ไม่ได้รับการศึกษาอย่างจริงจังมาก่อน แต่พอได้รับโอกาส ก็ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เราจึงเลือกแคมเปญKFC Bucket Search ที่หมายถึงโอกาสการค้นหาเพื่อน้องๆจะได้ค้นพบตัวเอง โดยเด็กที่เข้าโครงการไม่จำเป็นต้องมีศักยภาพพร้อมเพรียง แต่เป็นการค้นพบตัวตนของเขาเอง ในแบบที่เขาเลือกว่าเขาอยากจะเป็นอะไร ” ผอ.ฝ่ายการตลาดบริหารแบรนด์เคเอฟซีกล่าว
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมจัดการศึกษาควบคู่กับการทำงานให้แก่เด็กนอกระบบ เป็นหนึ่งในมาตรการหลักของ Thailand Zero Dropout โดยกสศ.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบ และนับเป็นครั้งแรกที่เราสำรวจเพื่อให้ตัวเลขจริงของเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา มีการเทียบเคียงกับทะเบียนบ้าน และข้อมูลจากอีกหลายหน่วยงานกว่าจะได้ตัวเลขมา ซึ่งการที่เรามีเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาทั้งหมดประมมาณ 10 ล้านคน แต่มีเด็กหลุดจากระบบไป 1 ล้าน เท่ากับ 10% ของเด็กที่มีอยู่ ถือว่าเป็นสัดส่วนไม่น้อย และมีความหมายต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เพราะนับวันประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงเรื่อยๆ คาดว่าปีค.ศ.2040 จะมีเด็กเกิดใหม่ปีละประมาณ 5แสนคน สังคมก็จะเหลือแต่คนแก่ ทั้งที่เราตั้งเป้าพยายามหลุดพ้นจากความเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ จะเสี่ยงมากที่เราจะเป็นประเทศที่แก่ก่อนรวย
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องท้าทายมากที่จะทำใหืเด็กหลุดจากระบบลดลง หรือเหลือประมาณ 2-3แสนคนในปี 2570 โดยการนำเด็กหลุดจากระบบมาเข้าสู่ระบบการศึกษายืดหยุ่น และพัฒนาให้เขากลายมาเป็นกลุ่มคนที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เป็นที่มาทำให้กสศ.จับมือร่วมกับเคเอฟซี ซึ่งเป็นเอกชนรายแรกที่ให้ความร่วมมือ ทั้งที่มองหาความร่วมมือจากเอกชนมานาน เนื่องจากภาคเอกชนมีความสามารถที่เข้มแข็งกว่าภาครัฐในการเชื่อมโยงระหว่างโลกของการศึกษากับโลกของการทำงาน จากการวิจัยสำรวจของกสศ. ในกลุ่มเด็กนอกระบบ 35,003 คน ทั่วประเทศ พบว่า เด็กประมาณร้อยละ 50 มีความต้องการได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพและสนับสนุนการประกอบอาชีพที่โดดเด่นขึ้นมา แสดงถึงแรงจูงใจภายในที่เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพมากกว่ามุ่งเป้าหมายไปที่การได้รับการศึกษาแต่ไม่ตอบโจทย์ชีวิต
“หลักสูตรการศึกษาใหม่ที่ KFC ได้ร่วมพัฒนาขึ้น จึงถือเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ชีวิต รวมถึงเป็นรูปธรรมสำหรับครูในโลกยุคใหม่ ทำให้ทุกคนที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ สามารถเป็นครู เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ KFC ยังเป็นแบรนด์ที่เด็กๆชื่นขอบ อยู่ในใจของเด็ก จึงคิดว่าโครงการน่าจะได้รับความสนใจจากน้องๆ ที่ไม่ได้หวังเรียนให้ได้วิชาการ อย่างเรียนในโรงเรียนแต่ต้องการหาประสบการณ์ความรู้นอกห้องเรียน หรือได้สิ่งที่เรียกว่าสมรรถนะ ทางการศึกษาจริงๆ “ดร.ไกรยศกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯตื่น! สั่ง'กสศ.' อัดฉีดเงินช่วยเหลือเด็กนักเรียนหลุดจากระบบ
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคั
ไม่ทิ้งเด็กเดินทางผิด ไว้ข้างหลัง! ผุดศูนย์เรียนรู้ ทักษะอาชีพ เปิดประตูชีวิตใหม่
“กสศ”.เปิดงานแนวรุกทางการศึกษา ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จับมือกรมพินิจฯ เจาะกลุ่มเด็กในกระบวนการยุติธรรม สร้างโอกาสทางการศึกษา เปิดเส้นทางชีวิตใหม่ ผุดศูนย์เรียนรู้ในศูนย์ฝึกอบรมฯ ทั่วประเทศ เผยตัวเลขเด็กกลับไปทำผิดซ้ำลดลงต่อเนื่อง
'เศรษฐา' คุย กสศ. ผนึกแสนสิริตั้งกองทุนการศึกษาเด็กลดเหลื่อมล้ำ บอกเสียใจไม่มีบริษัทอื่นทำต่อ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง ให้การต้อนรับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีที่ได้รับตำแหน่ง และหารือเกี่ยวกับการทำงานของ กสศ.
3 หน่วยงาน ‘กสศ.-พอช.-บพท.’ จับมือแก้ปัญหาความยากจน-ลดความเหลื่อมล้ำ
อาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพฯ / วันนี้ (9 ธันวาคม) มีประชุมหารือแนวทางการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ
รัฐบาลอวดผลงานลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา!
รัฐบาลเผย 3 ปี กสศ.ใช้งบ 2.18 หมื่นล้านช่วยเหลือนักเรียนยากจนกว่า 3 ล้านคน/ครั้ง เผยอัตราการเข้าเรียนสูงขึ้น ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นรายบุคคลตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา