'หัวเว่ย'เสริมแกร่ง'ดิจิทัลไทย'  ก้าวสู่'เส้นทางสายไหมใหม่'ไปด้วยกัน

ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรผู้มีทักษะสูงทางด้านดิจิทัล จากข้อมูลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม(ค.ศ.2018-2037) คาดว่าในปีพ.ศ. 2570 ประเทศไทยมีความต้องการบุคลากรด้านดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 6แสนคน ในจำนวนนี้ มีความต้องการเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอไม่ต่ำกว่า 30,000  คน หรือต้องการผู้มีทักษะด้านดิจิทัลระดับสูงระดับ 6%+ ของจำนวนประชากร

กราฟฟิกแสดงไทยขาดแคลนบุคลากรดิจิทัล 


ขณะที่สภาพการณ์ที่้เป็นจริงในปัจจุบัน ไทยมีผู้มีทักษะดิจิทัลระดับสูง เพียง 1% ของประชากร เทียบกับประเทศมาเลเซียที่มี11% อินโดนีเซีย 4% ด้านผู้ใช้งาน(Users)ที่มีทักษะดิจิทัลระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทยมีจำนวน16% มาเลเซีย 49 %และอินโดนีเซีย 45 % ส่วนทักษะดิจิทัลระดับพื้นฐานเมื่อเทียบกับประชากร ไทย 68% มาเลเซีย 32% อินโดนีเซีย 29%ของประชากร

เดวิด ลี ซีอีโอ หัวเว่ย ประเทศไทย


ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างบุคลากรด้านดิจิทัล ด้วยเหตุนี้   บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงแรงงาน, และเครือข่ายมหาวิทยาลัยรวทถึงองค์กรชั้นนำในประเทศไทย จัดงานมหกรรม ‘Thailand Digital Talent Summit and Job Fair: Building Talent Hub for a Digital, Intelligent, and Green Thailand’ ภายใต้แนวคิด ‘สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ทั้งบุคลากรจากภาครัฐ, สถาบันการศึกษา, และภาคอุตสาหกรรม โดยการประชุมสุดยอดครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในด้านการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล และสร้างโอกาสทางอาชีพซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย บนเส้นทางสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ตอกย้ำว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลว่ามีความสำคัญมากโดย “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนากลยุทธ์ 4 ประการสำคัญ ได้แก่สถาบันธุรกิจ (สำหรับระดับผู้บริหาร) เพื่อบ่มเพาะภาวะผู้นำด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารองค์กร, สถาบันเทคนิค (สำหรับระดับนักพัฒนา) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เอสเอ็มอี และนักพัฒนาซอฟต์แวร์, สถาบันวิศวกรรม (สำหรับระดับผู้ประกอบวิชาชีพ) ที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติจริงสำหรับกลุ่มคนทำงาน และประการสุดท้ายคือการลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (สำหรับระดับผู้ใช้งาน) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม

โครงการที่หัวเว่ย เข้ามาพัฒนาทักษะดิจิทัลในไทย 

นายเดวิด กล่าวอีกว่า ในปัจจุบัน หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในไทยไปแล้วกว่า 96,000 คน ซึ่งรวมถึงบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัล 72,000 คน, ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ 8,000 คน, วิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green engineer) 2,000 คน, บุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5,000 คน, เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ 3,500 ราย ทั้งยังจัดการฝึกอบรมให้กับนักเรียนและชุมชนในชนบท 6,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวเว่ยได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งสถาบัน ICT Academy ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยกว่า 42 แห่งทั่วประเทศ

ด้าน นางสวี่ หลาน ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กล่าวปาฐกถาในงานนี้ว่า โลกเราปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีดิจิตอลมีบทบาท ต่อความคิดและพฤติกรรมผู้คนมากมาย เพราะทั้ง เอไอ  IOT  ล้วนแล้วแต่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม และเกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้คนทุกช่วงชีวิตทุกช่วงอายุ นับเป็นการก้าวกระโดดของโลกอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน  เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องส่งเสริมทักษะดิจิทัล และในปี2024นี้ จะเป็นยุคทอง และจุดเริ่มต้นที่ไทยกับจีน จะร่วมกันสร้าง”เส้นทางสายไหมใหม่ หรือ  Belt and Road  initiative ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และเรามีภาระกิจร่วมกันที่จะทำให้เกิดผู้ที่มีทักษะดิจิตัลระดับสูง โดยประเทศจีนมีประสบการณ์มากมายในการฝึกอบรมบุคลากรด้านดิจิทัล และยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์นี้ให้กับประเทศไทยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ทั้งในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบุคลากร ผ่านการเสริมสร้างการเรียนรู้แบบดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ การฝึกงาน การจ้างงาน และการบ่มเพาะผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรมและการศึกษาที่จะสามารถบ่มเพาะบุคลากรข้ามสายงานที่มีคุณภาพสูง

นางสวี่  หลาน ที่ปรึกษาวัฒนธรรม สถานฑูตจีนในประเทศไทย

“โครงการเส้นทางสายไหมใหม่เกิดขึ้นได้จริง เพราะการศึกษาซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนภาคอุตสาหกรรมถือว่าเป็นเวทีแสดงความสามารถทางการศึกษา งานสัมนาในวันนี้จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับจีนและไทยในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและการฝึกอบรมบุคลากร ยิ่งไปกว่านั้น พวกเราจะสามารถสร้างฉันทามติ ร่วมกันผสานพลัง เพื่อเชื่อมโยงและส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาในเชิงลึก ในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนและประเทศไทย”ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ฯ กล่าว

ศาสตราจารย์เหริน เทา กู้ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการวิชาการ รองคณบดี School of Future มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (Beijing University of Posts and Telecommunications – BUPT) ซึ่งเป็นท็อป3 ด้านมหาวิทยาลัยสารสนเทศในประเทศจีน กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลนำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน เพราะจีนมีทั้งอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยตรง และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไปสู่ระบบดิจิทัล ขณะที่ เอไอก็มีการเติบโตมาก โดยเอไอ มาควบคู่กับเศรษฐกิจดิจิทัล  เอไอจึงเป็นตัวเปลี่ยนแปลงการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องให้ความรู้นักศึกษา ที่ถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับอนาคตได้  เราจึงจำเป็นต้องมีการปฎิรูปการศึกษา  ต้องมีการเรียนข้ามสาขาอาชีพ ข้ามมหาวิทยาลัย ทำลายกำแพงขีด ดังนั้น มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) จึงมีกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ การขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ การเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด การผสานรวมองค์ประกอบ และนวัตกรรมการปฏิบัติจริง

ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว.

ด้านนางสาวศุภมาส อิศรภักดี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กล่าวถึงความร่วมมือในมหกรรม Thailand Digital Talent Summit ว่า ในนามกระทรวงอว. ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อบ่มเพาะศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กระทรวง อว.มีภารกิจสำคัญคือการสร้างกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลที่กลายเป็นหัวใจสำคัญและเป็นพื้นฐานการพัฒนาของโลกยุคนี้ในทุกๆ มิติ เราพร้อมผนึกกำลังกับหัวเว่ยเพื่อผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลและนโยบายการวิจัยที่ออกแบบโดยเฉพาะในการจัดหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”