วงการสถาปัตยกรรมสูญเสีย ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ กำหนดสวดพระอภิธรรม 3 วัน ที่วัดธาตุทอง สวธ.มอบเงินช่วยเหลือ-จัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงาน
6 มิ.ย. 2567 – นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 สิริอายุ 86 ปี โดยทายาทแจ้งว่า จะมีพิธีรดน้ำศพ วันที่ 7 มิถุนายน 2567 เวลา 16.00 น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 น. ณ ศาลา 26 วัดธาตุทอง พระอารามหลวง เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โดยกำหนดพิธีฌาปนกิจศพ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 14.00 น. ณ เมรุหน้า วัดธาตุทอง พระอารามหลวง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตนและนางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธาน กรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม โดยกลุ่มสวัสดิการ ศิลปินแห่งชาติฯ ดำเนินการจัดสวัสดิการช่วยเหลือ ดังนี้ คือ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพ 3,000 บาท และค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท ด้วย
สำหรับประวัติชีวิตและผลงานของนายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันอายุ 86 ปี ส้าเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นายฤกษ์ฤทธิ์ ศิลปินผู้คร่ำหวอดในงานสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์มากว่า 60 ปี เริ่มต้นการทำงาน โดยการเป็นสถาปนิกฝ่าย Interior Design บริษัท โรเจอร์ คอปอเรชั่น จำกัด ตั้งแต่ยังศึกษาที่คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2503 ภายหลังสำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2504 จึงได้ประกอบอาชีพสถาปนิกอย่างเต็มตัวต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ผลงานชิ้นแรกที่เป็นแรงจูงใจและมีส่วนให้นายฤกษ์ฤทธิ์ สนใจและสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบ และตกแต่งภายใน (Interior Design) เป็นหลัก คือ การออกแบบตกแต่งงานแสดงสินค้า U.S. TRADE CENTER ซึ่งสร้างชื่อเสียงและท้าให้นายฤกษ์ฤทธิ์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ผลงานในอดีตที่ภาคภูมิใจอันเปรียบเสมือนใบเบิกทาง ในการก้าวสู่งานออกแบบและตกแต่งภายในให้กับโรงแรมต่างๆ ในเวลาต่อมา นั่นก็คือการออกแบบตกแต่งห้องจัดเลี้ยง โรงแรม PRESIDENT ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงแรมที่หรูที่สุดในกรุงเทพมหานครขณะนั้น ผลงานสถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์ต่างๆ ที่นายฤกษ์ฤทธิ์ ออกแบบและตกแต่งนั้น มีเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นผลงานที่ได้รับการ ยอมรับทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ เนื่องจากในการสร้างงาน นายฤกษ์ฤทธิ์ จะศึกษาและเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างละเอียด แล้วดึงจุดเด่นออกมาก่อนที่จะวางแนวความคิดในการก่อสร้าง มีผลงานการออกแบบและตกแต่งภายในที่สำคัญ ได้แก่ โรงแรมในประเทศ อาทิ โรงแรมเดอะ รีเจนท์ (เดิมคือ โรงแรมเพนนินซูล่า) โรงแรมสยามอินเตอร์คอน ติเนนทัล โรงแรมมณเฑียร โรงแรมเอราวัณ โรงแรมในต่างประเทศ อาทิ โรงแรม HOTEL BOROBUDUR INTERCONTINENTAL ประเทศอินโดนีเซีย โรงแรม THE REGENCY INTERCONTINENTAL BAHRAIN ประเทศ บาห์เรน โรงแรม HOTEL INTER CONTINENTAL MANILA ประเทศฟิลิปปินส์ โรงแรม DUBAI INTERCONTINENTAL HOTEL สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ HOTEL INTERCONTINENTAL SEOUL สาธารณรัฐ เกาหลี เป็นต้น
นอกจากโรงแรมแล้ว ยังได้ออกแบบและตกแต่งภายในให้แก่หน่วยงาน ห้างร้านต่าง ๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานใหญ่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ส้านักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ถนน พหลโยธิน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สปอร์ตซิตี โปโลคลับของราชกรีฑาสโมสร มหาวิทยาลัย เซาท์ อีสท์ เอเซีย พระต้าหนักนนทบุรี และบ้านพักอาศัยของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นจ้านวนมาก นายฤกษ์ฤทธิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องหมายเกียรติคุณของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ และเกียรติบัตรแก่ผู้มีการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างคุณปการแก่ สังคมวิชาชีพ และสาธารณะเป็นที่ประจักษ์ประจำปี พ.ศ. 2551 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับรางวัลชนะการประกวดแบบ (การออกแบบตกแต่งภายใน ทั งหมด) ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ชนะการประกวดออกแบบห้องโถงธนาคาร ธนาคารกสิกร ถนนพหลโยธิน และชนะการประกวดออกแบบ สถาปัตยกรรมภายในทั้งหมด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส้านักงานใหญ่
นอกจากนี้ ยังเคยได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย 2 สมัย และเป็นรองประธานสภาสถาปนิก ฝ่ายสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ปัจจุบันนอกจากการเป็นสถาปนิกแล้ว ท่านยังเป็นวิทยากรผู้บรรยาย และอาจารย์พิเศษถ่ายทอดความรู้ให้แก่นิสิต และนักศึกษาในหลายสถาบัน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) พุทธศักราช 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ
21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562 นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี”
อาลัย! สิ้น 'เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา' ศิลปินแห่งชาติ ราชานวนิยายลึกลับสยองขวัญของไทย
แฟนเพจ "ตรี อภิรุม" แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "อ.เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2562
'น้าหงา' เขียนถึง ฝรั่งนักล่าอาณานิคม ปล้นชิงเอาสิ่งมีค่า กระทบต่อโลกอย่างไม่คาดไม่เห็นมาก่อน
น้าหงา สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า คิดๆเขียนๆไปงั้นแหละครับ ในยุคล่าอาณานิคมที่คนส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเอ
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ประกาศเกณฑ์รับเงินอุดหนุนงานวัฒนธรรมปี68
28 ก.ย. 2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรม