'ดร.อนันต์' เผยเทคโนโลยีใหม่ ตรวจหาเชื้อโควิด ยังตกค้างในร่างกายหรือไม่ แต่กลับพบประโยชน์มหาศาล

5 มิ.ย.2567- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะยังตกค้างในร่างกาย แต่กลับค้นพบว่ามีประโยชน์มากกว่าที่คิด ดังนี้

ทีมวิจัยของ UC Davis กำลังพัฒนาวิธีการตรวจวัดโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 ที่หลงเหลืออยู่ในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อเป็นการวินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยที่เป็นอยู่นั้นเป็นอาการของ Long COVID ที่ไวรัสยังกำจัดออกไม่หมดไปจากร่างกาย และ ยังทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆขึ้น เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า ImmunoPET-CT ซึ่งทำงานโดยการถ่ายภาพร่างกายของผู้ป่วยที่ฉีดแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัสเข้าสู่ร่างกาย โดยแอนติบอดีดังกล่าวมีสารชื่อว่า radiotracer ให้เครื่องสามารถตรวจจับสัญญาณได้ โดยเครื่องสามารถอ่านสัญญาณได้ไวและแปลผลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งสามารถทราบตำแหน่งที่พบโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัสในร่างกายผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ
เทคโนโลยีนี้ออกแบบมาใช้กับโควิดก็จริง แต่สามารถใช้ได้กับไวรัส หรือ โปรตีนอื่นๆได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วย HIV ที่ไวรัสไปแอบอยู่ในร่างกายที่ยากมากๆจะหาเจอ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถตรวจับหาไวรัสที่แอบอยู่และอาจจะถูกกำจัดหมดออกจากร่างกายผู้ป่วยได้

งานนี้เพิ่งตีพิมพ์ใน Nature Communications นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็ง หรือ Alzheimer’s ที่การตรวจวินิจฉัยในปัจจุบันยังทำได้ยาก ก็อาจจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เช่นกัน ถ้าทำได้ดังที่คาดไว้จริงๆจะถือว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนเกมอีกหนึ่งชิ้นทีเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระ' เผยโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 เริ่มแพร่มากขึ้น!

'หมอธีระ' เผยโควิด สายพันธุ์ BA.2.86 เริ่มพบมากขึ้น ชี้อาจมีดีพอตัวและมีแนวโน้มปรับสมรรถนะแกร่งขึ้น เตือนดูแลตัวเองบนความไม่ประมาท เพราะ Long COVID ก็มีข่าวผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ

'นพ.ธีระ' เตือนอย่าเพิ่งประมาทโควิด19 พึงระลึกบทเรียนที่ผ่านมา

หมอธีระชี้ BA.2.86 จะกระจายไปทั่วโลก ย้ำโควิด19 ยังไม่สามารถประมาทได้ เตือนเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ทำในสิ่งที่ควรทำ และระลึกถึงบทเรียนที่ผ่านมา

พบข้อมูล ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ถ้าติดเชื้อ ฝีดาษลิง พบเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง 27%

อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)