มรดกทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมอันหลากหลายของประเทศไทย ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวที่ชวนเพลิดเพลินและความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ถือเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรรมที่สำคัญของประเทศ มรดกวัฒนธรรมเหล่านั้นยังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนแต่ละท้องถิ่น สร้างความเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจในหลายด้าน เป็นสิ่งที่ควรค่าการแก่ดูแลรักษาไม่ให้ถูกทำลายและต่อยอดให้เข้ากับสังคมยุคใหม่
ปีนี้มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย จะกลับมาจัดยิ่งใหญ่อีกครั้ง เป็นมหกรรมที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มุ่งหมายนำวัฒนธรรมไทยมาสืบสาน รักษา และต่อยอดสู่มิติใหม่ๆ ให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สุดาวรรณ ศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า วธ. มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมของไทยสนับสนุนมิติทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม และขับเคลื่อน Soft Power การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมุ่งยกระดับมหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นระดับชาติ เพื่อเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก รวมทั้งสร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเกิดสำนึกรักท้องถิ่น วธ.จึงจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ประจำปีงบประมาณ 2567 ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ จ.สงขลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก และภาคกลางและภาคตะวันออก จ.พระนครศรีอยุธยา
สำหรับพื้นที่แรกภาคใต้ จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” วันที่ 27 มิ.ย. – 1 ก.ค. ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา ภายในงานมีการแสดงโนรา รำโนราถวายพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 หนังตะลุง การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้านและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด การแสดงผลงานศิลปะ โดยสมาคมศิลปินนานาชาติภาคใต้ เสวนาทางวิชาการ โนรา/หนังตะลุง เสวนา เรื่อง วิถีวัฒนธรรมสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร นิทรรศการมีชีวิตโนราและวิถีชีวิตชุมชนสงขลาในอดีต นิทรรศการวาดเส้น ชุด“เรือนพื้นถิ่นรอบลุ่มเลสงขลา” เยี่ยมชมหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯสงขลา กิจกรรมนวดเพื่อสุขภาพ
ถัดมาแดนอีสาน งานมหกรรมวิถีถิ่น วิถีไทย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมอีสานสร้างสรรค์” จัดที่ลานศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จ.นครราชสีมา วันที่ 18-22 ก.ค. มีการแสดงจากศิลปินพื้นบ้านและกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน 20 จังหวัด การจัด Graffiti on Street บริเวณถนนจอมพล Street Art and Food และ Lighting & Sound ลิ้มลองอาหารของดีโคราช การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอีสาน
ภาคเหนือ จัดงานมหกรรมวิถีถิ่น วิถีไทย “ร่วมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” วันที่ 16-20 ส.ค. ณ พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก ตระการตากับการแสดงแสง เสียง ละครอิงประวัติศาสตร์ “เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” รับชมโขน การแสดงดนตรี และศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้านกลุ่ม 17 จังหวัดภาคเหนือ และเครือข่ายวัฒนธรรม เดินเล่นถนนสายวัฒนธรรม “เลียบวัดเคียงวัง” กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ การแสดงและการสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน บริการนวดแพทย์แผนไทย และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ถ่ายรูปจุดเช็คอินทุ่งไฟประดับ ชวนแต่งกายย้อนยุค
ส่วนภาคกลางและตะวันออก จัดมหกรรมวิถีถิ่น วิถีไทย “ศาสตร์ศิลป์ตระการตา เลอค่ามรดกวัฒนธรรม” วันที่ 22 – 26 ส.ค. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จ.อยุธยา มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกรมศิลปากร ศิลปินพื้นบ้านและกลุ่มจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออก 25 จังหวัด สาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วิถีชาววัง และสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออก
งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทยทั้ง 4 ภูมิภาคที่ใกล้เข้ามานี้ รมว.วธ.ย้ำทำให้คนไทยแต่ละภาคแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเสริมพลังความเข้มแข็งของสถาบันหลักของชาติ ช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชน สนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีพื้นที่ในการนำเสนอคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมไทย เพิ่มบทบาทหน่วยงานวัฒนธรรมในพื้นที่เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและท้องถิ่นให้เป็นที่รับรู้กว้างขวาง ทำให้เด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนได้เรียนรู้ สืบสานนำทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์พัฒนาคุณภาพชีวิต
มหกรรมวัฒนธรรมเป็นอีกโอกาสให้ผู้คน วัฒนธรรม และมรดกท้องถิ่นแสดงศักยภาพที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศของเราต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงวัฒนธรรม เชิญชวนประชาชนสวดมนต์ข้ามปี
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวถึงกิจกรรมช่วงปีใหม่ของกระทรวงวัฒนธรรม ว่ามีกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งคิ
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ