ภาพอาหารน่ากินและเมนูสุดอร่อยที่ทุกคนคุ้นเคย ไม่ว่าจะส้มตำปลาร้ากุ้งสดนัวๆ ข้าวขาหมูหนังฉ่ำ เนื้อนุ่ม บะหมี่หมูแดงเส้นเหนียวนุ่ม เกี๊ยวคำโต หรือกุ้งเผาน้ำจิ้มแซบซี๊ด เมนูสุดฟิน ที่เหล่านักศึกษาจิตรกรรมเพาะช่างบรรจงวาดภาพอาหารในรูปแบบเหมือนจริง เชื่อว่าผู้ชมได้เห็นแล้วต้องเกิดอาการหิวอย่างแน่นอน เตรียมจัดแสดงใน นิทรรศการความงามในความเหมือน ครั้งที่ 8 Food & Pollution ชูธีม “รสชาติที่คงอยู่” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน แหล่งเรียนรู้ด้านงานศิลปะร่วมสมัยย่านราชดำเนินที่สำคัญบนเกาะรัตนโกสินทร์
ผลงานสีน้ำมันชุด “ความงามในความเหมือน” เป็นฝีแปรงของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำมันโดยจัดองค์ประกอบศิลป์ แสดงรายละเอียดของผลงานให้เหมือนจริงดังที่ตามองเห็น ซึ่งเป็นงานทัศนศิลป์ในรูปแบบเหมือนจริง (Realistic) ที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย
เหล่าศิลปินรุ่นเยาว์ต่างเลือกใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะ ร่องรอยฝีแปรงจัดเจนต่างกันไป ถือเป็นกระบวนการถ่ายทอดงานศิลป์ นำเสนอเรื่องราวของรสชาติที่คงอยู่ในอาหารแต่ละจาน ทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม แซบนัว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอาหารที่ดึงดูดให้ผู้คนสามารถเลือกกิน เพื่อสนองความต้องการที่หลากหลาย ทั้งคนในเมืองและคนในท้องถิ่นต่างๆ
นอกจากภาพวาดสวยเต็มไปด้วยสุนทรีย์ เหมือนจนทำให้น้ำลายสอแล้ว เหล่านักศึกษารุ่นใหม่ได้เชิญชวนผู้ชมพินิจพิจารณาพฤติกรรมการบริโภคอาหารในปัจจุบัน ถูกเปลี่ยนแปลงโดยความเร่งรีบของวิถีชีวิตในสังคมไทย ทำให้พลาสติกถูกนำมาใช้ในการห่อหุ้มอาหาร เป็นภาชนะที่พบเจอตามร้านค้าและวิถีสตรีทฟู้ด ทั้งกล่องพลาสติกใส่อาหาร ช้อนส้อม จานชามพลาสติก ถุงร้อน ซึ่งมีความสะดวกเหมาะกับการใช้งาน ที่สำคัญตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การบริโภคของคนในสังคม แต่อีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า แฝงด้วยภัยอันตราย สร้างขยะพลาสติกมหาศาล หากขยะพลาสติกไม่ได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ภาพอาหารและผลงานการถอดแบบ ( Reproduction ) รวมกว่า 50 ชิ้น ที่คนรักงานศิลปะจะได้ชื่นชม เป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนภาควิชาวิจิตรศิลป์ ของสถาบันการศึกษาศิลปะที่เก่าแก่แห่งนี้ การเรียนการสอนเน้นการฝึกปฏิบัติคนรุ่นใหม่ในเรื่องการใช้เทคนิคและทฤษฎีการเขียนสีน้ำมันเพื่อสร้างผลงานที่สมบูรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานขั้นพื้นฐาน ซึ่งการเปิดแสดงผลงานเป็นอีกเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ร่วมสมัย พ้นกรอบของการสร้างสรรค์แบบเดิมได้อย่างน่าสนใจ ปูทางสู่การเป็นศิลปินมืออาชีพบนเส้นทางศิลปกรรมในโอกาสต่อไป ตลอดจนเผยแพร่ผลงานที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองให้เป็นที่รับรู้ต่อสังคมในวงกว้าง
ภาพอาหารที่เหล่านักศึกษานำเสนอ กระตุ้นให้ผู้ชมรับรู้ เร้าความรู้สึกตามสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการกินในปัจจุบัน เตรียมพบกับนิทรรศการความงามในความเหมือน ครั้งที่ 8 Food & Pollution ชูธีม “รสชาติที่คงอยู่” กำหนดจัดแสดงระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2567 ณ ห้องปฏิบัติการ 1 และ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวสู่ 77 ปี ศิลปินครูผู้ยิ่งใหญ่ ปรีชา เถาทอง
เปิดนิทรรศการศิลปะอันทรงคุณค่า สร้างสรรค์โดย ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ภายใต้ชื่อ"โครงการอนุรักษ์สืบสานต่อยอดปณิธานในหลวง ร.10 ชุดบูชาครูเหม เวชกร เพาะช่าง ศิลปากร และวัดโพธิ์ ก้าวเข้าสู่ 77 ปี ปรีชา เถาทอง"
5 งานอาร์ตจัดเต็มที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ
ใครอยากเพลิดเพลินใจกับงานศิลปะที่คัดมาแล้วว่าสุดเจ๋ง! ต้องแวะไปที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอาร์ตสเปซที่ตอบโจทย์ทั้งสายอาร์ตและมือสมัครเล่นหัดดูงานศิลปะใจกลางเกาะรัตน์โกสินทร์ ซึ่งเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ชวนมาเสพอาร์ตยาวๆ
'พินิจ' ปลื้มศิลปะสุดล้ำ อุปรากรจีนเปลี่ยนหน้ากาก มรดกวัฒนธรรมเสฉวนโชว์วันตรุษจีน
ที่วิทยาลัยเพาะช่าง เขตพระนคร กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ร่วมกับ สภาวัฒนธ
ผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี
ครบ 80 ปี ศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี จัดใหญ่จัดเต็มขนผลงานศิลปะสุดล้ำค่ามาจัดแสดงให้คนรักงานศิลปะชื่นชมผ่านนิทรรศการ “ผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน งานแสดงเดี่ยวครั้งนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 ก.พ.2567
มทร.รัตนโกสินทร์ ร่วมรับเสด็จ กรมสมเด็จพระเทพฯ พร้อมเข้ารับรางวัลงานวิจัยแห่งชาติ 66
มทร.รัตนโกสินทร์ ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Exp
หอศิลป์ร่วมสมัยใช้เทคโนโลยีให้ประสบการณ์ใหม่
รอบเกาะรัตนโกสินทร์มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเปิดบริการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาตร์และศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน พิพิธภัณฑ์ย่านพระนครภายในอาคารประวัติศาสตร์