'ProPak Asia 2024'ยกระดับเทคโนฯส่งออกอาหารไทย

อุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในยุทธศาสตร์หลักของประเทศมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศ. 2566 ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก ปรับตัวดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 15 ของโลกในปี 2565 ส่วนอันดับที่ 1 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ บราซิล เนเธอร์แลนด์ และจีน ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ระดมความคิดดันสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไทย รักษาตำแหน่งลำดับต้นผู้ส่งออกอาหารโลก

การส่งออกอาหารไทย จึงมีความสำคัญ ในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ และควรค่าแก่การส่งเสริมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จึงร่วมมือจัดงาน ProPak Asia 2024 ครั้งที่ 31 ภายใต้แนวคิดว่า ยกระดับความสําเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรมและการลงทุน (Empowering Sustainability Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์  พร้อมกับสร้างจุดแข็งเพิ่มมูลค่าสินค้าของไทย โดยใช้ 4 หัวใจหลัก ได้แก่ การวิจัยเพื่อพัฒนา ศึกษาเข้าใจตลาด นำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ใช้ในการผลิตและเพิ่มความรู้ อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรม

ทั้งนี้ คาดว่า ProPak Asia 2024 จะมีผู้เข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 2,000 ราย จาก 45 ประเทศ มีพาวิลเลี่ยนจากต่างประเทศร่วมจัดแสดงถึง 10 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และไต้หวัน  โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า จากบทบาทหน้าที่ในการนำวิจัยมาช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการสร้าง Soft Power ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร โดยมุ่งหวังที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารของไทยในเวทีโลก ส่วนที่สำคัญคือการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแปรรูป เพื่อรักษาความสดและรสชาติของอาหารและผลไม้ที่เป็นจุดเด่นของประเทศ โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร ที่ต้องมีความปลอดภัย ซึ่งต้องแปรรูปภายใต้คุณภาพมีมาตรฐานรองรับต่างๆ ที่ทั่วโลกยอมรับ และปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า ความยั่งยืน มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภค อย่าง บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องสามารถนำไปรีไซเคิลหรือรียูสได้ เพื่อลดขยะพลาสติกในโลก ซึ่งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารมีโอกาสเติบโตเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับโลก โดย วว.การสนับสนุนมีทั้งการให้ความรู้ พัฒนาทักษะ การเสนอโอกาสให้ภาคเอกชนทำธุรกิจร่วมกับภาครัฐ การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

ดร. เจริญ แก้วสุกใส

ด้าน ดร. เจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ปีพ.ศ.2566 มีมูลค่าอยู่ที่ 1.55 ล้านล้านบาท และคาดว่าในปีนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 6.5% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.65 ล้านล้านบาท ส่วนการส่งออกในเอเชีย อันดับที่ 1 ได้แก่ จีน ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เบียดกันระหว่างประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย เพราะทั้ง 2 ประเทศมีขนาดประเทศที่ใหญ่กว่าไทย ทำให้มีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ไทยเพิ่มมูลค่าด้านอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป  ซึ่งภาพรวมแนวโน้มการเติบโต ของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร เครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์  มีโจทย์ว่าสำคัญว่า ทำอย่างไรถึงจะพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของไทยให้สูงขึ้นได้

“โดยผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเรียนรู้ปรับตัวให้สอดคล้องกับการผลิตที่พัฒนาขึ้น มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานที่จะยกระดับให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานสูงขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนทั้งด้านพลังงานและการผลิต แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ มีความยืดหยุ่นทำให้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นผู้ประกอบต้องกล้าที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่หรือรูปแบบใหม่ เพื่อนำเสนอต่อตลาดที่เปิดกว้างอยู่ตลอดเวลา โดยใช้ข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายของวัตถุดิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร หรือ Soft Power รูปแบบเฉพาะของไทยนำมาเพิ่มมูลค่าต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีเอกลักษณ์ได้อีกเป็นจำนวนมาก”ดร.เจริญกล่าว

ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา

ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารระดับโลก เพราะมีการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศไทย 70% และส่งออก 30% ซึ่งตลาดโลกเป็นตลาดใหญ่มีมูลค่าและกำลังซื้อมหาศาล แต่ขณะนี้กำลังประสบกับภาวะเศษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ระดับราคาสินค้ามีผลอย่างมากต่อการติดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งในฝั่งผู้ผลิตก็ต้องเผชิญกับความท้าทายของราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามการครองส่วนแบ่งตลาดต้องศึกษาแนวโน้มและพฤติกรรมการบริโภคเป็นอย่างดี เพื่อนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการ มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภคได้ และต้องดูเรื่องของเทรนด์ทั้งในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ที่จะช่วยตอบโจทย์การผลิตอาหารของไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อผู้สูงวัย รวมไปถึงอาหารสำหรับเด็กทารก แม้ว่าอัตราการเกิดจะชะลอตัว แต่คนที่มีลูกจะทุ่มเทในการดูแลลูก หรือในกลุ่มคนโสด คนที่มีคู่แต่ไม่อยากมีลูก จะหันไปเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว ก็จะอัตราการผลิตอาหารสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น

การจัดแสดงเทคโนโลยีในการผลิตบรรจุภัณฑ์

ส่วนสถานการณ์การส่งออกไทยในไตรมาส 1 ปีพ.ศ.  2567 ดร.วิศิษฐ์ กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารอยู่ที่ 3.7 แสนล้านบาท เติบโต 2.79% โดยกลุ่มสินค้าเกษตรอาหาร มีมูลค่าส่งออก 1.75 แสนล้านบาท เติบโต 8% ซึ่ง 5 อันดับแรก คือ ข้าว เติบโต 49% สินค้าไก่ เติบโต 6% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว -17% ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หดตัว -13% สินค้ากุ้ง เติบโต 23% ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าส่งออก 1.97 แสนล้านบาท หดตัว -1.6 %  โดย 5 อันดับแรก คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เติบโต 9.5% น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล หดตัว -33% อาหารสัตว์เลี้ยง เติบโต 26% ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เติบโต 12% เครื่องดื่ม เติบโต 11% สำหรับ 5 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าอาหารและเครื่องดื่มคาดว่าจะมีมูลค่าราว 6.2-6.5 แสนล้านบาท และทั้งปี 2567 คาดว่ามูลค่าอาหารและเครื่องดื่มจะมีมูลค่าราว 1.55 – 1.6 ล้านล้านบาท หรือเติบโตราว 3 % เมื่อเทียบกับปี 2566

สรรชาย นุ่มบุญนํา ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า งาน ProPak Asia ปีนี้มีความแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา โดยการเพิ่มคอนเทนต์เพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้น อาทิ การผลิตยุคใหม่นั้น มีทิศทางการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มศักยภาพ อาทิ การใช้ IoT (Internet of Things) มาช่วยติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมกระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบและพลังงาน ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องจักรและโรงงานอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robot) ช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจัดการ ฯลฯ การใช้ AI (Artificial Intelligence) ในการควบคุม ปรับปรุงกระบวนการผลิต การทํางานประมวลผล ตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพวัตถุดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต ประสิทธิภาพเครื่องจักร จําลองกระบวนการผลิต ทดสอบและปรับปรุงกระบวนการโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรจริง ฯลฯ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 10% หรือ กว่า 2,000 ราย จาก 45 ประเทศ ทั้งนี้ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐมีนโยบายที่จะให้ไทยเป็นครัวโลกในการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นนํ้าในภาคเกษตรกรรม การแปรรูปและส่งออก พร้อมพัฒนาเป็นศูนย์กลางความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

บรรยากาศงานปีก่อนๆ

สำหรับกิจกรรมภายในงาน  ProPak Asia 2024 ประกอบด้วย  8 โซนจัดแสดง ประกอบด้วย 1. Processing Tech Asia 2. Packaging Tech Asia 3. Drink Tech Asia  4. Pharma Tech Asia 5. Lab&Test Asia 6. Packaging Solution Asia 7. Coding, Marking & Labelling Asia 8. Coldchain, Logistics, Warehousing & Factory Asia พบกับไฮไลท์ อาทิ การสัมมนาจาก วว. ที่น่าสนใจอีก 5 หัวข้อ ได้แก่ การประเมิณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์, มาตรฐานสากลสำหรับพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การยืดอาหารและการประเมิณอายุการเก็บด้วยบรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์, การตั้งค่าและการใช้ความไม่แน่นอนเป้าหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการทดสอบ รวมถึงการให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับธุรกิจเริ่มต้นที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมอาหาร, สัมมนาGlobal Packaging Forum 2024 โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก กว่า 20 ท่าน มาพูดถึงทิศทางในอนาคตของบรรจุภัณฑ์ในทุกมิติและทุกประเภทบรรจุภัณฑ์, โซน I-Stage เวทีที่รวบรวม ความริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุนสําหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) สินค้าอุปโภค บริโภค, ProPak Gourmet เวิร์คช็อปและสาธิตการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และFuture Food Corner พื้นที่แลกเปลี่ยนแนวคิดระบบอาหารแห่งอนาคต เป็นต้น

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน ProPak Asia 2024 ในระหว่างวันที่ 12–15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สอบถามรายละเอียดและลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฯ ได้ที่ www.propakasia.com

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หอการค้าฯปลื้ม FTA ไทย-EU สำเร็จ เชื่อดึงบริษัทข้ามชาติย้ายฐานผลิต

หอการค้าฯมั่นใจ FTA ไทย-EU ดึงบริษัทข้ามชาติย้ายฐานผลิตมายังภูมิภาคที่มั่นคงสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจไทยคาดลงนามได้เดือน ม.ค.68

ภาคเอกชนพบ 'นายกฯ อิ๊งค์' ชงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ถาม 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

หอการค้าไทยรุดพบ 'นายกฯอิ๊งค์' เสนอแผน-มาตรการกระตุ้น ศก. 3 ระยะ ชี้สิ่งสำคัญความชัดเจนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เชื่อมั่นเสถียรภาพรัฐบาล แนะกระทรวงเศรษฐกิจฟังเสียงภาคเอกชน

สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯ ชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาท

สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท

'เศรษฐา' จ้อนักลงทุนสหรัฐ ลั่นไทยพร้อมเปิดรับการลงทุน

นายกฯ จ้อนักลงทุนสหรัฐ ลั่นไทยพร้อมเปิดรับการลงทุน ไม่มีเวลาไหนดีไปกว่านี้อีกแล้ว พร้อมโชว์วิสัยทัศน์ Ignite Thailand เชื่อมโยงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจสองประเทศไปอีกระดับ

อินเตอร์แมค - ซับคอนไทยแลนด์ 2024 เปิดแล้ว ใหญ่จริง จัดเต็ม เทคโนโลยี นวัตกรรม สัมมนาเปิดทางรอดอุตสาหกรรมไทย

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ สานต่อความร่วมมือรัฐ-เอกชนกว่า 40 หน่วยงาน เดินหน้าจัดงาน อินเตอร์แมค - ซับคอนไทยแลนด์ 2024 ปูพรมจัดแสดงเทคโนโลยี