จากจุดเริ่มต้นการระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เข้ามาปักหมุดผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยใช้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ที่เป็นบริษัทผลิตยาของคนไทยเป็นผู้ผลิตวัคซีน ต่อสู้วิกฤตการระบาดในช่วงดังกล่าว และหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงแล้ว ล่าสุด บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงสานต่อภารกิจหลายด้านในประเทศไทย ล่าสุด ได้ร่วมกับ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH) ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนแห่งแรกของไทยมีอายุไม่ต่ำกว่า 126 ปี โดยลงนามกรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรโดยทีมสหวิชาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma”การนำ “โดยการนำนวัตกรรม” ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV” ที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส RSV และ “นวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล” เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับการดูแลโรคระบบทางเดินหายใจให้ทันสมัยตามมาตรฐานสากลรวมทั้ง ยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในไวรัส RSV และ โรคหืด พร้อมดูแลผู้ป่วยด้วยทีมแพทย์มืออาชีพอย่างครบวงจร
นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ Frontier Markets เปิดเผยว่า การติดเชื้อไวรัส RSV และโรคหืดเป็นโรคที่มีความรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช จึงได้ร่วมลงนาม กรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma” โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ อีกทั้งยังพัฒนาความร่วมมือในการนำ “นวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล” และ “นวัตกรรมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV” ที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อไวรัส RSV ระดับรุนแรงในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในช่วง 2 ขวบปีแรกอีกด้วย
กรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่แนวทางการรักษา การปฏิบัติตัว การป้องกันโรค พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามารับการปรึกษา อันเป็นเป้าหมายของการรักษาอย่างแท้จริง และยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการดูแลรักษาแบบองค์รวมโดยสหสาขาวิชาชีพที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยให้การดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงและมีความแม่นยำกับผู้ป่วยแต่ละรายให้มากที่สุด เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างเครือข่ายการส่งต่ออย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ในงานวิจัยและสื่อความรู้ประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษาแก่ผู้ป่วยทุกช่วงวัยและผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กเล็กด้วย
นายแพทย์นพรัตน์ พานทองวิริยะกุล ผู้บริหารโรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า กรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma” มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดครบวงจรโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นอย่างมาก โดยการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจากไวรัส RSV เป็นสาเหตุหลักในการนอนโรงพยาบาลของเด็กเล็กในช่วงขวบปีแรก มีการระบาดหนักในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม หรือช่วงฤดูฝน สำหรับการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงทารกนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหืดในวัยเด็กได้ โดยความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัส RSV ด้วยเช่นกัน ซึ่งเด็กที่ปลอดการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรกมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกต่ำกว่าเด็กที่เคยติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรก ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาโรคเป็นอย่างมาก
ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โภชนกูล ผอ.ฝ่ายวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ รพ.บีเอ็นเอช และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ และหอบหืด กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส RSV คือ เด็กเล็ก กลุมเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กเป็นโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เด็กที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด หรือเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ ขณะที่ในกลุ่มผู้ใหญ่ หากเป็นโรคหอบหืด มักใช้ยาพ่นควบคุมอาการ แต่หากมีอาการุนแรงโดยในช่วง 5 ปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคหอบหืด รวม 6,000 คน ที่สำคัญคนเป็นโรคหอบหืด ต้องหลีกเลี่ยงที่จะได้รับไวรัสRSV เพราะจะทำให้มีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ส่วนการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV ที่แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมมือกับรพ.บีเอ็นเอช นำร่องการใช้ ศ.ดร.พญ.อรพรรณ กล่าวว่า การให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ถือว่าเป็นการรักษาแบบเฉพาะบุคคล ปัจจุบันเป็นเทรนด์การรักษาทั่วโลก โดยคนไข้แต่ละคนจะมีการวางแผนการรักษาที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะการใช้ยาก็จะพิจารณาว่าคนไข้คนนี้ จะตอบสนองกับยาอะไรได้ดี หรือแม้แต่การใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปโรคRSV ก็ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลด้วยเช่นกัน แต่ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ไม่ใช่วัคซีน แต่เป็นการนำภูมิคุ้มกันเข้าไปใส่ในร่างกาย ภูมิคุ้มกันก็จะเข้าไปจับเชื้อไม่ให้ขยายตัว ทำให้ลดการอักเสบ และไม่ให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ส่วนการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป RSV จะต้องฉีดทั้งหมด 5เข็ม แต่ละเข็มทิ้งห่าง 30 วัน หรือต้องฉีดเดือนละเข็ม และต้องฉีดในช่วงหน้าฝน เพราะไวรัส RSV ในประเทศไทย มักจะระบาดหน้าฝนที่กินเวลาค่อนข้างยาว ดังนั้น เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อายุต่ำกว่า 2ปี เป็นโรคหัวใจ คลอดก่อนกำหนด โรคปอดเรื้อรังกลุ่มนี้ ถ้าเป็น RSVแล้วจะรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูง จึงควรได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปล่วงหน้าได้ เหมือนการฉีดดัก ก่อนที่จะมีการติดเชื้อไวรัส ซึ่งจะทำให้เชื้ออ่อนตัวลง หรือเชื้อหายไป
“หลักการทำงานภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปนี้ เปรียบเสมือนว่าร่างกายสร้างภูมิป้องกันไวรัส RSVเองไม่ได้ จึงต้องนำภูมิภายนอกเข้าไป ส่วนการฉีด 5 เข็ม เพราะหน้าฝนบ้านเรากินเวลานานประมาณ 5เดือน และการที่ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เป็นภูมิจากภายนอกที่เราใส่เข้าไปในร่างกาย พอครบ 30 วัน ภูมิจึงหมดไป แตกต่างจากวัคซีน ที่บางตัวฉีดแล้วจะอยู่กับเราตลอดชีวิต จึงต้องมีการฉีดซ้ำ 5เข็ม แต่เท่าที่ทราบตอนนี้ กำลังมีการพัฒนาวัคซีน ป้องกันโรค RSV ในผู้ใหญ่แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ “
ศ.ดร.พญ. อรพรรณ กล่าวอีกว่า ส่วนการป้องกัน โรคหอบหืดกับภูมิแพ้มีความสัมพันธ์กัน เพราะถ้าเป็นภูมิแพ้จะมีโรคอื่นๆตามมาเป็นชุด การรักษาก็ใช้การรักษาแบบองค์รวม หลังจากนั้น ก็ใช้การฟื้นฟู คนมักคิดว่าเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดจะไม่หาย อย่างตัวหมอเองก็เป็นก็ใช้วิธีการดูแลตนเอง จนตอนนี้ หายจากอาการหอบหืดที่เป็นตั้งแต่เด็กได้แล้ว โดยโรคภูมิแพ้ มีความสัมพันธ์กับอาหาร การออกกำลังกาย การนอน
สำหรับกรอบความร่วมมือฯ ทางโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้วางแผนในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกช่วงอายุ ด้วยการบริการและการให้การดูแลแบบครบวงจรผสานกับความเชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยเฉพาะประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก อีกทั้งการผสานนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการรักษา อาทิเช่น โรคหอบหืดรุนแรง โดยการประเมินเฉพาะบุคคลเพื่อการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และการทำงานเป็นทีมให้การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary teamwork) พร้อมให้การดูแลอย่างครอบคลุม และรักษาอย่างตรงจุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ “Making Health Happen” เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีของคนไทย ชุมชนและโลกอย่างยั่งยืน
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก เปิดตัวแคมเปญ “Making Health Happen”