'คณะช่อพิกุล สุพรรณบุรี' คว้าแชมป์'รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม'ภาคกลาง

คณะช่อพิกุล จ.สุพรรณบุรี แสดงการแข่งเรือ

21 พฤษภาคม 2567-ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต จ.นนทบุรี นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) มอบหมายให้ นางสาววราพรรณ  ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงาน การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2567 “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” (ภาคกลาง) ณ Convention Hall เซ็นทรัล เวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเกิดกระแสอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้แสดงความสามารถ รวมถึงยกระดับขีดความสามารถของดนตรี พัฒนาเทคนิคทางการแสดง ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ  ในการประกวดของแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง

นางสาววราพรรณ กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักในคุณค่าของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งในยุคปัจจุบันแม้การแสดงพื้นบ้านจะถูกรุกโดยสื่อเทคโนโลยีอันหลากหลาย และทำให้คนรุ่นใหม่ละเลยหรือลดความสนใจในการแสดงเหล่านี้ แต่ตนเองเชื่อว่าการแสดงพื้นบ้านแต่ละอย่างมีเสน่ห์และอัตลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป หากได้มีการพัฒนา ฟื้นฟูและปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยก็จะสามารถสร้างความนิยมและสร้างรายได้ำสร้างสรรค์การแสดงเพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่ละเลยและทอดทิ้งซึ่งเอกลักษณ์ดั้งเดิมของการแสดงพื้นบ้าน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะนักแสดงและศิลปินทั้งในปัจจุบันและอนาคตสืบไป 

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวเปิดงาน


“การแสดงรวมศิลป์แผ่นดินสยามที่จัดแสดงแต่ละพื้นที่เป็นปีที่ 6 และ10ปีที่่ผ่านมา เป็นการแสดงแบบแยกประเภท เช่น โนราห์ สะล้อ ซอ ซึง แต่การรวมโดยนำศิลปะการแสดงพื้นถิ่นของตัวเองมาร่วมในกิจกรรมเดียวกัน และดำเนินการประกวด เป็นรวมศิลป์แผ่นดินสยามปีนี้เป็นปีที่ 6 ซึ่งมีการประกวดการแสดงครั้งแรกของปีนี้ที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8พฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมากจากน้องๆ เยาวขนดีมากๆ โดยเราใช้พื้นที่ประกวดในห้างสรรพสินค้า ห้างเซ็นทรัลฯที่เชียงใหม่ หรือเป็นครั้งแรกที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมมือกับห้างฯเซ็นทรัล นำการแสดงพื้นบ้านมาแสดงในพื้นที่ของห้างฯ นับเป็นมิติใหม่การประกวดการแสดงพื้นบ้าน ส่วนหนึ่งยังถือว่าเป็นการทำให้ประชาสัมพันธ์เข้มแข็งขึ้น หรือสร้างกระแสการรับรู้ไปสู่ภาคประชาชนได้กว้างขวางมากขึ้นนั่นเอง “


รองอธิบดี สวธ. กล่าวต่อว่า การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ครั้งที่สองและครั้งที่ สาม อีก 2 ภูมิภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดการประกวดที่จ.อุดรธานี ใน วันที่ 12 มิถุนายน 2567  ณ Convention Hall เซ็นทรัล อุดรธานี   และการประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2567  ณ Convention Hall เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา    

การประกวดระดับภาคกลางนี้มี 5 คณะที่ผ่านการคัดเลือกและเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่1. คณะวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทองจังหวัดอ่างทอง 2. คณะละโว้เทพศิลป์ จังหวัดลพบุรี3.คณะช่อพิกุล (วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบรี) จังหวัดสุพรรณบุรี 4.คณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร และ 5.คณะสืบสานศิลป์ จังหวัดนครปฐม

ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการตัดสิน


เกณฑ์การตัดสินคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านนาฎศิลป์ การแสดงและดนตรีหลายท่าน จะพิจารณาจากแนวคิดการสร้างสรรค์เนื้อหาการแสดง 20 คะแนน วิธีการนำเสนอ 20คะแนน ,บทประพันธ์ การร้องและลีลาการร้อง 20 คะแนน ลีลาท่วงท่าการรำ การแสดง 20คะแนน จังหวะลีลาเพลงและดนตรีที่กลมกลืน 20คะแนน

ผลการประกวด รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะช่อพิกุล (วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบรี) จังหวัดสุพรรณบุรี

คณะช่อพิกุล
นักแสดงคณะช่อพิกุล แสดงความดีใจ หลังประกาศผลได้รางวัลชนะเลิศ คว้าเงินรางวัล 100,000 บาท

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล 80,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร

การแสดง คณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2ได้รับถ้วยรางวัลปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะสืบสานศิลป์ จังหวัดนครปฐม

 คณะสืบสานศิลป์ จังหวัดนครปฐม

รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัลละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล ได้แก่1. คณะวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 2. คณะละโว้เทพศิลป์ จังหวัดลพบุรี

. คณะวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

การแสดงละโว้เทพศิลป์


ดร.สุรัตน์ จงดา อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวว่า การเลือกให้คณะช่อพิกุล จากจังหวัดสุพรรณบุรี ชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้ แม้ว่าผลงานจะสูสีกับคณะคณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร แต่ก็ตัดกันที่ เนื้อหาของคณะช่อพิกุล มีการผูกเรื่อง เพลงเรือ กับเรื่องราวอื่นๆ ทำให้การแสดงมีความน่าสนใจและน่าตื่นเต้น เพราะคนดูเดาไม่ได้ ซึ่งในที่สุดมีการวางเรื่องให้เป็นการแข่งเรือยาว ซึ่งเป็นการสร้างโจทย์ใหม่ ที่มีความแปลกตา แตกต่าง ขณะที่ คณะกลางกรุงฯ ซึ่งมีท่ารำที่สวยมาก ส่วนเนื้อหาเป็นการแสดงเกี่ยวกับประเพณีมอญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงกรานต์มอญ หรือการเล่นมอญซ่อนผ้า ซึ่งคนดูสามารถคาดเดาได้อยู่แล้ว ว่าเรื่องจะไปทางไหน


“คณะช่อพิกุล นำของเก่ากับของใหม่ มาสร้างธีมของเรื่องใหม่ จึงนับว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ มีความน่าตื่นเต้นน่าสนใจจึงได้รับรางวัลชนะเลิศไปในที่สุด”ดร.สุรัตน์กล่าว

คณะกรรมการ

การประกวด “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” อีก 2ภูมิภาค ผู้สนใจสามารถรับชมได้ ผ่านช่องทางของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมการประกวดหรือข้อมูลทางวัฒนธรรมได้ทาง www.culture.go.th เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมวัฒนธรรมและ line@ad-editor

คณะช่อพิกุล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทย ผลักดันลุ้น 'ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก

“เกณิกา”เผย ข่าวดีคนไทย "สุดาวรรณ" หนุนสวธ.จัดทำแผน ปีนี้เตรียมลุ้น “ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า”ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก เดินหน้าผลักดันSoft Power ไทยให้นานาชาติรู้จัก

‘คณะเพชรนคร’ ทำถึงคว้าแชมป์‘รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม‘ โชว์การแสดงพื้นบ้านไม่ทิ้งเอกลักษณ์ภาคใต้

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “คณะเพชรนคร” จาก จ.นครศรีธรรมราช แชมป์ใหม่เวทีประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

สวธ.จัดเวที’รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม’ที่อีสาน เฟ้นคนรุ่นใหม่-ศิลปิน สืบทอดการแสดงพื้นบ้าน

หลังจากเปิดประชันดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เฟ้นหาแชมป์ไปแล้ว 2 ภาค ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงบาตรในโอกาสครบ 110 ปี รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

30 พ.ค.2567 - เวลา 07.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบาตร เนื่องในโอกาสวันสถาปนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ครบ 110 ปี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรจำลอง

20 พ.ค.2567 - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (จำลอง) ซึ่ง มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ได้ร่วมกันจัดสร้างให้ประชาชนเช่าบูชา

'จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง' พระราชนิพนธ์กรมสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระราชทาน พระราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” เผยแพร่   ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง”