'จากสตาร์ วอร์ส' มาถึง 'รพ.เอส สไปน์ฯ' เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกของไทย

DCIM/100MEDIA/DJI_0033.JPG

มื่อพูดถึงอาการปวดหลังและระบบประสาท หลายคนคิดถึงการผ่าตัดใหญ่และพักฟื้นเป็นเวลายาวนาน  แต่สำหรับ  รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกในประเทศไทย  ได้ลบภาพจำเดิมๆของการผ่าตัดหลังยุคเก่าออกไป ที่หลังผ่าตัดต้องนอนโรงพยาบาลเป็นอาทิตย์ และใช้เวลาพักฟื้นหลายเดือนกว่าจะหาย แต่สำหรับรพ.เอส สไปน์ ฯ สามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1วันหลังการผ่าตัด หรือนอนพักในโรงพยาบาลเพียงแค่คืนเดียวเท่านั้น

ด้วยคอนเซ็ปต์ ” แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว “เพราะใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นหลัก ทำให้แผลมีขนาดเล็กมากแค่ประมาณ 0.5-.08 ซม.เท่านั้น  จึงไม่แปลกที่จะทำให้คนไข้เจ็บตัวน้อย และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือ “หยุดปวด”ได้ทันทีหลังการผ่าตัด

นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผอ.รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ

โรคยอดฮิตที่คนเข้ามารักษาด้วยการผ่าตัดนั้นก็คือโรคหมอนรองกระดูดปลิ้น ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับคนไข้แสนสาหัส เพราะมีอาการปวด ชา เนื่องจาก หมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาจะไปทับเส้นประสาท แต่เมื่อมีการผ่าตัดออกไป อาการปวดก็จะหายในทันที  อีกโรคคือ โรคเกี่ยวกับกระดูกคอ ที่มาแรงพอๆกับโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม  ซึ่งมักเป็นโรคของความเสื่อมของร่างกายตามอายุขัย แต่โรคเกี่ยวกับกระดูกคอ เป็นเทรนด์ของมนุษย์ปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นโรค ออฟฟิส ซินโดรม เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานานๆ

ที่มาของการเกิดโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกของไทย นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล  ผอ.รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาล กล่าวในหนังสือ “หยุดปวด ชีวิตเปลี่ยน”หรือ End Pain Change your Life ไว้ว่า

“เมื่อก่อนผมเป็นหมอรักษาตามโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำหลายที่  แต่โรงพยาบาลมักรับรักษาหลายโรค ทำให้ทรัพยากรถูกกระจายไปหลายๆ อุปกรณ์ หลายๆส่วนเท่าๆกัน ทำให้โรงพยาบาลมีลักษณะเหมือนเป็ด คือทำได้หลายๆอย่างแต่ไม่สุดสักอย่าง แต่โรคกระดูกหลังมีวิวัฒนาการเยอะแยะมาก ผมจึงมีความฝันว่าอยากเปิดของตัวเองดีกว่า ทำเรื่องเดียว เอาจุดที่เราสนใจจริงๆ นั่นคือเรื่องกระดูกสันหลัง ทำให้ดีที่สุด ดีกว่าที่อื่น เอาให้สุดๆไปเลย”

เตียงผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ

ด้วยประสบการณ์ด้านโรคกระดูกสันหลัง และระบบประสาท มาไม่ต่ำกว่า 14 ปี และยังเคยทำงานโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนมาแล้วหลายที่ ผ่านการดูงานฝึกอบรมเรื่องกระดูกสันหลัง มาแล้วหลายประเทศ เป็นปัจจัยที่สร้างความมั่นใจ ให้กับคุณหมอดิตถพงษ์ ที่จะเปิดโรงพยาบาลเฉพาะทาง

“ถ้าถามว่าเทคนิคการรักษา ประเทศที่ผมไปศึกษา ที่ไหนดีที่สุด คงตอบไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศก็มีดีในมุมของตัวเอง สำหรับ ผมก็หยิบสิ่งที่เราเห็นว่าโอเค เหมาะกับคนไทยมาผสมผสานกัน จนกลายมาเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกหลังและคอ”นพ.ดิตถพงษ์กล่าว

เครื่องเอ็มอาร์ไอท่ายืน เครื่องเดียวในประเทศไทย

และด้วยความชอบส่วนตัวเกี่ยวกับหนังเรื่องสตาร์วอร์ส ซึ่งจะเห็นได้จากภาพประตูในโรงพยาบาล ที่เป็นรูปดาร์กเวเดอร์ และลุค สกายวอล์กเกอร์ขนาดใหญ่เท่าตัวจริง หรือแม้แต่ในลิฟท์ก็มีบรรยากาศเหมือนหนังสตาร์วอร์ส และเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย อย่างเครื่องเอ็กซเรย์ หรือเอ็มอาร์ไอเอ็กซเรย์ในท่ายืน มูลค่าไม่ต่ำกว่า 20ล้านบาท  ซึ่งจะทำให้เห็นกระดูกในจุดที่เป็นปัญหาชัดเจนกว่าการเอ็กซเรย์ในท่านอน  ที่ปัจจุบันมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย  ตลอดจนเครื่องNavigator ระบบนำวิถี เครื่องเลเซอร์ กล้องส่อง และเตียงที่ใช้ผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในยุคนี้ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำความชอบเทคโนโลยี และเป็นไปตามปรัชญาของผอ.โรงพยาบาล ที่ต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุด

“ตอนเด็กๆ พ่อผมพาไปดูหนังสือสตาร์วอร์ส หลังจากนั้น ผมก็ชอบหนังเรื่องนี้มาตลอด จนถึงทุกวันนี้ก็คิดว่าเป็นหนังที่พูดถึงเทคโนโลยีที่ยังทันสมัยมาก ถ้าถามว่าผมอยากเป็นตัว ละครอะไรมากที่สุด ก็คือ อยากเป็น ลุค สกายวอล์กเกอร์”

การมาที่รพ.แห่งนี้ แล้วหายปวดกลับไปเป็นเรื่องจริง บางเคสหากมาโรงพยาบาลในช่วงเช้า หลังจากซักประวัติ ทำเอ็มอาร์ไอ และพบแพทย์แล้ว  ถ้ามีแพทย์และห้องผ่าตัดพร้อม ก็สามารถทำการผ่าได้ในเย็นวันเดียวกัน และกลับบ้านในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับความปวดที่หายไป

การรักษาที่ต้นเหตุของปัญหา เป็นนโยบายหลักที่ คุณหมอดิตถพงษ์ ยึดเป็นแนวทางการรักษา โดยคุณหมอบอกว่า ถ้าคนไช้ปวดเพราะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถ้ารักษาโดยการกินยา ก็แค่เป็นการทำให้หายปวดชั่วคราว พอหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาปวดอีก ปรัชญาของเราจึงหาสาเหตุ และแก้ที่ต้นเหตุ สมัยก่อนการผ่าตัดต้องดามเหล็ก การรักษาสมัยนี้ ไม่ได้มีแค่ผ่าตัด แต่อาจใช้เลเซอร์เจาะรูด้วยเข็มเล็กๆ ถ้าเป็นมากก็ต้องใช้ส่องกล้อง  พักนอนรพ.แค่คืนเดียว ก็หาย วิธีนี้ลดความเสี่ยงเรื่องติดเชื้อและความพิการ เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเพราะนอนเพียงแค่คืนเดียว ซึ่งการรักษาแบบนี้ เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าผู้ป่วย ญาติ หรือกับตัวหมอเอง เพราะจะทำให้โอกาสพบกับโรคแทรกซ้อนน้อยมาก

เครื่องมือผ่าตัดส่องกล่อง เครื่องนำวิถี และทำเลเซอร์

7ปี หลังเปิดโรงพยาบาล มีคนไข้ที่มารักษากับรพ.เอส สปน์ฯ แล้ว 12,000 ราย ในจำนวนนี้ 20% เป็นคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัด และ95% ของคนไข้ที่ผ่าตัดนอนโรงพยาบาลเพียงแค่คืนเดียว  คนไข้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณหมอดิตถพงษ์บอกว่า 50% มาจากการบอกต่อๆกันแบบ”ปากต่อปาก” และในจำนวนนี้ มี15% ที่เป็นคนไข้ต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหรับ

จำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปัจจุบันโรงพยาบาลกำลังสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ อยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว 71  ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 1พันล้านบาท มีขนาดใหญ่กว่ารพ.เอส สปน์ฯ เดิม 4 เท่า  โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ราวปี  2568  

และนอกจากเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแล้ว คุณหมอดิตถพงษ์ เผยอีกว่า  โรงพยาบาลใหม่ จะเพิ่มแผนกรักษาโรคเข่าเสื่อม โรคตา เรื่องปัญหาการนอน และกายภาพบำบัด  ซึ่งเป็นห่วงโซ่ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุบางคนที่มารักษากระดูกสันหลังก็จะถามว่า รักษาตา หรือเข่าด้วยหรือไม่  เพราะไม่อยากไปทำที่อื่นอีก  ทำให้โรงพยาบาลตัดสินใจเพิ่มแผนกการรักษา พร้อมกับเพิ่มจำนวนแพทย์ จาก 14 คน เป็นประมาณ  50คน

เมื่อถามว่า แนวโน้มของการเป็นโรคกระดูกจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ นพ.ดิตถพงษ์ บอกว่า ความเสื่อมเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนใหญ่เป็นเรื่องของอายุ หรือการใช้งานหนักมาเป็นเวลานาน  แต่มีแนวโน้มว่า ปัญหากระดูกคอ  ซึ่งเป็นโรคออฟฟิส ซินโดรม ทำท่าจะแซงกระดูกสันหลัง เพราะคนยุคปัจจุบันใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์มาก คนที่มีปัญหากระดูกคอก็จะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เพราะใช้โทรศัพท์มือถือมาก นั่นเอง ซึ่งเด็กที่มีปัญหาเรื่องกระดูกคอที่จะมารักษาที่รพ.เอส สไปน์ฯ ได้จะต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพราะถ้าอายุต่ำกว่านี้จะต้องไปรักษากับกุมารแพทย์

“การป้องกันปัญหากระดูกคอ หรือออฟฟิส ซินโดรม จะต้องปรับท่าทางการนั่ง เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์   ต้องไม่ยื่นคอออกไป เพราะคนเราเวลาอยู่หน้าคอม มักจะยื่นคอออกไปแบบไม่รู้ตัว  และทุกๆชั่วโมง ควรลุกเดิน  ไม่ควรอยู่ในท่าเดียวนานๆ พวกที่อยู่หน้าจอทั้งวัน วันละหลายชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะมีปัญหาเรื่องกระดูกคอ” ผอ.รพ.เอส สไปน์ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน