17พ.ค.2567-ดร.ภก.ปรีชา หนูทิม ผู้อำนวยการกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร พร้อมด้วย ภญ.ธีราธร สังหร่าย ผศ.ดร.ภญ.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง ร่วมรับรางวัลพิเศษ (special award) จากสมาคมการประดิษฐ์จากประเทศไต้หวัน (Taiwan invention association) ด้าน invention with potential to significantly enhance human living และรางวัล เหรียญเงิน (silver medal) นวัตกรรมทางการแพทย์แผนไทย”ยาทำให้อดฝิ่น ชนิดเม็ดฟู่” จากการประกวด การประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส งานดังกล่าวมีผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากนานาประเทศ ที่เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการ ทั้งจากทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกามากกว่า 1,000 ผลงาน กว่า 40 ประเทศ เป็นโอกาสสำคัญของ นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในการแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์ กับนักประดิษฐ์และนักวิจัย จากนานาประเทศ พร้อมแสดงความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นมาตรฐานต่อสายตาชาวโลก
ที่ผ่านมา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร มีการพัฒนาตำรับยาอดฝิ่น ชนิดเม็ดฟู่ เริ่มต้นจากยาแผนปัจจุบันในการบำบัดผู้ติดยาเสพติดและอาการถอนยา มีราคาที่สูง จึงได้ทบทวนตำรับยาตามภูมิปัญญาไทย พบว่า ในอดีตมีการใช้ตำรับยาทำให้อดฝิ่น ซึ่งรวบรวมโดย ขุนโสภิตบรรณลักษ์ ในผู้ป่วยที่ติดฝิ่น เมื่อทำนายการออกฤทธิ์ของสารสำคัญในตำรับยาดังกล่าว พบว่า สารสำคัญในตำรับ มีผลต่อโมเลกุลเป้าหมาย ที่มีผลต่อการลดอาการถอนยาเสพติดแอมเฟตามีนและเฮโรอีน ข้อจำกัดของยาเดิม คือ ต้องต้มรับประทานมีความยุ่งยาก ไม่สามารถกำหนดขนาดยาให้เท่ากัน เนื่องจากมีน้ำเป็นองค์ประกอบไม่เหมาะกับการปรุงยา เพื่อใช้ในระยะยาว อาจทำให้เกิดการเติบโตของเชื้อจุลชีพ จึงพัฒนาสารสกัดตำรับยาทำให้อดฝิ่นในรูปแบบของเหลว ให้เป็นของเเข็งด้วยกระบวนการทำแห้งแบบเเช่เยือกเเข็ง และพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดฟู่ ที่สามารถแตกตัวง่าย ละลายเร็ว รับประทานได้ง่าย ขนาดยาคงที่ ซึ่งช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
ปัจจุบัน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดย โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ได้นำตัวยา “ยาทำให้อดฝิ่น ชนิดเม็ดฟู่” เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ติดยาเสพติดประเภท ยากลุ่มแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ซึ่งพัฒนามาจากยาแผนไทย เพื่อบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด ให้กลับมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพ ล่าสุดกรมฯร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ออกหน่วยให้บริการตรวจ คัดกรอง และ จ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้ป่วยติดยาเสพติด จำนวน 35 ชุมชน กว่า 400 ราย ส่วนใหญ่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
คลินิกบำบัดยาเสพติดการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ดำเนินการนำร่องแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ รพ.การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ยศเส กรุงเทพมหานคร ติดต่อ 0 2224 3261-2, 0 2224 8802 รพ.การแพทย์แผนไทยฯ จ.อุดรธานี ติดต่อ 0 4218 0880 และ รพ.การแพทย์แผนไทยฯ จ.พัทลุง ติดต่อ 0 7460 003
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมแผนไทยคาดปี66 มูลค่าบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศเพิ่ม5หมื่นล้าน
นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การขยายตัวของตลาดสมุนไพรสอดคล้องกับนโยบายที่ชัดเจนของประเทศในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสมุนไพร ที่นำเอาจุดเด่นของประเทศ ที่เป็นแหล่งพันธุกรรมสำคัญของโลกโดยเฉพาะพืชสมุนไพร
กรมการแพทย์แผนไทยฯ ประกาศ 15 สมุนไพรเป็น Herbal Champions จ่อตีตลาดโลก
กรมการแพทย์แผนไทยฯประกาศ “สมุนไพร Herbal Champions 15 รายการ” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า วางเป้าห