บทสนทนาทรงพลัง'อินสนธิ์ วงค์สาม-ทวี รัชนีกร'

2 ศิลปินระดับชาติวัย 90 ปี สร้างผลงานชั้นเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิต ปัจจุบันยังทำงานศิลปะอย่างจริงจัง แต่ละผลงานสะท้อนถึงวิธีคิด​ที่ชัดเจนและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจผ่านการสร้างงานศิลป์รูปแบบใหม่ๆ ​ด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ ดัดแปลงสิ่งเก่า​ ค้นหาแก่นแท้ในผลงานของตัวเอง​  ตลอดจนเป็นตัวแทนการตกผลึกในการทำงานและประสบการณ์ใช้ชีวิตมาอย่างเคี่ยวกรำ เป็นวิถีของอินสนธิ์ วงค์สาม และทวี รัชนีกร  2 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์  ลูกศิษย์เอกของ​ ศ.ศิลป์​ พีระศรี​ ที่นำคำสอนของอาจารย์มาใช้บนเส้นทางศิลปกรรมอย่างสม่ำเสมอ

ศิลปินทั้งคู่จัดแสดงผลงานร่วมกันครั้งยิ่งใหญ่ใน นิทรรศการจากวงโคจรสู่บทสนทนา ( From Orbit to Conversation ) ​ ในโอกาส​เชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ​ 90​ ปี​  โดยมี ผศ.วุฒิกร คงคา รับหน้าที่ภัณฑารักษ์ รวบรวมผลงานล้ำค่ากว่า 100 ชิ้น ทั้งผลงานชุดใหม่ในรอบ 10 ปีที่ไม่เคยโชว์ที่ไหนมาก่อน และผลงานระดับมาสเตอร์พีซที่ทุกคนคุ้นเคย นำมาจัดแสดงภายใน 13 ห้องนิทรรศการ แสดงถึงไฟของศิลปินชั้นครูที่ไม่เคยมอดไหม้  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เจ้าฟ้า ถือเป็นงานที่ไม่ควรพลาดแห่งนี้ โดยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สนับสนุนโดยกรมศิลปากร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ผศ.วุฒิกร คงคา ภัณฑารักษ์นิทรรศการ บอกว่า นิทรรศการรวมงานใหม่ในช่วง​ 10​ ปี​ของศิลปินระดับปรมาจารย์ทั้งคู่ และมีการรวมงานเก่าเข้าไปด้วย​ แต่จะทำยังไงให้งานเก่าที่คุ้นตาเหล่านั้นสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ได้มากที่สุด​ เกิดแนวคิดในการหวนกลับไปคิดถึง​ความเป็นคู่หูเพื่อนรัก​ที่ทั้งคู่ถูกบ่มเพาะมาจากอาจารย์ศิลป์​ในตอนเรียน ก่อนที่ต่างคนต่างแยกกันไปมีชีวิตที่โลดโผนของตัวเอง​ และแนวทางงานศิลปะที่คล้ายว่า จะเดินกันไปในทางตรงกันข้าม​ แต่กลับมีจุดร่วมที่เชื่อมติดกันได้อย่างน่าพิศวง นำมาสู่ชื่อนิทรรศการ​ “From Orbit​ to​ Conversation”​ ตนต้องการให้ “ลุงอินสนธิ์” นั่งคุยกับ “ลุงทวี”อย่างเป็นกันเอง ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ​ ถกเถียงความเห็นที่แตกต่าง​ด้วยสาระหรือหัวเราะด้วยกัน  ผลัดกันชม​ ให้กำลังใจกัน​ หรือต่างก็วิพากษ์กันเอง​ด้วยผลงาน​ที่อาจเลยไปถึงการวิพากษ์สังคม​ บ้านเมือง​ ที่มาพร้อมกับการกระตุกต่อมเตือนสติตัวเองและคนอื่นๆ​ ผลงานทั้งคู่คลุกเคล้า​ เชื่อมโยง​ เผชิญหน้า​ ด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย​ดั่งกัลยาณมิตร

ภายในนิทรรศการครั้งนี้ผลงานนับร้อยชิ้นติดตั้งอยู่ใน 2 อาคารใหญ่​  อาคารด้านหน้า​ ​ 9 ห้อง ​ที่มีผนังห้องสีต่างกัน เต็มไปด้วยงานจิตรกรรมขนาดใหญ่​ในธีม “บทสนทนาของแสงดาว”  อีกอาคารหนึ่ง​ คือ​ อาคารขาว​ 4 ห้อง จัดแสดงงานประติมากรรม, ภาพพิมพ์, กระดาษ​ ที่คุมโทนไปด้วยสีน้ำตาล, ดำ​ ในธีม”บทสนทนาของแผ่นดิน” สองอาคาร​เป็นขั้วตรงกันข้าม​ระหว่างแผ่นดิน​ของโลกและ​แสงของหมู่ดาว​ในจักรวาล ​ทุกชิ้นมีชื่อผลงานยึดโยงบทสนทนา​ให้เกิดกรอบในการตีความ​ ขึ้นอยู่กับผู้ชมที่จะต้องอ่านและดูไปพร้อมกับการตีความ

ภัณฑารักษ์ระบุวงโคจรของ​ อินสนธิ์​ เคลื่อนคล้อยด้วยการใช้รูปทรง​นามธรรม​  อธิบายผ่านวิธีการสร้างคล้ายเซอร์เรียล บางทีก็เลื่อนไหลอย่างอิสระ​​ ทุกรูปทรงมีความหมาย​ ไม่ว่าจะวิธีเพ้นต์ด้วยสีน้ำมันบนผ้าใบ​หรือแกะสลักไม้​ ​ เราจะเห็นความอิ่มเอม​ เบิกบาน​ สง่างาม​ แข็งแรง​ สงบนิ่ง​ ส่วนชื่อผลงาน​จะเห็นประโยคการปลอบประโลม  วิธีการดำเนินชีวิต ความสุข ทุกข์​ ที่บางครั้งคล้ายแฝงปรัชญา​ แต่บางทีก็ตรงไปตรงมา​ ​ ชวนให้ผู้ชมตีความรูปทรงไปตามความรู้สึกที่ไร้ขอบเขต​ได้อย่างไม่สิ้นสุด

ขณะที่วงโคจรของ​ ทวี​  รัชนีกร ที่ใช้รูปทรงในการดำเนินเรื่องเช่นกันแต่​ต่างออกไปแบบขั้วตรงกันข้าม​ คือ รูปทรงจะใช้ figurative ของคน, สัตว์, สิ่งของ​ ที่แสดงพลังทางอารมณ์อย่างรุนแรง​ ทั้งความเจ็บปวด, กระแทกกระทั้น, ความขันสุดแสบ, การก่อกวนด้วยการเสียดสีแดกดัน, รูปทรงชัดเจนบิดเบี้ยว บอกเล่าเนื้อหาตรงไปตรงมา ถึงแม้จะใช้รูปทรงนามธรรมหลายครั้ง​ แต่มักจะมีที่มาอยู่เสมอ​

“ ถ้าอินสนธิ์​คือการเข้ามามองภายในของตัวเอง​ เพื่อจะเปิดประตูออกไปสื่อสาร​ ทวี​จะเปิดประตูรับ​เรื่องราว​ ความรู้สึกจากเหตุการณ์บ้านเมืองหรือสังคมภายนอก ตลอดจนเรื่องราวของผู้คนรอบข้างให้ไหลเข้ามาคลุกเคล้าภายในใจ​ ก่อนจะสำแดงความรู้สึกเหล่านั้นออกไปอีกครั้ง ด้วยวิธีการของตัวเอง​และขั้วตรงกันข้าม อีกอย่างในผลงานทั้งคู่มองเห็นได้จากลายมือและลักษณะนิสัยในการมอง​วัสดุผ่านการใช้เครื่องมือ​ต่างๆ ขณะที่​ทวี​โชว์ร่องรอย​ของทั้งฝีแปรงและการสร้างพื้นผิว​หรือใช้พื้นผิวดั้งเดิม ทำให้ประติมากรรมแสดงคุณลักษณะความดิบ​ หยาบ​ ผ่านวิธีคล้ายเอ็กเพรสชั่นนิส  เพื่อให้ผลงานกระชากอารมณ์อย่างรุนแรง​ แต่อินสนธิ์​ใช้วิธีเกลี่ยสีนุ่มนวล​ในงานจิตรกรรมมากกว่าคล้ายการเกลาไม้กลมกลึงเนียนเรียบในงานประติมากรรมนั่นเอง จักรวาลแห่งความต่าง​ เดินทางด้วยวงโคจรของตัวเองมาซ้อนทับ ก่อเกิดขึ้น​ และกลายเป็นวงสนทนาอันเงียบเชียบ​ที่กู่ตะโกนยินดีอยู่ภายในใจอันสงบของศิลปินทั้งคู่  “ ผศ.วุฒิกร ชวนมาชมนิทรรการครั้งประวัติศาสตร์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สวธ.จัดมหกรรมขับร้องประสานเสียงเฉลิมพระเกียรติ ‘ร่มพระบารมี’ อย่างยิ่งใหญ่ 17-19 ก.ค.นี้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานคอนเสิร์ต Thailand Choral Festival 2567 มหกรรมขับร้องประสานเสียงเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา "ร่มพระบารมี"

รมว.ปุ๋ง ลุย Soft Power ผลักดันอุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล ชวนคอสเพลย์แสดงพลัง CAF2024

18 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกมให้เป็น Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

สวธ.เทิดพระเกียรติ ‘พระพันปีหลวง’ ต่อยอดผ้าไทยในงาน EM DISTRICT SENSE OF THAI เผยแพร่พระอัจฉริยภาพเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

วันที่ 16 ก.ค.2567 นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ EM DISTRICT