“โลกปัจจุบันที่ความเป็นเมืองและการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้และทักษะใหม่ๆ แก่ประชาชน ให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ …”
ในโอกาสที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ครบรอบ 20ปี และได้จัดงาน”20 Years of Thailand Knowledge Creation: Past and Future” โดยฉายภาพความสำเร็จ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต จากการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
คราวเดียวกันนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการ OKMD เปิดเผยว่า การจัดงาน 20 Years of Thailand Knowledge Creation : Past and Future ในครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการดําเนินงานของ OKMD ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อให้สาธารณชนได้เห็นถึงความสําคัญของการพัฒนาองค์ความรู้และประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริการความรู้ในกิจกรรมองค์ความรู้ต่างๆ ของ OKMD ที่สำคัญ OKMD ยังมีโครงการที่จะเปิดตัวศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ (OKMD National Knowledge Center : NKC) ณ บริเวณ ถ.ราชดําเนิน กรุงเทพฯ ภายในปี 2570 ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะเป็น “ต้นแบบแหล่งเรียนรู้สาธารณะ” ที่ให้บริการความรู้หลากหลาย ครบวงจร ทันสมัย ขนาดใหญ่แห่งใหม่ของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการความรู้และร่วมกิจกรรมในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี รวมถึงการเข้าใช้บริการการเรียนรู้ออนไลน์ไม่น้อยกว่า100 ล้านคน/ครั้งต่อปี
ที่มาของโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ ดร.ทวารัฐ กล่าวว่า เกิดขึ้นจาก การมองเห็นว่าในโลกปัจจุบันที่ความเป็นเมืองและการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้และทักษะใหม่ๆ แก่ประชาชน ให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาศักยภาพและยกระดับความเป็นอยู่ของคนในเมือง ผ่านกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้สาธารณะสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลในทุกประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาความรู้สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์หรือการจัดกิจกรรมกระตุ้นความสนใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ที่ตั้งของโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติฯ ซึ่งอยู่บนถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเคยเป็นที่ทำการเดิมของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 5 ไร่ และอาคาร 7 ซึ่งเป็นอาคารอนุรักษ์ซึ่งอยู่ติดกัน
” OKMD เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของถนนราชดำเนินที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงเห็นควรจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติที่นี่และพัฒนาถนนสายนี้ให้เป็นย่านการเรียนรู้สร้างสรรค์(Creative Learning District) ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นจุดที่รายล้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ในด้านต่างๆ จำนวนมาก และมีย่านชุมชนเก่า ที่มีผู้คนอาศัย เราจะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนต่างๆ ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งถือว่าเป็นการฟื้นฟูพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ให้กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง (Urban Revitalization)”ผอ.OKMD กล่าว
ภายในศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 20,000 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1 พื้นที่ห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) ที่รวบรวมและเชื่อมโยงความรู้ที่จำเป็นจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการอ่าน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และปลูกฝังอุปนิสัยรักการเรียนรู้ประกอบด้วยพื้นที่ชั้นวางและเก็บหนังสือและ Library of Things พื้นที่บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์พื้นที่อ่านหนังสือและห้องประชุมขนาดเล็ก พื้นที่ห้องสมุดเด็ก/พื้นที่ครอบครัว พื้นที่ทำงานอิสระ (Co-working Space) พื้นที่ Interactive Virtual Space (Metaverse) และ e-Sport และพื้นที่เรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางร่างกาย (Leaning Space for People with Disabilities)
2 พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาทักษะ (Learning Space) แห่งอนาคต เพื่อยกระดับศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สร้างแรงบันดาลใจ ค้นพบศักยภาพ และสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการเรียนรู้พื้นที่ปฏิบัติการทางนวัตกรรม (Fab Lab) พื้นที่ปฏิบัติการด้านงานฝีมือ (Craft and Lifestyle Workshop) พื้นที่ปฏิบัติการด้านสื่อ (Digital Media Center) และพื้นที่ปฏิบัติการสำหรับเด็ก (Kid’s Maker Space)
3. พื้นที่เพื่อการแสดงออก (Expression Space) แบ่งออกเป็นพื้นที่อเนกประสงค์และพื้นที่แสดงออกเฉพาะด้าน ประกอบด้วย หอประชุมอเนกประสงค์(Auditorium) ขนาด 300-350 ที่นั่ง และเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ และ4 .พื้นที่บริการวิชาการ และพื้นที่สำนักงาน ทั้ง OKMD และบางส่วนของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(NDMI)
แนวทางการจัดการความรู้ในศูนย์การเรียนรู้ฯ แน่นอนว่า OKMD ได้เน้นให้พัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้รูปแบบใหม่ ขเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคนไทยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เตรียมความพร้อมการเข้าสู่การเป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen) ในศตวรรษที่ 21 โดยศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติฯ จะมีบทบาทสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้
1. การเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้สาธารณะรูปแบบใหม่ของประเทศ (Knowledge Center Phototype)เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย พร้อมกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ2.ส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่ออนาคต (Future Skills) ควบคู่ไปกับการพัฒนา Soft Skills ต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนา (Boot Camp) การบ่มเพาะทักษะความชำนาญ (Incubating) และการประดิษฐ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมในพื้นที่ FabLab ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจการสร้่งนวัตกรรม 3.ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdoms) โดยพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาไทยที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ 4.การให้องค์ความรู้อื่นๆ ที่สำคัญ อาทิแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก และโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ทักษะความรู้ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์(Adaptability) การมีทัศนคติแบบสากล (Global Mindset) หรือมองตัวเองเป็นพลเมืองโลก(Global Citizen) ที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถปรับตัวและแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน (Adaptable and Resilient)
นอกจากนี้ ยังมีทักษะความรู้อื่นๆ เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)และการรู้เท่าทันสื่อสมัยใหม่ (Media Literacy) รวมทั้งการจัดทำข้อมูลและดัชนีชี้วัดด้านการเรียนรู้ของคนไทย และการจัดทำฐานข้อมูลด้านแหล่งเรียนรู้ของประเทศไทย เป็นต้น
“เราคาดหวังว่าศูนย์การเรียนรู้ฯ จะเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้(Knowledge Hub) ที่สำคัญของประเทศ พื้นที่ขนาด 5 ไร่ และอาคาร 7 ที่อยู่ติดกัน บนถนนราชดำเนินกลาง เป็นพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ เพราะมีการคมนาคมที่สะดวก เป็นที่ตั้งของโบราณสถาน มีอาคารอนุรักษ์และพื้นที่เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมประติมากรรม จิตรกรรม และประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ จึงสามารถพัฒนาให้เป็นได้ทั้ง Knowledge Hub ไปพร้อมๆกับการเป็นย่านการเรียนรู้(Learning District) ที่จะเป็นหมุดหมายใหม่ของการท่องเที่ยว เชิงการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยในอดีต เข้ากับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ “
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ผุด READ Café สร้างพื้นที่สาธารณะส่งเสริมคนไทยรักการอ่าน
DAD ผนึก 2 หน่วยงาน OKMD – บางจาก เปิดพื้นที่อาคารจอดรถ D ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ผุดพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน READ Café
ธพส. ผนึก OKMD เปิดพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน ปั้นโมเดล Read Café แห่งแรกในประเทศไทย
ธพส. จับมือ OKMD ร่วมส่งเสริมการอ่าน จัดพื้นที่อาคารจอดรถ D (DEPOT) ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ปั้นโมเดล Read Café
DAD มอบรางวัลความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดสู่ความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ประธานกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
OKMD ร่วมกับ 88 SANDBOX ชวนไปงาน LEARN LAB EXPO มหกรรมตลาดการเรียนรู้ครั้งแรกในไทย
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ 88 SANDBOXมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน “LEARN LAB EXPO : มหกรรมการศึกษา ชวนเด็กไทยมา ลอง - เรียน - รู้” นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการศึกษา ตอบโจทย์ แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ซึ่งมีกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์
OKMD จับมือ ม.เกษตรฯ และเพจ “ดวงใจวิจารณ์” พร้อมเครือข่าย จัดงานมอบรางวัล “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2566
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทุนศรีบูรพา และ เพจ “ดวงใจวิจารณ์”
OKMD จับมือ ธรรมศาสตร์ ปั้นโครงการบ่มเพาะสตาร์อัพ พัฒนาผลงานนวัตกรรมการศึกษา เท่าทันกระแสความต้องการ ตอบโจทย์ตลาดโลก
29 สิงหาคม 2566 ณ TK Park กรุงเทพฯ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ88 SANDBOX มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาองค์ความรู้