'ได้ยินชัด ลดเสี่ยงสมองเสื่อม'ชวนสูงวัยทดสอบ' Eartest by Eartone'

เครื่องช่วยฟัง

ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัวแล้ว นวัตกรรมต่างๆ จึงต้องเกิดขึ้นเพื่อรองรับสังคมสูงวัยในวันนี้ และวันหน้าที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกส่วนของอวัยวะที่ต้องเสื่อมสภาพไปตามวัย หากไม่ได้รับการดูแล อวัยวะต่างๆจะเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น จนกระทบกับคุณภาพชีวิต รวมทั้งการได้ยิน ซึ่งเมื่อก่อนมักพูดกันว่าแก่แล้วหูตึง ซึ่งสมัยก่อนคิดกันว่า หูตึง ก็คือ การได้ยินไม่ชัด หรือไม่ค่อยได้ยิน แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุปัน ได้วิจัยแล้วพบว่าภาวะการได้ยินไม่ช้ด มีความเชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อม  

โดยปัจจุบันพบว่า ผู้สูงอายุกว่า 1 ใน 3 ประสบปัญหาในเรื่องการได้ยิน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะประสาทหูเสื่อมตามวัย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปถึง 1.94 เท่าการมาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยินและใช้เครื่องช่วยฟังจะช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้ 

ด้วยเหตุนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท เอียร์โทน (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดงานเสวนา “ได้ยินชัด ลดเสี่ยงสมองเสื่อม” เมื่อวันที่  23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา  ณ  ห้างดิโอลสยาม  พลาซา  เพื่อเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมในการตรวจการได้ยินผ่านแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ  ภายในงานมีการทดสอบการได้ยินเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุด้วย 

“Eartest by Eartone” เป็นแอปพลิเคชันตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยครั้งแรกในไทย เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยเทคนิค Virtual Reality (VR) ที่จำลองสถานการณ์การรับรู้เสียงจากทิศทางต่างๆ จะช่วยตรวจสอบการแปรผลของสมองด้านการใช้ภาษา และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมในอนาคต

อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร

อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร อาจารย์ประจําภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และแพทย์เฉพาะทางด้าน โสตประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจการได้ยินเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการตรวจจับและจัดการกับปัญหาการได้ยินที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นในอนาคต งานเสวนาครั้งนี้มีขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้นำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเลือกจัดงานที่มีชุมชนผู้สูงวัยได้มาทดลองใช้แอปพลิเคชัน เพื่อตรวจการได้ยินและให้ความรู้เสริมสร้างความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีนี้

ในงานยังมีโมเดลตัวอย่างเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบที่นำมาจัดแสดง เครื่องช่วยฟังมีขนาดเล็กและออกแบบมาให้ทันสมัย ใช้งานง่าย ทำให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถทดลองเครื่องช่วยฟังได้อย่างใกล้ชิด และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับสภาพการได้ยินของตนเอง

 ดร.ลัษมณ อรรถาพิช

 ดร.ลัษมณ อรรถาพิช คณะอนุกรรมการแผนงาน Global partnership ผู้อำนวยการ บพข. ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมและการใช้งานผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม พร้อมทั้งกล่าวถึงการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ งานเสวนาในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ภายในงานมีผู้สูงอายุเข้าร่วมงานเสวนาอย่างคึกคัก ในอนาคต บพข.พร้อมจะให้ทุนสำหรับต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่สามารถออกสู่ตลาดได้ และช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ใช้งานได้ฟรีทันที ทั้งในระบบ iOS และ Android ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบและดูแลสุขภาพการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังอีกรูปแบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ของขึ้น เชี่ยมั้ย! ใครจะมาพูดอะไร แ-่ง ต้อง declare ผลประโยชน์ทับซ้อน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความ