โรงเรียนทั่วประเทศเตรียมจะเปิดภาคเรียนในช่วงกลางเดือนพ.ค นี้ แต่แนวโน้มความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถรับส่งนักเรียนยังเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ถ้าดูจากสถิติในรอบ 3 ปี ระหว่างปี 2565 – 2567 รถรับส่งนักเรียนเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นกว่า 30 ครั้งและบาดเจ็บ 368 คน และในปี 2567 ในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม พบอุบัติเหตุและมีนักเรียนเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 153 คน
และยังพบว่ารถนับวส่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนและรับรองความปลอดภัยจากกรมขนส่งทางบก โดยล่าสุดพบว่ามีรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์สาธารณะที่ได้รับการขออนุญาตให้ใช้เป็นรถรถรับส่งนักเรียนเพียง 3,342 คันเท่านั้น จากทั่วประเทศ
สภาผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรม ได้จัดเวทีวิชาการ “สานพลัง ขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย” โดยมีโรงเรียนต้นแบบ นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหานำไปสู่การจัดการรถโรงเรียนที่ถูกต้อง
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า การขนส่งและยานพาหนะ เป็น 1 ใน 8 ภารกิจหลักการคุ้มครองผู้บริโภค ในการทำโรงเรียนต้นแบบเพื่อเป็นโรงเรียนศูนย์เรียนรู้เพื่อขับรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ขณะนี้ได้ดำเนินการกว่า 148 โรงเรียน และมีโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์เป็นต้นแบบจำนวน 20 โรงเรียน เมื่แเทียบกับโรงเรียนในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งหมดเฉลี่ยแล้วเพียง 0.5% เท่านั้น ซึ่งทางภาครัฐทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนหรือการขนคมนาคมจะต้องหาแนวทางผลักดันรถรับส่งนักเรียนให้เกิดความปลอดภัยให้เกิดรูปธรรมมากยิ่ง ทั้งนี้ 20 โรงเรียนต้นแบบจะทำหน้าที่เป็นอาสาในการให้โรงเรียนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการให้บริการแก่นักเรียน เพราะความปลอดภัยของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ
สถานการณ์ที่ทำให้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยบนท้องถนนของการใช้รถรับส่งนักเรียน ก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัญฤทธิ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนกับรถรับส่งนักเรียนในปีพ.ศ.2565-2566 เกิดอุบัติเหตุเฉลี่ย 30 ครั้งต่อปี และในปี2567 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคมหรือใในระยะเวลา 3 เดือนเกิดอุบัติเหตุสูงถึง 15 ครั้ง มีนักเรียนเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บถึง 153 คน ซึ่งทางโรงเรียนอาจจะมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลของการใช้ยเดินทางานพาหนะเดินทางมาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ รถยนต์ 4 ล้อ จากทั้งผู้ปกครองและรถรับส่งนักเรียน เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการดูให้นักเรียนเกิดความปลอดภัย
คงศักดิ์ ชื่นไกลลาส ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ ด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค ในการจัดการระบบรถรับส่งนักเรียน กล่าวว่า ความเสี่ยงในการใช้รถรับส่งนักเรียนจะพบว่าแต่ละปีมีอุบัติเหตุหลายครั้งและมีนักเรียนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ นักเรียนมีความจำเป็นต้องใช้รถรับส่งไปโรงเรียน หากไม่ใช้ก็จะต้องขี่จักรยานยนต์ และรถรับส่งนักเรียนส่วนใหญ่มีสภาพไม่มั่นคงปลอดภัย นอกจากนี้จำนวนหลายคันยังไม่ขึ้นทะเบียนรถรับส่งนักเรียน ย้อนกลับมาดูที่โครงสร้างกฎหมาย พบว่ายังขาดเจ้าภาพหลักในการจัดการความปลอดภัย ขาดการบูรณาการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังไม่ใช่วาระสำคัญที่ภาครัฐเร่งดำเนินการและกฎหมายไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริงในพื้นที่ และส่วนที่สำคัญคือ ความคิดและความเชื่อ หรือข้ออ้างในการไม่เอารถเข้าระบบ เพราะหากไม่นำรถเข้าระบบก็สามารถวิ่งรับส่งนักเรียนได้ ไม่คุ้มค่าที่ต้องปรับปรุงสภาพรถ และครูส่วนใหญ่มีภาระหลายอย่างที่ต้องรับผิดชอบ
“ในปัจจุบันรถรับส่งนักเรียนมีหลายรูปแบบที่ให้บริการ อีกทั้งรัฐยังไม่มีข้อมูลจำนวนรถรับส่งนักเรียนที่แท้จริง โดยในปี2566 มีรถรับส่งนักเรียนที่ขึ้นทะเบียนรถรับส่งนักเรียนเพียง 3,400 คัน ขณะที่ในปี 2565 มีรถขึ้นทะเบียนกว่า 4,500 คัน และในปีนี้ยังมีตัวเลขเผยแพร่ออกมา ซึ่งหากพบว่ามีจำนวนรถที่ขึ้นทะเบียนลดลงเรื่อยๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาในการลงไปกำกับดูแลเพื่อให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลแต่ข้อกำกับหรือบังคับใช้ก็แตกต่างกัน จึงเป็นอีกประเด็นสำคัญในการทำให้เกิดข้อบังขับใช้ไปในทิศทางเดียวกันได้หรือไม่”
คงศักดิ์ กล่าวต่อว่า นิยามของรถรับส่งนักเรียน คือ การเดินทางไปโรียนที่ปลอดภัย และเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐ ที่จะดูแลคุ้มครองเด็กตามมาตรฐานความปลอดภัยทั่วถึงเท่าเทียม ดังนั้นโครงการฯ โรงเรียนต้นแบบใน 33 จังหวัด ในการเป็นศูนย์เรียนเพื่อขับรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ที่มีองค์ประกอบ 9 ด้าน แบ่งเป็น กลไกการจัดการ 1.ในระดับจังหวัดหรืออำเภอ ต้องมีส่วนร่วมกับโรงเรียน 2.โรงเรียนจัดการรถรับส่งนักเรียนของโรงเรียน มีครูผู้รับผิดชอบ นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา และพัฒนาระบบจัดการ 3.มีระบบข้อมูล 4.ระบบเฝ้าระวังและการสื่อสาร 5.ควบคุมดูแลภายในรถ 6.สร้างการมีส่วนร่วม 7.ระบบประกันภัย 8.จุดจอดปลอดภัย และ9.ติดตามประเมินผล ดังนั้นในการจัดการระบบความปลอดของรถรับส่งนักเรียนจะต้องการบูรณาการและร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน
รศ.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ได้มีการจัดทำโครงการศึกษาเชิงระบบ เรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน โดยได้มีการลงพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต หนองคาย อุดรธานี สุรินทร์ ลำปาง และเชียงใหม่ ซึ่งแต่จังหวัดมีการหาแนวทางการแก้ไขและปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเฉพาะจุด โดยได้มีการสรุปเป็นประเด็นต่างๆ คือยังขาดการบูรณาการของหน่วยงานร่วมกัน อาจจะเพราะแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ยังขากกฎหมายที่ควบคุมผู้ขับรถส่งนักเรียน โดยในพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัด พบว่า ผู้ที่มาขับรถรับส่งนักเรียนเป็นผู้ที่สูงอายุหรือยังเป็นวัยคะนอง ทำให้มีบางส่วนอาจจะละเลยวินัยจราจร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงสภาพรถส่วนใหญ่ที่มีอายุการใช้งานมาค่อนนานและบางคันมีการดัดแปลงตัวรถ เป็นต้น จากการพุดคุยกับกรมขนส่ง หากไม่มีการอะลุ่มอล่วยหรือยอม จะส่งผลให้ไม่มีผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ทำให้เกิดความเดือดร้อนที่หนักขึ้น และการลงทะเบียนผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ปัญหาดังกล่าวในบริบทของผู้ที่ต้องใช้บริการในแต่ละพื้นที่อาจจะมีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการจัดการและการยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่ 6 จังหวัดได้มีการนำข้อเสนอแนะเสนอต่อครม. และมีมติให้ 4 หน่วยงานรับเรื่องและดำเนินการ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ นำข้อเสนอแนะไปบูรณาการ อาทิ การจัดทำระบบฐานข้อมูลรถรับส่งนักเรียน การกำหนดมาตรการให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบและการกำกับดูแลมาตรการด้านความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียน การออกหนังสือรับรอง การจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยคดีและก็กำหนดให้โรงเรียนสร้างเครือข่ายรถรับส่งนักเรียน รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรชุดความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการระบบรถรับส่งนักเรียน อีกส่วนคือการลดความเหลื่อมล้ำคือ จะต้องมีการสนับสนุนจากสำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาที่ขาดแคลน ในการรับบริการรถรับส่งนักเรียนฟรี เหมือนกับนโยบายนมโรงเรียนฟรี
กระทรวงคมนาคม โดยกรรมขนส่งทางบก กำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ขับรถรับส่งนักเรียนขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาติ และการมีหนังสือรับรองจากโรงเรียนสำหรับผู้ขับรถส่งนักเรียนจาก 1 ภาคการศึกษา เป็น 1 ปีการศึกษา ทบทวนกฎหมายในปัจุบันให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยกำหนดประเภทใบอนุญาติ และสำนักงานขนส่งแต่ละจังหวัด ควรมีการจัดอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจระหว่างผู้ขับรถรับส่งนักเรียน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้มีส่วนสนับสนุนการติดตั้งเทคโนดลยีบนรถรับส่งนักเรียนผ่านโครงการรถโรงเรียนรุ่นเด็กปลอดภัย โดยดำเนินการแล้วเสร็จในเฟสแรก ปีพ.ศ.2565-2566 รวมกว่า 370 โรงเรียน จำนวน 3,500 คัน ใน 69 จังหวัด ซึ่งอาจจะต้องขยายผลของโครงการให้ครอบคลุมโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนงบประมาณรถรับส่งนักเรียนให้เข้าถึงเด็กด้อยโอกาส และมีมาตรการดูแลความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เป็นต้น โดยหลังจากที่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ก็ได้กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน โดยให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เรื่องนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งของนโยบายระดับชาติ กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ หรือคณะทำงานด้านความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียนในทุกจังหวัด ให้กระทรวงศึกษามอบหมายให้โรงเรียนจัดทำระบบฐานข้อมูล รถรับส่งนักเรียน กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานเรื่องความปลอดภัยการเดินทางของนักเรียน และจัดทำทะเบียนข้อมูลรถรับส่งนักเรียนแต่ละคัน
กมล รอดคล้าย ประธานคณะทำงานฝ่ายอำนวยการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนน ได้แก่ 1.ต้องมีครูดูแลความปลอดภัยด้านหน้าโรงเรียน ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจหรืออาสา ดูแลนักเรียนข้ามทางม้าลาย 2.ควบคุมติดตามรถรับส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ 3.จัดทำแอปพลิเคชั่นติดตามการขึ้นลงรถรับส่ง 4.ใช้เครือข่ายของทุกภาคส่วนกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน โดยแต่ละโรงเรียนจะต้องมีการเสนอแผนยุทธศาสตร์ย่อยรถรับส่ง และหน่วยงานในพื้นที่ ส่งเสริมเพิ่มความรู้นักเรียนเรื่องวินัยจราจร ติดตามประเมินผลทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้อุบัติเหตุบนท้องถนนของเด็กนักเรียนลดลง 3%
สรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เบื้องต้นได้ดำเนินการ ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 รถโรงเรียนและรถรับส่งนักเรียนขนาดใหญ่ เช่น รถบัส โดย 1.การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรฐานรถโรงเรียนหรือสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องดับเพลง ค้อนทุบกระจก คนขับต้องมีใบอนุญาต ท.1 และท.2 มีผู้ควบคุมดูแลประจำรถ เป็นต้น ส่วนรถขนาดเล็ก เช่น รถสองแถว หรือรถตู้ ซึ่งมีการมาลงทะเบียนเป็นรถรับส่งนักเรียนประมาณ 1,700 คันแล้วแต่ละช่วง สูงสุดคือ 3,400 คัน มี 1,700 คัน เป็นรถตู้ 1,508 คัน รถสองแถว 172 คัน รถโดยสาร 2 คัน และรถประเภทอื่นๆ 29 คัน ที่มีความถูกต้องตามมาตรฐานพ.ร.บ.รถยนต์ เช่น มีทางขึ้นลงด้านข้างและท้ายรถ มีอุปกรณ์ป้องกันนักเรียนตก คนขับต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนตัวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีผู้ดูแลประจำรถ
“ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือรถรับส่งจำนวนมากอยู่นอกระบบ เพราะโรงเรียนขาดองค์ความรู้การดูแลบำรุงรักษา การบริหารจัดการ กำกับดูแล และคนขับบางส่วนยังขาดจิตสำนึก การบริการรับส่งเด็ก เราจึงมีแนวคิดในการให้งบประมาณในแต่ละจังหวัดเพื่อให้นำไปจัดสรร กำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเท่านั้น โดยปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีการจัดสรรงบให้ทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 280 ล้าน เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นจากรถจักรยานยนต์ เพราะยังมีผู้ปกครองที่ไปรับส่งบุตรหลานด้วยรถจักรยานยนต์ ดังนั้นจะต้องขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมเพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยจากการใช้บริการรถรับส่งมากยิ่งขึ้น” สรพงษ์ กล่าว
ด้านโรงเรียนต้นแบบ บุญสร้าง เปรมยกย่อง โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา กล่าวว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีนักเรียนกว่า 2,000-3,000 คน ปัจจุบันมีฐานข้อมูล Student Care นอกจากจะดูแลนักเรียนเรื่องต่างๆ ก็ยังมีการเก็บฐานข้อมูลการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน ที่มีทั้งรถรับส่งที่มีนักเรียนใช้บริการกว่า 80.97% รถโดยสารสาธารณะ 1.23% รถจักรยานยนต์ 7.35% ผู้ปกครองมารับส่ง 10% และเดินเท้ามาโรงเรียน 0.39% ดังนั้นจะเห็นว่าจำนวนนักเรียนที่ใช้บริการรภรับส่งมีจำนวนมาก จึงต้องมีการทำข้อมูลเพื่อจัดการรถรับส่งทให้มีคุณภาพ ซึ่งมีรถรับส่งที่อยู่ในฐานข้อมูลของโรงเรียนจำนวน 103 คัน มีการเดินรถ 16 สาย แบ่งเป็น รถบัส 2 คัน รถสองแถว 42 คัน รถตู้ 58 คัน และรถทหาร 1 คัน มีการตรวจสุขภาพของผู้ขับรถรับส่งนักเรียน และวินัยในการจราจร แต่ในอนาคตจะมีการจัดทำ Application Safety Chiil ในการเข้าถึงข้อมูลการใช้บริการรถรับส่งนักเรียนทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ขับรถรับส่ง แบบเรียลไทม์ และการแจ้งเหตุกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาผู้บริโภค วอนให้เหตุไฟไหม้รถบัสนักเรียนเป็นกรณีสุดท้าย เสนอทบทวนมาตรการพาเด็กออกนอกพื้นที่
จากเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72 ซึ่งกำลังพาครู และนักเรียนมาทั้งหมด 44 คน เดินทางไปทัศนศึกษา ส่งผลให้เกิดเหตุสลด มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก น
'ธีระชัย' ชงรัฐบาลตั้ง 'องค์กรก๊าซแห่งชาติ-ติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป' แก้ราคาไฟฟ้าแพง
'ธีระชัย' ชงรัฐบาลตั้งองค์กรก๊าซแห่งชาติ แก้ปัญหาราคาไฟฟ้าแพง เป็นผู้มีสิทธิ์รับซื้อก๊าซที่ผลิตจากอ่าวไทยแต่ผู้เดียว พร้อมประกาศนโยบายให้ประชาชนติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปแบบnet metering