รับเปิดเทอม! ‘หมอยง’ แนะการปฏิบัติเพื่อป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียน

12 พ.ค.2567-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง “โควิด19 การปฏิบัติเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด 19 ในโรงเรียน” ระบุว่า สถานการณ์ปัจจุบันโรคโควิด 19 กำลังเข้าสู่ฤดูกาลที่จะมีการระบาดอย่างมาก หลังจากโรงเรียนเปิด การป้องกันการระบาดในโรงเรียนจะเป็น วิธีหนึ่งที่ลดการระบาดในวงกว้างได้ แนวทางการปฏิบัติดังนี้

1 มาตรการคัดกรองนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมีความจำเป็น เด็กป่วยทุกคนควรหยุดอยู่บ้าน

2 เคร่งครัดเรื่องสุขอนามัย การล้างมือ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สอนวิธีการล้างมือให้กับเด็กและล้างมือให้ถูกวิธี ล้างบ่อยๆ

3 สุขอนามัยเรื่องอาหารการกิน ก็มีความสำคัญ กินอาหารที่สุกสะอาด

4 การใส่หน้ากากอนามัย เราจะให้เฉพาะเด็กที่มีอาการโรคทางเดินหายใจ จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย เด็กปกติไม่จำเป็นต้องใส่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ในเด็กการใส่ให้ถูกวิธีทำได้ยาก ยิ่งเด็กเล็กยังจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้โดยเฉพาะภาษากาย สีหน้าและอารมณ์ การดูแลเรื่องความสะอาดล้างมือจึงสำคัญกว่า

5 ATK จะตรวจเฉพาะเด็กที่มีอาการเท่านั้น เด็กปกติไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ

6 เด็กที่ป่วยเป็นโควิด 19  จะให้มาโรงเรียนได้เมื่ออาการหายแล้วอย่างน้อย 1 วัน โดยทั่วไปเด็กมีอาการน้อย และสั้นอยู่แล้ว การเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญของเด็ก

7 ในกรณีที่มีเด็กป่วยในชั้นเรียนพร้อมกัน  3 คนขึ้นไป ควรปิดชั้นเรียนนั้น เพื่อทำความสะอาด และถ้าเกิดขึ้นหลายๆชั้น ก็อาจจะปิดเป็นระดับชั้นเรียนเช่นปิดชั้นป 5  แต่ถ้าพบมากในหลายระดับก็อาจจะจำเป็นต้องปิดโรงเรียนเพื่อลดการระบาดของโรค ปฏิบัติตามขั้นตอน

8 การทำความสะอาด สามารถใช้น้ำชะล้าง ใช้สบู่ ผงซักฟอกตามสมควร ในกรณีที่ต้องการใช้ยาฆ่าเชื้อโรค  น้ำยาที่มีองค์ประกอบของคลอรีน เช่นน้ำยาล้างห้องน้ำ สามารถฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี

9 เมื่อมีการระบาดควรแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform