หอศิลป์ภูมิภาค 4 แห่งจับมือกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจากชุมชนสู่สากล นำมาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาค ภายใต้โครงการพัฒนาหอศิลป์ร่วมสมัยสู่ภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับผู้แทนจาก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.เชียงราย, ARTCADE จ.พะเยา ,Patani Art Space จ.ปัตตานี และหอศิลป์ร่วมสมัยภูเก็ต จ.ภูเก็ต ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เมื่อวันก่อน หัวใจเอ็มโอยูมุ่งเน้นให้ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนหอศิลป์ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ให้สามารถนำทุนทางศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ผ่านนิเวศทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
ปีนี้ Patani Art Space อาร์ตสเปซแห่งแรกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์รูปแบบร่วมสมัยให้แก่เยาวชนและนักศึกษา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีโอกาสแสดงออกทางวัฒนธรรม เตรียมนำอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเปิดสู่สาธารณะในรูปแบบงานศิลปะร่วมสมัย ภายใต้เทศกาลชื่อว่า “Kenduri Seni Patani 2024” ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี ใช้พื้นที่หอศิลป์ส่วนภูมิภาคแห่งนี้
ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ อาจารย์สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อำนวยการปาตานีอาร์ตสเปซ กล่าวว่า Patani Artspace เริ่มเมื่อปี 2555 ด้วยทุนส่วนตัวในการสร้างพื้นที่แห่งนี้เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรม เปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 12 ปี ที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ศิลปะในจ.ปัตตานี โดยภารกิจสำคัญนอกจากการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปให้กับสถานศึกษาและเด็กเยาวชน ตลอดจนการจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับศิลปะเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปะร่วมสมัยให้กับเครือข่ายที่สนใจ อีกทั้งมีการทำงานในมิติทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน โดยเทศกาลศิลปะ “Kenduri Seni Nusantara ” ถือเป็นกิจกรรมไฮไลต์ปาตานีอาร์ตสเปซจัดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งเทศกาลศิลปะนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในนาม”เทศกาลศิลปะแห่งแหลมมลายู” ปีนี้ร่วมกับสศร. เตรียมจะจัดเทศกาลศิลปะอีกครั้ง ภายใต้ชื่อว่า “Kenduri Seni Patani 2024 “ กำหนดช่วงเดือน ส.ค.จนถึงเดือน พ.ย. 2567 เป็นเวลา 4 เดือนเต็ม
“ เทศกาลศิลปะจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในนิทรรศการ หากเราใช้คำว่า’ Biennale’ ชุมชนจะไม่เข้าใจและไม่รู้สึกใกล้ชิดในความหมาย ดังนั้น จึงมีแนวคิดนำภาษาท้องถิ่นมาใช้ในการสื่อสารกับประชาชน เพราะคำว่า “Kenduri” ในภาษามลายู แปลว่า เทศกาล คำว่า “Seni” แปลว่า ศิลปะ เราหยิบเอาวัฒนธรรมทางภาษาเข้ามาเชื่อม ทำให้ชุมชนเข้าใจและรู้สึกใกล้ชิด ตระหนักในคุณค่าความสำคัญของศิลปะ จะสามารถนำไปสู่เรื่องราวและความคิดสร้างสรรค์ในการนำศิลปะร่วมสมัยเข้าไปอยู่ในวิถีของชุมชน และดึงเอาตัวตนของชุมชนออกมาสู่งานศิลปะร่วมสมัยได้อย่างผสมผสานกลมกลืน” ผอ.ปาตานีอาร์ตสเปซ กล่าว
เวลานี้ศิลปินอาจารย์ เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ เดินหน้าเตรียมความพร้อมของงานในพื้นที่ ดึงนักเรียน นักศึกษาศิลปะในชายแดนใต้ รวมถึงชักชวนชาวปัตตานีมานำเสนออัตลักษณ์ของตนเองให้ผู้มาเยือน ตลอดจนคนรักงานศิลป์ได้สัมผัส โดยเทศกาล” Kenduri Seni Patani 2024” จะมีพิธีเปิดพร้อมกิจกรรมพิเศษ ในวันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2567
ไฮไลต์ของงานในปีนี้แย้มว่าจะมีความหลากหลายของนิทรรศการศิลปะทั้งจากศิลปินชาวไทยและต่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และประเทศในทวีปยุโรป จำนวน 70 คน มาร่วมแสดงงานศิลปะร่วมสมัย ในจำนวนนี้เป็นศิลปินจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้กว่าครึ่ง นอกจากพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหลักที่ Patani Artspace แล้ว ยังจะมีนิทรรศการในรูปแบบของพาวิลเลี่ยน จำนวน 8 แห่ง ในตัวจังหวัดปัตตานี สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ ได้ที่ เพจ Patani Artspace
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประติมากรรมเพื่อชุมชน แหล่งรวมคนเมืองแห่งใหม่
ใจกลางกรุงเทพฯ นอกจากสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดให้กับคนเมืองแล้ว การมีสวนประติมากรรมให้เที่ยวชมย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งนัดพบชาวเมืองแห่งใหม่ เต็มเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในเมืองด้วยผลงานศิลปะที่ชวนให้เราหยุดพัก
7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่
ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน 7 สาขา
ปักหมุดพิพิธภัณฑ์ใน LA ต้องไปชมสักครั้ง
การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศให้สนุกสนาน นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามตระการตาและแหล่งมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า พิพิธภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เราอยากแนะนำให้ไปเยี่ยมชม เก็บเกี่ยวช่วงเวลาพิเศษควรค่าแก่การจดจำ
ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'
12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน
'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่
มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025 เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง และ Mr. David The พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4
5 ศิลปินรุ่นใหม่อัปสกิลศิลปะ หาประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สหรัฐ
คณะศิลปินรุ่นใหม่ 5 คน 5 สไตล์ที่มีผลงานโดดเด่นคว้ารางวัลจากการประกวดโครงการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 : Young Artist Talent 2024 “ เดินทางข้ามทวีปไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมในนครลอสแองเจลิส เมืองศิลปะระดับท็อปของสหรัฐอเมริกา