ขณะนี้ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยวัคซีนต่อเชื้อที่ก่อโรคสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ทั้งของ SEA Vaccine R&D ขององค์การอนามัยโลก และ ของ UK-SEA Vax manufacturing research Hub กับ Sheffield University, UK โดยคาดว่าภายในปีหน้า 2568 น่าจะมีวัคซีนอย่างน้อย 1 ชนิดที่พัฒนาหรือร่วมพัฒนาเข้าสู่การต่อยอดทดสอบในอาสาสมัครต่อไป
6 พ.ค.67 -รายงานข่าวจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปรายงานความคืบหน้า “โครงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19” ณ วันที่ 3 พ.ค.67 โดยตลอดสามปีที่ผ่านมา การศึกษาพัฒนาวัคซีน Chula COV 19 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากทั้งเงินบริจาคและงบประมาณของรัฐบาลนั้น ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ได้มีการวิจัยพัฒนา ดำเนินการผลิต และทำการทดสอบมาอย่างต่อเนื่อง
โดยการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 มีจำนวน 2 รุ่น ประกอบด้วย 1. วัคซีนรุ่นที่หนึ่ง (First generation) Monovalent ใช้เชื้อดั้งเดิม ได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนรุ่นที่หนึ่ง Phase1- 2 อาสาสมัครประมาณ 220 คน จากการฉีดในอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนสองเข็ม ผลการศึกษาพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มสูงกว่าวัคซีนคู่เทียบและไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ และ 2. วัคซีนรุ่นที่สอง (Second generation) เมื่อไวรัสกลายพันธุ์จึงต้องทำการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนรุ่นที่สอง Bivalent Wuhan/Omicron BA.4/.5
จากประสบการณ์ของการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนรุ่นที่หนึ่งทำให้กระบวนการทั้งหลายในวัคซีนรุ่นที่สองทำได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานศักยภาพของประเทศไทยในอนาคตเมื่อเจอโรคระบาดครั้งใหม่ หากกระบวนการสนับสนุนต่างๆในระดับมีความคล่องตัวและรวดเร็ว คาดว่าจะสามารถคิดค้นผลิตวัคซีนและทำการทดสอบเพื่อใช้จริงได้ในเวลาที่รวดเร็วขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป
ปัจจุบันนี้ได้ทำการศึกษาในเฟส 1 และ 2 ของ วัคซีนรุ่นที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ใน 2 ประเทศ และขอสรุปผล ดังนี้1.ในประเทศไทยเฟส 2 จำนวน 450 คน 2.ประเทศ Australia เฟส 2 จำนวน 150 คน 3.เป็นการศึกษา เข็มกระตุ้นหนึ่งเข็ม (booster vaccine) 4.ผลการศึกษาไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงเป็นที่พอใจ ไม่ด้อยกว่าวัคซีนคู่เทียบ และ5.ส่วนการตรวจภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครที่เหลืออีกส่วนหนึ่งของโครงการในออสเตรเลีย กำลังดำเนินการอยู่คาดว่าจะได้ผลครบถ้วนประมาณเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนก่อนที่จะมีการแถลงผลการดำเนินการให้ทางสาธารณะได้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ในการบริหารทุนวิจัยมีกรรมการจากคณะและมหาวิทยาลัยควบคุมดูแลและติดตาม ได้มีการประสานงานกับทางจุฬาฯ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สถาบันวัคซีน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จากการปรับโครงการวิจัยตามสถานการณ์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเป็นไปตามจริง และไม่จำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายให้ครบกรอบทุนวิจัยที่ได้รับการอนุมัติ
โดยเหตุผลสำคัญที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยตัดสินใจไม่ดำเนินการต่อระยะที่สามและขึ้นทะเบียน และได้ดำเนินการคืนเงินรัฐบาล 1,700 ล้านบาท จาก 2,300 ล้านบาทที่รัฐอนุมัติมา ทั้งๆที่วัคซีน ChulaCov19 ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 มีประสิทธิภาพกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และไม่มีปัญหาผลข้างเคียงแต่อย่างใด สรุปเหตุผลที่สำคัญดังนี้
1.ความจำเป็นที่ต้องใช้ วัคซีนโควิดลดลงอย่างมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยสองเข็มและทำให้มีการติดเชื้อมีและภูมิเสริมจากธรรมชาติแล้ว ดังนั้น คำแนะนำด้านการฉีดวัคซีนในระดับนานาชาติและในระดับประเทศได้ปรับเปลี่ยนไป กล่าวคือ ในคนที่อายุน้อยกว่า 75 ปี และไม่มีโรคประจำตัวไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนประจำปี ดังนั้นความต้องการใช้วัคซีนในระดับประเทศจึงลดลงไป และขาดความจำเป็นต้องผลิตในประเทศ แต่ให้มุ่งเน้นไปพัฒนาวัคซีนที่จำเป็นอื่นๆแทน
2.วัคซีนรุ่นที่ 2 หากขึ้นทะเบียน ก็ไม่ตอบโจทย์ เชื้อสายพันธุ์ปัจจุบัน แผนการศึกษามีการปรับตามสถานการณ์ที่คาดการณ์ไม่ได้ เช่น ลักษณะเชื้อที่มีการระบาด ความรุนแรงของโรค
3.บัดนี้ประเทศไทยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ศักยภาพและความสามารถในการวิจัยพัฒนาของคณะแพทย์ และ โรงงานผลิตวัคซีนไทย มีความพร้อมที่ดำเนินการได้รวดเร็ว สำหรับการเผชิญกับโรคระบาดครั้งต่อไป และสามารถพัฒนาวัคซีนอื่นๆที่จำเป็นต่อการการป้องกันรักษาโรคอื่นได้ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่หลายชนิด ได้แก่ วัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV, วัคซีนไข้เลือด, วัคซีนไข้ฉี่หนู และวัคซีนไข้หวัดนกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการระบาด เป็นต้น
สำหรับแผนการและทิศทางระยะยาวของการวิจัยพัฒนาวัคซีนทางคณะมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสามารถและศักยภาพในการขับเคลื่อนการคิดค้นพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่องจากงบบริจาคที่ผ่านมาและลงทุนของคณะและโรงพยาบาล ตลอดจนทุนวิจัยจากรัฐบาล เพื่อเป็นส่วนร่วมกับนานาชาติในความพยายามที่จะทำให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสำหรับป้องกันรักษาโรคที่สำคัญสามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางให้มากที่สุด ทั้งโรคที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง และในกรณีโรคระบาดในอนาคต
ขณะนี้ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยวัคซีนต่อเชื้อที่ก่อโรคสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ทั้งของ SEA Vaccine R&D ขององค์การอนามัยโลก และ ของ UK-SEA Vax manufacturing research Hub กับ Sheffield University, UK โดยคาดว่าภายในปีหน้า 2568 น่าจะมีวัคซีนอย่างน้อย 1 ชนิดที่พัฒนาหรือร่วมพัฒนาเข้าสู่การต่อยอดทดสอบในอาสาสมัครต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19
'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19
โควิดยังไม่แผ่ว! 'กลุ่มเสี่ยง' ยังต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิฯ
โควิดยังอยู่ แพทย์ชี้กลุ่มเสี่ยงยังต้องฉีดวัคซีนโควิด เน้นฉีดกระตุ้นภูมิฯ โดยสามารถฉีดฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา
'รัดเกล้า' สรุปความก้าวหน้าการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด 4 ชนิดในประเทศไทย
นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)