ดนตรีภาษาสากล ถักทอมิตรภาพไทย-รัสเซีย

คณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้าน Pyatnitsky ซึ่งรวบรวมนักแสดงมากฝีมือ ทั้งนักร้อง นักเต้นรำ และนักดนตรีชั้นยอดจากภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย  จัดการแสดงเพลงรัสเซียในรูปแบบศิลปะดั้งเดิมสุดไพเราะ งดงามตระการตา ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ซึ่งคลาคล่ำไปด้วยผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในพิธีเปิดปีแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย – รัสเซีย ปี 2567  โอกาสนี้ นางออลกา ลูย์บีโมวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  เอกอัครราชทูตสหพันธรัสเซียประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เข้าร่วม

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ.  กล่าวว่า ประเทศไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย จัดกิจกรรมเนื่องในปีแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย – รัสเซีย ปี 2567 ซึ่งริเริ่มโดยสหพันธรัฐรัสเซีย  ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการถักทอความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยนำมิติของวัฒนธรรมมาเชื่อมความสัมพันธ์ ซึ่ง 2 ประเทศมีมิตรภาพแน่นแฟ้นกว่า 125 ปี ในปีนี้จะยกระดับความร่วมมือผ่านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตลอดปี สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วยการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซียและปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พิธีส่งมอบเครื่องดนตรีไทยโดยสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เพื่อนำไปจัดแสดง ณ Russian National Museum of Music สหพันธรัฐรัสเซีย และการจัดแสดงนิทรรศการ 2 นิทรรศการ ได้แก่ นิทรรศการประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – รัสเซีย ในหัวข้อ “พระมหากษัตริย์แห่งสยามเสด็จประพาสพระราชวังปีเตอร์ฮอฟ King of Siam. The High Visit to Peterhof” และนิทรรศการภาพถ่ายสถานที่ที่สวยงามในสหพันธรัฐรัสเซีย “Discovering Russia”

“ กาล่าคอนเสิร์ตโดยคณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้านรัสเซีย Pyatnitsky ถือเป็นไฮไลต์ของพิธีเปิดปีแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย – รัสเซีย ปี 2567  เพราะเป็นคณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงที่สุดในรัสเซีย จัดการแสดงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 และแสดงมาแล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก พร้อมคว้ารางวัลคุณภาพมากมาย โอกาสนี้ คณะนักแสดงฯ จัดกิจกรรมเวิร์คชอป Master Class ให้กับเยาวชนไทย 40 คน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของรัสเซียในระหว่างการมาจัดแสดงไทยครั้งนี้ ส่วนปลายปีจะจัดกิจกรรมการแสดงโดยคณะบัลเลต์ของรัสเซียที่มีชื่อเสียง ขณะที่ไทยจะไปจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนที่กรุงมอสโก รัสเซีย เร็วๆ นี้ สำหรับการนำเครื่องดนตรีไทยไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ของรัสเซียเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทยและความมหัศจรรย์ของเครื่องดนตรีไทย ดนตรีเป็นภาษาสากล จะส่งผลให้ชาวต่างชาติรู้จักดนตรีไทยมากขึ้น“ ปลัด วธ. กล่าว

ด้าน รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กล่าวว่า ที่มาของส่งมอบเครื่องดนตรีไทยโดยสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เพื่อนำไปจัดแสดง ณ Russian National Museum of Music  เริ่มเมื่อปี 66 ในโอกาสเดินทางไปประชุมร่วมไทย-รัสเซียที่กรุงมอสโก และมีโอกาสเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ดนตรีแห่งชาติของรัสเซีย เป็นพิพิธธภัณฑ์เก่าแก่และรวบรวมเครื่องดนตรีรัสเซียและนานาชาติ แต่ไม่มีเครื่องดนตรีไทย นำมาสู่การส่งมอบเครื่องดนตรีไทยครั้งนี้ เพราะสถาบันฯ จัดการสอนวิชาสร้างและซ่อมเครื่องดนตรีไทย บุคลากรทั้งอาจารย์และนักเรียนนักศึกษามีความชำนาญสร้างเครื่องดนตรีไทย ทุกคนเต็มใจรังสรรค์เครื่องดนตรีไทย 7 ชิ้น ให้ชาวรัสเซีย ประกอบด้วยซออู้ ซอด้วง จะเข้ ระนาดเอก ขลุ่ย และโทนรำมะนา ครบครันทั้งดีด สี ตี เป่า โดยออกแบบและรังสรรค์ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันฯ ที่จดสิทธิบัตรแล้ว  เป็นงานฉลุทอง

“ ถือเป็นครั้งแรกเครื่องดนตรีไทยจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ดนตรีแห่งชาติรัสเซีย จากนั้นสถาบันฯ จะจัดส่งคำบรรยายความเป็นมาและลักษณะทางกายภาพ ลักษณะเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นให้พิพิธภัณฑ์ ถ้ามีโอกาสจะนำคณะนักดนตรีไทยไปจัดแสดงด้วย เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมและความไพเราะของดนตรีไทย คาดหวังการเผยแพร่เครื่องดนตรีไทยให้ปรากฏ จะนำมาสู่การเล่นเครื่องดนตรีไทยในต่างประเทศ หากประเทศอื่นๆ สนใจก็ยินดีจัดสร้างเครื่องดนตรีไทยให้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและกระชับสัมพันธ์เข้าไว้ด้วยกัน “ รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา กล่าวหลังส่งมอบเครื่องดนตรีไทยและนำนักศึกษารั้วสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาบรรเลงระนาด เป็นภาษาดนตรีที่เป็นเครื่องยินยันถึงความงอกงามของมิตรภาพไทย-รัสเซีย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหรสพสมโภชในหลวง 72 พรรษา จัดใหญ่สนามหลวง

3 ก.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแถลงข่าวงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ชงบูรณะพระนอนเก่าแก่ 1,300 ปี รับครม.สัญจรโคราช

1 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะนำเสนอเรื่องการจัดงานมหรสพสมโภชเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระช

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

วธ.ส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ลุยเผยแพร่เทรนด์บุ๊กออกแบบผ้าไทยที่ภาคเหนือ ดึงดีไซเนอร์ดังหนุนฉีกกรอบ

วันที่ 28 มิ.ย.2567 นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ดำเนินงานโครงการเสวนาวิชาการ

องคมนตรีเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 27 มิ.ย.2567 เวลา 13.00 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติ