'อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์'แท่นสลายพลัง ' ลดมลภาวะทางเสียง-แรงสั่นสะเทือนรถไฟ'

การขยายตัวของระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทย ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคิดหาทางลดผลกระทบที่เป็นมลภาวะทางเสียง  และแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟ ที่รบกวนคุณภาพชีวิตชุมชนและบริเวณใกล้เคียงที่รถไฟวิ่งผ่าน  ซึ่งในต่างประเทศ ใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการลดเสียงจากต้นกำเนิด หรือปรับการสั่นสะเทือนด้วยการติดตั้งแท่งสลายพลังงาน (Track Damper) บนรางรถไฟ    สำหรับประเทศไทย ได้นำแนวคิดนี้มาวิจัยพัฒนาต่อยอดจนได้ผลงานที่ชื่อว่า“อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์”ซึ่งเป็นแท่นสลายพลังงานลดมลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนบนรางรถไฟ ที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้วัสดุที่เป็นส่วนผสมจากยางธรรมชาติ  และวัสดุรีไซเคิล หรือเรียกว่าเป็น BCG recycled 100% ซึ่งผลงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลจีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง เผยว่า สจล.ได้มีแนวคิดในการประยุกต์ใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อให้สามารถลดมลพิษทางเสียงและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ส่วนผสมจากยางธรรมชาติภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)กระทรวง อว. ร่วมกับ บริษัท AUT ผู้ผลิต Track Damper ส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้เกิดเป็น อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์ (GreenTuned Rail Damper) เป็นรายแรกของโลก ที่สามารถช่วยลดมลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนบนรางรถไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ล่าสุดได้มีการลงนามระหว่างบพข.สถาบันเทคโนโลจีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  เอกชนไทยโดย บริษัท เอ. ยู. ที. จำกัด(AUT) บริษัท M&S Engineering ประเทศออสเตรเลีย และ บริษัท UUDEN Rail Products ประเทศเนเธอร์แลนด์ในการผลิต  เพื่อขยายผลในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  ด้วยการส่งออกไปจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลียเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. พร้อมด้วย ดร.นคร จันทศร อนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด นายธรณิน ณ  เชียงตุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ.ยู.ที. จำกัด และตัวแทนจากบริษัทเอกชนไทย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ร่วมเป็นสักขีพยาน

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า โครงการนี้นับเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดมลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนบนทางรถไฟด้วย Green Technology โดยได้มีการพัฒนาวิธีการติดตั้งแดมเปอร์แท่งสลายพลังงานบนรางรถไฟจากวัสดุ BCG สามารถ recycled 100%ด้วยการใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม ทำให้ได้อีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์จากส่วนผสมยางธรรมชาติซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว วิธีการนี้ยังทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผลทั้งยังเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรของไทยด้วย  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างนิเวศอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ จึงถือเป็นการยกระดับความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งพาตนเองในระดับประเทศ และขับเคลื่อน BCG ของประเทศไทย

ตัวอย่างแท่นไอีโค่-สมาร์ตแดมเปอร์ไแท่นสลายพลัง

ผศ.ดร.รัฐภูมิ   กล่าวเสริมประเด็นนี้ว่า เราได้ร่วมมือกับ บริษัท AUT ซึ่งเดิมทีทางบริษัทฯเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญ ซึ่งก็คือ Track Damper และส่งออกไปต่างประเทศมากกว่า 300,000 ชิ้นและมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการขยายตัวของระบบรางทั่วโลกโดยวัสดุส่วนใหญ่นั้น   เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมีแหล่งกำเนิดที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น  โครงการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเพิ่มความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการแทนที่เนื้อวัสดุบางอย่างด้วยวัสดุในประเทศ 2 ชนิดคือยางพาราและเศษยางรถยนต์เก่าและเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความอัจฉริยะด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดและวิเคราะห์  การเคลื่อนผ่านของการรถไฟด้วยระบบ AI และ IOT ทำให้  นอกจากเพิ่มมูลค่าจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วระบบเซ็นเซอร์ฝังตัวอัจฉริยะยังสามารถใช้เป็นระบบตรวจวัดเพื่อการแจ้งเตือนและเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนบำรุงรักษาได้อีกด้วย  โดยเราได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทในประเทศออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายในการส่งผลิตภัณฑ์ของเราออกไปขายยังทวีปยุโรป เอเชีย และออสเตรเลียเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยและสร้างรายได้เข้าประเทศ

หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาระบบราง สจล. กล่าวอีกว่า จุดเด่นผลิตภัณฑ์  Track Damper  ที่วิจัยและพัฒนราขึ้นใหม่นี้คือ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางเสียงจากรถไฟ สามารถลดเสียงดังที่ต้นเหตุ ได้ตั้งแต่ 3 – 7 เดซิเบล   สามารถเพิ่มสมรรถนะของทางรถไฟ ลดวงรอบการซ่อมบำรุงจากการเจียรราง อีกทั้ง ติดตั้งง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษา คุ้มค่ากว่ากำแพงกันเสียง

ส่วนวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุ BCG recycled ได้ 100%  ซึ่งสามารถใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมได้ถึง 50% ของวัสดุพอลีเมอร์สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษต  นอกจากนี้ ยังเป็นการ ยกระดับจากอุตสาหกรรมจาก Tire 3 สู่ Tier 1 ที่ออกแบบผลิตและทดสอบโดยนักวิจัยไทย ร่วมกับบริษัทเอกชนไทยโดยใช้วัสดุในประเทศ 100% ทำให้เกิดองค์ความรู้และการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยคนไทย ผลงานที่ได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการและใช้จริงในประเทศไทย ทั้งรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมืองและมีความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) อยู่ในระดับ  8 พร้อมสำหรับการต่อยอดในเชิงพาณิชย์

“สรุปในภาพรวม ถือได้ว่าผลงานนี้  ช่วยยกระดับและสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ  โดยเรามีเป้าหมายส่งออกไปยังทวีปยุโรป เอเชียและออสเตรเลีย เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ”ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าว.


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สจล. – ซีพีเอฟ บูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

สจล.จัดกอล์ฟประเพณี8เกียร์ รวมพลัง8สมาคม ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล., คุณชัยพจน์ ตันตระวิวัฒน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และรศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แถลงเปิดตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดวลวงสวิงครั้งยิ่งใหญ่ ‘กอล์ฟประเพณี 8 เกียร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2566’ (8 GEARS TRADITIONAL GOLF TOURNAMENT ENGINEERING ALUMNI ASSOCIATION) ในวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ณ สนามบางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธานี