กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2567 “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน สร้างมิติใหม่ให้วัฒนธรรมมีความร่วมสมัย ยกระดับขีดความสามารถของดนตรี พัฒนาเทคนิคทางการแสดง ให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย
โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างผลงานไว้ ซึ่งแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคจะมีเอกลักษณ์ของดนตรีและการแสดงพื้นบ้านเฉพาะตัวที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันดนตรีและการแสดงพื้นบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ หากไม่ช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษาและต่อยอด อาจจะเสี่ยงต่อการสูญหายได้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริม อนุรักษ์ ผลักดันให้ศิลปะ ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค ให้คงอยู่ ผ่านการสานต่ออย่างสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนมาตลอดตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 16 ผ่านกิจกรรมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน สำหรับการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านในปีนี้ ยังคงจัดประกวดภายใต้แนวคิด “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 ปีนี้เป็นปีที่ 6 โดยเปิดโอกาสให้คณะนักแสดงได้มีโอกาสในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม วรรณคดี วรรณกรรมพื้นบ้าน ประเพณี ที่สื่อให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค
รมว.วธ. กล่าวอีกว่า การประกวดนี้ เป็นการรักษาต่อยอด จะช่วยไม่ให้ดนครีพื้นบ้าน ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสูญสิ้นไป ที่สำคัญองค์สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน ทรงอุปถัมภ์ทำนุบำรุง ดนตรีไทย ศิลปวัฒนธรรมมาอย่างสม่ำเสมอ ทรงมีพระปรีชาสามารถ เล่นซอด้วง ระนาด ขับร้องเพลงไทยเดิม ทำให้วันที่ 2เมษายน ที่เป็นวันพระราชสมภพ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย
“กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระปรีชาเรื่องดนตรีไทยมาก และทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ดนตรีไทยมาโดยตลอด เดือนมิถุนายน ของทุกปีจะทรงดนตรีไทย กับบรรดาครูดนตรีไทยอาวุโส แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฉะนั้นการประกวดดนตรีพื้นบ้านครั้งนี้ จึงแสดงถึงความจงรักภักดีและการเฉลิมพระเกียรติต่อพระองค์ การประกวดครั้งนี้ จึงเป็นการประกวดที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง จึงอยากฝากกรรมการตัดสินทั้ง 4ภาค ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ให้คนดี คนเก่ง เป็นผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ซึ่งจะทำให้การประกวดมีความยิ่งใหญ่ ยั่งยืน นับเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี เท่ากับการธำรงไว้ของการรักษาชาติ ” นายเสริมศักดิ์กล่าว
ด้าน นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมเสริม กล่าวต่อว่า สำหรับปีพุทธศักราช 2567 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อมุ่งส่งเสริม รักษา ต่อยอด และเปิดพื้นที่ให้ศิลปินพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ทั้งเด็ก เยาวชน และประชาชนได้มีโอกาสร่วมถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดง และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปสู่สายตาประชาชน ซึ่ง สวธ.เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมประกวดมาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีคณะนักแสดงที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ภาคละ 5 คณะ รวมทั้งสิ้น 20 คณะ
ตารางการประกวดและทีมเข้ารอบ ภาคเหนือ ประกอบด้วย คณะกาสะลองเงิน จังหวัดเชียงราย, คณะลูกบัวสวรรค์ประทุมธานี ,คณะลูกน้ำของ โรงเรียนอนุบาลน้ำของ จังหวัดเชียงราย, คณะคุ้มข้าวสตูดิโอ จังหวัดเชียงใหม่ และคณะต้นกล้าดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกวดในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 ณ Convention Hall เซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่
ภาดกลางมีคณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร,คณะวิทยาลัยนาฎศิลปอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง,ดณะช่อพิกุล (วิทยาลัยนาฎศิลปสุพรรณบรี) จังหวัดสุทรรณบุรี,คณะสืบสานศิลปิ จังหวัดนครปฐม,คณะละโว้เทพศิลปิ จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือ ประกวดในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567 ณ Convention Hall เซ็นทรัล เวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคณะสิดอกศิลป์ถิ่นสกล จังหวัดสกลนคร,คณะโรงเรียนบ้านหนองบง จังหวัดนดรราชสีมา,ดณะวงโปงลางหลานย่าโม จังหวัดนครราชสีมา,คณะวงโปงลางศิลป์ลำปาว สาวภูไท จังหวัดกาหสินธ์และ ดณะมหาชุมพล จังหวัดศรีสะเกษ ประกวดในวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ Convention Hall เซ็นทรัล อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ภาดใต้ คณะเพชรนคร จังหวัดนดรศรีธรรมราช ,คณะเสน่ห์ศิลปีนทักษิณา จังหวัดพัทลุง,คณะโรงเรียนนาทวีวิทยาดม จังหวัดสงขลา, คณะกันต์ยารมณ์ จังหวัดสงขลาและคณะโรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง ประกวดในวันพุธที่ 18 มิถุนายน 2567 ณ Convention Hall เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สำหรับผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภทจะได้รับรางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร 4. รางวัลชมเชย ภาคละ 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รางวัลละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สคส.กรมสมเด็จพระเทพฯ
กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานพรปีใหม่ 2568 ปีมะเส็งงูเล็กแก่พสกนิกรไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล ชีวิตก้าวหน้า
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย'
29 ต.ค.2567 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน“สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย ครั้งที่ 26 ” ณ ลิฟวิ่ง ฮอลล์ ชั้น 3 สยามพารากอน
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์ ณ เอ็มสเฟียร์
18 ต.ค.2567 - เวลา 14.30 น.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน “เทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์” โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ณ เอ็ม กลาส
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่'
1 ต.ค.2567 - เวลา 9.04 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ภายใต้แนวคิด "รักษา กายา