ไทยอวด'วิญญาณข้ามสมุทร' งานเวนิส เบียนนาเล่

เริ่มแล้วนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ผลงานศิลปะที่จะแสดงศักยภาพศิลปินไทยและอาเซียนบนเวทีระดับโลก งานนี้ มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายพันธมิตรชวนเที่ยวงาน The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 (The 60th International Art Exhibition, La Biennale di Venezia) เหล่าศิลปินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รังสรรค์ผลงานจากการสำรวจเรื่องราวการย้ายถิ่น การพลัดถิ่น และการล่าอาณานิคมข้ามทะเล เหมือนการนำพาแม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกับแกรนด์คาแนลในอิตาลี  ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ รับหน้าที่ภัณฑารักษ์ โดยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ – 24 พฤศจิกายน 2567 ที่ Palazzo Smith Mangilli Valmarana ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี

นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ประกอบด้วยสื่อหลากหลายประเภท ทั้งภาพวาด ประติมากรรม สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง โดยศิลปิน 15 คนจากกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว  เมียนมาร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศไทย ร่วมนำเสนอความเป็นจริงที่ซับซ้อน เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ อันหลากหลายของภูมิภาคนี้ ควบคู่ไปกับคำบอกเล่าของชาวตะวันตกและเมืองเวนิสที่มีลักษณะแตกต่างออกไป ไฮไลท์ ของนิทรรศการ ได้แก่ ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ศ. ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ นำแสดงโดยศิลปินการแสดงชื่อดัง Marina Abramović และศิลปินนาฏศิลป์ไทยและนักออกแบบท่าเต้น พิเชษฐ กลั่นชื่น  นอกจากนี้ ยังมีภาพยนตร์ เช่น Calling for Rain โดย Khvay Samnang, Hunting & Dancing: 15 years โดย Moe Satt, There’s no Place โดย จักกาย ศิริบุตร, The Sea is a Blue Memory โดย Priyageetha Dia และผลงานมากมายที่นำเสนอผ่านสื่อหลากหลายประเภท

The Spirits of Maritime Crossing เป็นการเดินทางจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเวนิส ผ่านประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการพลัดถิ่นในมุมมองของผู้อยู่ห่างไกลทั้งกายและใจจากบ้านเกิดของตน ศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ ในขณะที่ก็ยังมีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษาด้วย บางครั้งสามารถสร้างความรู้สึกผิดแปลกในหมู่พวกเขาได้ มรดกของประเทศเหล่านี้ปรากฏชัดในสิ่งที่เรียกว่า ‘วัฒนธรรมลูกผสม’ ซึ่งได้แก่ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ และคนไร้สัญชาติ

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ กล่าวว่า เรามีความยินดีที่ได้นำเสนอผลสำรวจของศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่ผู้ชมนานาประเทศในซีกโลกเหนือ จัดตรงกับงาน International Art Exhibition — La Biennale di Venezia ก่อนงานเบียนนาเล่ของกรุงเทพฯ เองในเดือนตุลาคม 2567 ยิ่งไปกว่านั้น ภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่ที่แสดงโดย Marina Abramović ศิลปินชื่อก้องโลก ผู้ชนะรางวัล Golden Lion ที่ Venice Biennale ในปี 1997 ได้ร่วมอยู่ในนิทรรศการด้วย เนื้อหาของภาพยนตร์และนิทรรศการเป็นเรื่องการเดินทางทางทะเล การย้ายถิ่น และการพลัดถิ่น สัมพันธ์โดยตรงกับนิทรรศการหลัก เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ได้เห็นการทำงานร่วมกันเช่นนี้ทั่วเวนิส

สำหรับรายชื่อ 15 ศิลปินจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศิลปินชื่อดังไปจนถึงศิลปินหน้าใหม่ที่มีพรสวรรค์ ที่ร่วมแสดงงานในครั้งนี้ นำโดย มารีน่า อบราโมวิช (เซอร์เบีย สหรัฐอเมริกา) พิเชษฐ กลั่นชื่น (ไทย) ปรียากีธา ดีอา (สิงคโปร์) จิตติ เกษมกิจวัฒนา (ไทย) นักรบ มูลมานัส (ไทย) จอมเปท คุสวิดานันโต (อินโดนีเซีย) บุญโปน โพทิสาน (ลาว) อัลวิน รีอามิลโล (ฟิลิปปินส์) คไว สัมนาง (กัมพูชา) โม สัท (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า-เนเธอร์แลนด์) จักกาย ศิริบุตร (ไทย) เจือง กง ตึง (เวียดนาม) นที อุตฤทธิ์ (ไทย) กวิตา วัฒนะชยังกูร (ไทย) และ หยี่ อิ-ลาน (มาเลเซีย)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน

ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา

นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’

Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ