รหัสลับ 80/20 กระตุ้นผู้สูงวัยรักษาฟันแท้ให้เหลือ 20 ซี่

สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร เปิดสูตร 80/20 รหัสลับ ชีวิตดีผู้สูงอายุ หลังสำรวจพบ ผู้สูงอายุ กทม อายุ 60 ปี ร้อยละ 57 มีฟันเหลือไม่ถึง 20 ซี่ กระตุ้นผู้สูงอายุรักษาปัญหาสุขภาพในช่องปากอายุ 80 ปีต้องมีฟันแท้เหลือ 20 ซี่


15 เมษายน 2567-ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาและปัญหาสุขภาพในช่องปากถือเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุทั่วประเทศและใน กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพในช่องปาก เนื่องในเทศกกาลวันสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานครจัดเวทีเสวนา “ประสาคนสูงวัย “หยุดสูงวัยไว้แค่ 60 “ ด้วยการรักษาสุขภาพในช่องปาก ใน ประเด็น”8020 รหัสลับ ชีวิตดี ยามสูงวัย” “ เพื่อเตรียมฟันดีก่อน60ปี ได้คุณภาพชีวิตที่ดี

นางกรกมล นิยมศิลป์ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รักษาการผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว ในปี 2563 ขณะที่การสำรวจปัญหาสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุพบว่าร้อยละ 51.07 หรือ กว่าครึ่งของผู้สูงอายุมีโรคฟันผุและร้อยละ 12.2 ของผู้สูงอายุมีโรคปริทันต์ระดับรุนแรง


“ เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบกับ การเคี้ยวอาหาร , การกลืน , การพูด และ การเข้าสังคม ดังนั้นการรักษาสุขภาพในช่องปากทำให้ผู้สูงอายุ ไม่เจ็บปวด ไม่มีกลิ่นปาก กินอาหารได้ตามปกติ ลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอดติดเชื้อจากการสำลัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้”


นางกรกมล กล่าวอีกว่า สาเหตุของปัญหาสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งมาจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ,ความดันโลหิตสูง และ ผู้สูงอายุสูบบุหรี่ เฉลี่ย10มวนต่อวัน ต่อเนื่องนานมากกว่า 35 ปี และยังพบว่าพฤติกรรมการทำความสะอาดฟันยังไม่ดีพอ โดยใช้ยาสีฟันไม่มีส่วนผสมฟลูออไรด์


“ในรอบปีที่ผ่านมามีผู้สูงอายุ ร้อยละ61ไม่เคยเข้ารับบริการทันตกรรม มีเพียงร้อยละ 39 เคยเข้ารับบริการทันตกรรม เฉลี่ยประมาณคนละ 2 ครั้งต่อปี”

นอกจากนี้ยังพบข้อมูลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของประเทศไทยครั้งล่าสุดปี2560 ว่าเมื่อเข้าวัยสูงอายุคือ 60 ปีจะเหลือ ฟันเพียง 18 ซี่ และ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น จนเมื่ออายุ 80 ปี เหลือฟันเพียง 10 ซี่ ดังนั้นเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยตั้งเป้าไว้ “ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ มีฟันแท้ 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบฟันหลัง”


“ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีฟันเหลือ 20 ซี่ เพราะฉะนั้น เราจะรณรงค์การรักษาฟันแท้ให้ได้ 20 ซี่ไปจนถึงอายุ 80 ปี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก และถือเป็นรหัสลับ 80 20 ที่เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยพื้นที่เป้าหมายในการณรงค์สร้างสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ แพร่, ลำพูน, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, นครปฐม, สิงห์บุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี และ กรุงเทพมหานคร

ด้าน ทพ. เธียรชัย วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง ข้อมูลสุขภาพในช่องปากของวัยทำงานในกทม. มีฟันใช้งาน 20 ซี่ หรือมีฟันหลังใช้เคี้ยวอย่างน้อย 4 คู่สบ ร้อยละ 85 แต่ลดลงเหลือร้อยละ 57 ในวัยผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบมากในผู้สูงอายุกทม. ทั้งปัญหาการบดเคี้ยวเนื่องจากสูญเสียฟัน ปัญหาฟันผุ ฟันสึก รากฟันผุ และปัญหาโรคปริทันต์อักเสบ ปัญหาอื่น ๆ


อย่างไรก็ตาม นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงทำงานร่วมกับเครือข่าย ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ (Active Aging) ในชมรมผู้สูงอายุในกทม. 410 แห่ง และชมรมในความดูแลของสำนักอนามัย 259แห่ง เพื่ออบรมแกนนำชมรมผู้สูงอายุในส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่นการตรวจคัดกรอง การสอนและฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากแก่สมาชิกชมรม การจัดกิจกรรมแปรงฟันในชมรมผู้สูงอายุ การให้บริการทาฟลูออไรด์วานิช เป็นต้น


สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการสูญเสียฟัน ตั้งแต่วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ คือ 1.การดูแลทำความสะอาดช่องปาก อย่างเหมาะสม แปรงฟันสูตร 222 (แปรงวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม แปรงนานอย่างน้อย 2 นาที ไม่ทานอาหาร 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟัน)2. รับประทานอาหารที่เหมาะสม เลี่ยงอาหารหวาน เหนียว แข็ง3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การใช้ฟันผิดวิธี การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมาก เป็นต้น4. หมั่นตรวจสุขภาพช่องปากของตนเองเป็นประจำ และหมั่นบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และนวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย5. รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ปีละ 1- 2 ครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ

นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..