ปีนี้โรงเรียนราชินีครบ 120 ปี ย้อนประวัติศาสตร์ไปวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และจักรเพชร “โรงเรียนราชินี” ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นสถานที่สำหรับสตรีไทยได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งมีความชำนาญทางการช่างฝีมือที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ มีการอบรม ศีลธรรม จรรยา และมารยาท เพื่อยกระดับสตรีไทยให้พรั่งพร้อมไปด้วยความรู้ความสามารถรอบด้าน เมื่อมีการเปิดสอนสักระยะ ย้ายมาอยู่ที่ตึกสุนันทาลัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งของโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน และยังคงเปิดการเรียนสอนมาจนทุกวันนี้
เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนราชินี และพระกรุณาธิคุณในพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี โรงเรียนราชินีจัดปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับการศึกษาของสตรีไทย” โดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯลฯ และเสวนาวิชาการเรื่อง โรงเรียนราชินี : มุมมองประวัติศาสตร์พื้นที่และสถาปัตยกรรมของอาคารสุนันทาลัย โดย รศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนารมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร งานจัดขึ้นวันที่ 1 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา
ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ กล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน อาทิ การเมืองการปกครอง การศึกษา ประเพณีวัฒนา ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเจ้านายฝ่ายในซึ่งสมัยก่อนเปรียบดั่งช้างเท้าหลังของพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ที่มีความสนพระทัยในการพัฒนาสตรีไทย โดยเฉพาะด้านการศึกษา ไม่จะวิชาสามัญหรือการผดุงครรภ์ อดีตการก่อตั้งโรงเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณวัด เพราะการเล่าเรียนต่างๆ ถูกสอนอยู่ในวัด ดังนั้นมีแต่โรงเรียนบุรุษ ซึ่งโรงเรียนราชินีถือเป็นโรงเรียนฝ่ายสตรีแรกๆ ในสมัยนั้น ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ทรงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียน บริเวณระหว่างถนนอัษฎางค์ และถนนจักรเพชร ตำบลปากคลองตลาด ปัจจุบันคือ แขวงวังบูรพาภิรมย์ ทรงมีความใส่พระทัยติดตามการดำเนินกิจการด้านต่างๆ ในโรงเรียน ทั้งการคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู การกำหนดเงินเดือน เป็นต้น
“ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ โปรดให้จ้างครูจากประเทศญี่ปุ่น 3 คน มาสอนภาษาอังกฤษ คำนวณ วิทยาศาสตร์ วาดเขียน เย็บปักและการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง โดยมีมิสเทตสุ ยาซูอิ เป็นอาจารย์ใหญ่ ต่อมาทรงจ้างสตรีไทยเป็นครูสอนภาษาไทยและการตัดเย็บเสื้อผ้าอีก 1 คน มีการเปิดรับนักเรียนกินนอนขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในปี 2448 ปีต่อมาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนราชินีได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่สุนันทาลัย ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนราชินีปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา 120 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนราชินีได้สร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพและมีผลงานที่ได้รับการยอมรับของสังคมทุกสาขาอาชีพ ทั้งแพทย์ เภสัชกรรม การศึกษา กฎหมาย การเมือง สังคมสงเคราะห์ วรรณกรรม ตลอดจนวงการบันเทิง”ศ.พิเศษ ธงทอง กล่าว
สตรีไทยจากรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้รับการศึกษาจากโรงเรียนราชินี โดยเฉพาะสายพระราชวงศ์จักรี อาทิ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าฉายภาพผ่านอาคารสุนันทาลัย โรงเรียนราชินี ต้นแบบการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทย รศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง กล่าวว่า อาคารสุนันทาลัยสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นอนุสรณ์หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือสมเด็จพระนางเรือร่ม อดีตเป็นโรงเรียนสุนันทาลัย แต่ปิดกิจการลงปี พ.ศ.2445 ต่อมาปี พ.ศ.2448 กระทรวงธรรมการใช้เป็นอาคารเก็บรักษาพัสดุและจัดตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษเพื่อสอนภาษาอังกฤษ ปีต่อมา ร.ร.ย้ายออกไป จึงมาเป็นที่ตั้งอาคารเรียนของโรงเรียนราชินี ซึ่งย้ายมาจากฝั่งถนนอัษฎางค์
“ จากการสันนิษฐานตัวอาคารสุนันทาลัยรับเหมาและก่อสร้าง โดยโยอาคิม กรัสซี สถาปนิกชาวอิตาลีกลุ่มแรกๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตึกขนาดใหญ่ 2 ชั้น 2 หลัง มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุโรปมีการบูรณะซ่อมมาโดยตลอด เพราะมีอายุกว่า 100 ปี แบ่งเป็นอาคารฝั่งเหนือริมน้ำเจ้าพระยา มีลักษณะโดมอยู่ตรงกลาง มีมุขยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้คล้ายกับรูปกากบาท มีระเบียงโถงรอบอาคาร ตัวอาคารประดับด้วยช่องโค้งและกระจกสีอย่างดี มีการทำเสาอิงประดับลวดลายปูนปั้นแบบตะวันตก หน้าบันมีอักษรระบุคำว่า ‘Royal Seminary ‘ สันนิษฐานได้ว่า เป็นตึกที่สอนเกี่ยวกับพระคัมภีร์ ปัจจุบันชั้นบนใช้เป็นห้องเรียนดนตรีไทย ชั้นล่างใช้เป็นพื้นที่โรงอาหาร อาคารฝั่งใต้ คือตึกนาฬิกา หลังจากทรุดโทรมได้บูรณะสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ ใช้นามว่า ‘สว่างวัฒนา’ ปัจจุบันใช้เป็นหอประชุม ส่วนอาคารสุนันทาลัยริมน้ำเจ้าพระยายังคงได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ” รศ.ดร.พีรศรี กล่าว
ด้าน รศ.ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนารมย์ เล่าว่า พื้นที่ตั้งของ ร.ร.ราชินี ส่วนหนึ่งอยู่ในเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่นเดียวกับกรณีการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณมิวเซียมสยาม เป็นที่ตั้งของป้อมเมืองบางกอก อยุธยาตอนปลาย ต่อมาเป็นที่ตั้งของป้อมมหาฤกษ์ วังท้ายวัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น พ.ศ.2550 โรงเรียนราชินีมีการปรับปรุงพื้นที่ ทำให้ต้องมีการขุดศึกษาและพบเครื่องถ้วยต่างประเทศ อาทิ ขวดน้ำแร่ ประเทศสิงคโปร์ เครื่องถ้วยจากประเทศจีน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เครื่องหอม ขวดแก้วต่างๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่บนอาคารสุนันทาลัย
ตลอดปี 67 นี้จะมีกิจกรรมสำคัญจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อฉลองครบรอบ 120 ปี โรงเรียนราชินี ร่วมรำลึกความทรงจำกับนิทรรศการทางวิชาการราชินีนิทรรศน์ระหว่างวันที่ 21-23 ส.ค. , งาน 120 ปีราชินีแรลลี่ วันที่ 31 ส.ค. , คอนเสิร์ตการกุศล 120 ปี โรงเรียนราชินี วันที่ 30 พ.ย. และงานคืนสู่เหย้าพิกุลแก้วสู่สวนขวัญ วันที่ 21 ธ.ค. ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวทางเพจ 120 ปีราชินี ศักดิ์ศรีกำจรจาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รุ่นใหญ่ปะทะเดือด! 'ไพศาล' ตอก 'ขรัวธงทอง' คนนี้แหละ ที่ไปดูที่ทางให้ 'ทักษิณ' นั่งในวัดพระแก้ว
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ทนายความ โพสต์ข้อความว่า ธงทอง (จันทรางศุ) แสดงความห่วงใย ม็อบสนธิ ว่าเป็นผู้สูงวัย เกรงว่าจะเป็นลม
คอนเสิร์ต 120 ปี ราชินี สุนันทาลัยจะไม่เลือนหาย
อาคารสุนันทาลัย อนุสรณ์สถานแสดงความอาลัยรักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีต่อพระมเหสี สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม ต่อมาได้พระราชทานให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี
'ธงทอง' เผยนั่งคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกฯ สานงานต่อยุครัฐบาลเศรษฐา
นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ 2 สัปดาห์ ตนได้รับการประสานจากนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า ยังมีงานที่ตนทำค้างอยู่ในด้านต่างๆ ที่ตนรับผิดชอบในช่วงที่เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
'ชูศักดิ์' อ้าง 'ธงทอง' คอนเฟิร์มทักษิณใส่เครื่องแบบขาวปกติได้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีการใส่ชุดปกติขาวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะสามารถใส่ได้หรือไม่ ว่า ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
'ธงทอง' แจงแล้ว หลังโพสต์คนในกระบวนการยุติธรรมบ่นทำคดีตามธง
นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่เคยโพสเฟซบุ๊คเมือปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าคนในกระบวนการยุติธรรมบ่นว่าต้องทำคดีตามธง ซึ่งขัดหลักการหลักกฎหมาย และส่งผลเสียระยะยาว ว่า เป็นเรื่องของคนบ่นจุกจิกจู้จี้ทั้งหลาย
'ธงทอง' เปิด 7 ปมย้ายอุเทนถวายพ้นที่ดินจุฬาฯ
ศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีย้าย-ไม่ย้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย หลังศาลปกครองสู