BDMS ทุ่มทุน'นวัตกรรมทางการแพทย์'เต็มสปีด ลงขันCARIVA พัฒนา AI วิเคราะห์โรค

การรักษาในเชิงป้องกันโรค (Preventive Care) ก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยจริงๆ ย่อมมีประโยชน์มากกว่าการรักษาหลังจากเกิดอาการเจ็บป่วยแล้ว  แต่การป้องกันซึ่งต้องมีขั้นการตรวจวิเคราะห์ประมินผลจากแพทย์ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น หากมีเครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่มาเป็นตัวช่วยป่วย ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยแพทย์ในการวิเคราะห์รายละเอียดของผู้ป่วย   ในยุคปัจจุบันนั้นก็คือ การนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI ที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างมาก นับว่าเป็นการยกระดับการบริการทางการแพทย์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ตัดสินใจร่วมลงทุนใน CARIVA (แคริว่า) บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นนำของไทย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ Medical Large Language Models (Medical LLMs) เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อพัฒนาต่อยอดกับกระบวนการตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ (Lab Interpretation Solution) เพื่อแปลผลวิเคราะห์ และให้ข้อมูลการตรวจแล็บที่อาจเกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาโรคที่เป็นความเสี่ยงสำคัญของผู้ป่วย

 การใช้งาน AI โดยปรับให้เข้ากับแนวทางค้นหาเชิงป้องกันกับคนสุขภาพดีนั้น เป็นหนึ่งในโครงการ Sandbox ของ BDMS ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ ด้วยการพัฒนานวัตกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1.ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการคัดกรองและวินิจฉัยโรค 2.การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการและเพิ่มความแม่นยำ 3.เทคโนโลยีเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ 4.เทคโนโลยีเพื่อการติดตามผลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และ5.เทคโนโลยีเพื่อการบริการทางการแพทย์อย่างยั่งยืน  

 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา BDMS ได้ให้ทุนสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพไปแล้ว 4 แห่ง และร่วมพัฒนานวัตกรรมร่วมกับสตาร์ทอัพในประเทศไทย ปัจจุบันได้นำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่เหล่านี้ไปใช้งานได้จริงแล้ว 7 โครงการ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนามาตรฐานบริการทางการแพทย์ และการบริการด้านสุขภาพ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์

ดร. พัชรินทร์ บุญยะรังสรรค์

ดร. พัชรินทร์ บุญยะรังสรรค์ ผู้ช่วยประธานฝ่ายนวัตกรรมองค์กรยั่งยืน บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมา BDMS ได้ดำเนินงานตามแผนการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ 1,500 ล้านบาท ในรูปแบบการสนับสนุนเงินลงทุนระดับ Serie A เพื่อพัฒนานวัตกรรมร่วมกับสตาร์ทอัพไทย โดยมีนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานจริงแล้ว ได้แก่ โครงการ Perceptra ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อ่านผลเอกซเรย์สำหรับผู้ช่วยรังสีแพทย์ โครงการ Mineed หรือ เข็มเล็กละลายใต้ชั้นผิว (Microneedle) ที่ช่วยนำยาเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “อูก้า” (OOCA) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชัน “บีดี” (BeDee) การบริการพบแพทย์และเภสัชกรแบบทางไกล หรือ Telehealth และ Tele-pharmacy รวมถึงการสั่งยา (Tele Medicine) ซื้อหาสินค้าเวชภัณฑ์ (Health Mall) และศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ (Health Content) ซึ่งจะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น และล่าสุด คือ “แคริว่า” (CARIVA) ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ (AI) วิเคราะห์โรคเฉพาะบุคคล

“โครงการที่ BDMS เข้าไปสนับสนุนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Sandbox ที่ BDMS ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ ให้เข้ามาช่วยพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์ ตามเจตนารมย์ของเราที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรม Healthcare ให้เกิดความยั่งยืน “ดร.พัชรินทร์กล่าว

ส่วนการนำนวัตกรรม AI เข้ามาใช้งานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้กับแพทย์ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดร.พัชรินทร  กล่าวว่า  การพัฒนานวัตกรรม AI นั้น ไม่สามารถทำสำเร็จได้ด้วยการทำงานเพียงลำพัง และ BDMS ก็เช่นกัน เราได้รับความร่วมมือ ทั้งจากภาครัฐ โรงเรียนแพทย์ และบริษัทสตาร์ทอัพ ในการยกระดับบริการทางการแพทย์ ทั้งการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน เรามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยยกระดับมาตรฐานสาธารณสุขไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

สำหรับ Medical LLMs ภายใต้ CARIVA ในชื่อ PreceptorAI เป็นแชทบอทด้านการแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งเปิดใช้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ทำหน้าที่เปรียบเสมือนที่ปรึกษาและผู้ช่วยตัดสินใจของบุคลากรทางการแพทย์ นายศิวดล มาตยากูร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แคริว่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว CARIVA ได้ต่อยอดนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ให้มีรูปแบบเสมือนผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เช่น Lab Interpretation Solution, ASR (Automatic Speech Recognition) การบันทึกและตรวจความถูกต้องข้อมูลคำสั่งทางการแพทย์แบบ real-time โดยใช้เทคโนโลยีรู้จำเสียงอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยในการบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมลดภาระงานด้านเอกสารในกระบวนการทำงานอีกด้วย  หรือ Symptom Checkers  เอไอในรูปแบบแชทบอท เพื่อประเมินอาการ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโรค โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของ CARIVA ประกอบกับความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการบริการที่เป็นเลิศทางการแพทย์ของ BDMS พร้อมขยายสู่โรงพยาบาลชั้นนำในต่างประเทศต่อไป

ซ้ายไปขวา – ศิวดล มาตยากูร และ ณรงค์ชัย ลิมป์ปิยาภิรมย์  

นอกจากนี้ นายณรงค์ชัย ลิมป์ปิยาภิรมย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แคริว่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า โครงการ Lab Interpretation ภายใต้ Sandbox ได้มีการทดลองใช้ ณ Health Design Center ในพื้นที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ เพื่อช่วยแปลผลข้อมูลสุขภาพร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการดูแลคนไข้ พร้อมเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพ เพื่อแสดงผลในรูปแบบดิจิตอลผ่าน BeDee Health Ecosystem Platform ให้คนไข้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมถึงสามารถเข้ารับบริการทางด้านสุขภาพ ได้แก่ การปรึกษาทางการแพทย์ ผ่าน Teleconsultation การบริการส่งยา และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ผ่าน Tele-pharmacy และ Health Mall รวมถึงรับข้อมูลสุขภาพ เพื่อการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร ผ่าน Health Content ซึ่งการบริการทั้งมวลดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ผู้ชำนาญการในเครือ BDMS

ดร. สริตา บุณย์ศุภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮลท์ พลาซ่า จำกัด ในเครือ BDMS ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน BeDee กล่าวว่า นอกจากประโยชน์ที่ AI จะเข้ามาช่วยแพทย์ในการอ่านผลตรวจสุขภาพเพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้นแล้ว  ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน BeDee ก็สามารถอ่านผลตรวจสุขภาพเองได้ทันที ในรูปแบบที่ล้ำสมัย สวยงาม และเข้าใจง่าย หากพบว่าผลตรวจสุขภาพของมีจุดผิดปกติ เช่น มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยก็สามารถวางแผนการรักษาต่อด้วยการปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง หรือปรึกษาเภสัชกรเรื่องยาแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ได้จากทุกโรงพยาบาลในเครือ BDMS ผ่านแอปพลิเคชัน BeDee เพียงแอปเดียว .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหล่าทัพขานรับนโยบาย 'บิ๊กทิน' ซื้ออาวุธแบบแพ็กเกจ

พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพว่า มีการหารือกันเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัย

“ศุภมาส” ประกาศนโยบาย “อว. for AI” ติดอาวุธคนไทยใช้ AI พัฒนาประเทศ  ชู flagship การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยด้วย AI

วันที่ 29 พ.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย“ อว. for AI” โดยมี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Surviving the Great Disruption

ช่วงต่อไปของเศรษฐกิจ คงต้องเรียกว่า The Great Disruption ที่ต้องเรียกเช่นนี้ก็เพราะ ความเปลี่ยนแปลงที่รออยู่ข้างหน้า 

เอ็มจี นำร่องเทคโนโลยี AI เข้ามาเริ่มใช้จริง ในงานมอเตอร์โชว์

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์ เอ็มจี ในประเทศไทย