'เกาะเสร็จ-แหล่งธนาคารปูม้า' สร้างความมั่นคงทางอาหาร

รวมพลังปล่อยลูกปูม้าสู่ทะเล

"ปูม้า" ถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะมีผู้นิยมบริโภคมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่ว่าจะเป็นประมงพื้นบ้าน หรือประมงพาณิชย์ต่างหมายปองที่จะได้ปูม้าในทะเล  จนมีการขยายกำลังในการออกไปจับปู ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรปูม้าในทะเลลดลงอย่างฮวบฮาบ  เพราะปูในธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตและเพาะพันธุ์ได้ทันความต้องการของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้บริษัท ซีพีแรม จำกัด ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร (Food security)จึงผุด “โครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย” เป็นหนึ่งภารกิจสำคัญที่ดำเนินการมากว่า 12 ปี ล่าสุดได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวประมงพื้นบ้าน และชาวบ้าน ในพื้นที่เกาะเสร็จ บ้านพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ปล่อยลูกปูม้าจำนวนกว่า 2 แสนตัว ทำให้ขณะนี้ปล่อยปูม้าสะสมแล้วกว่า 1.4 ล้านตัวลงสู่ทะเลไทย

 พื้นที่เกาะเสร็จ ที่อยู่ติดกับบริเวณบ้านพุมเรียงเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรปูม้าที่สำคัญเพราะในบริเวณพื้นที่เกาะมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ  ซึ่งมีผลต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของปูม้าและสัตว์น้ำอื่นๆด้วย ดังนั้นชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจับปูม้าเพื่อสร้างรายได้ ขณะเดียวกันก็ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ปูม้าจึงได้จัดตั้งธนาคารปูม้า นำลูกปูม้าวัยอ่อนปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งการเข้ามาร่วมของโครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย ยิ่งทำให้ปูม้ามีการเพาะพันธุ์และขยายตัวที่เพิ่มขึ้น

 วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารที่คำนึงถึงความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร หรือ FOOD 3S ดังนั้นการใช้วัตถุดิบธรรมชาติจากเกษตรกรหรือผู้ส่งมอบวัตถุดิบต้องอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิตโครงการนี้จะเป็นกรณีศึกษาให้กับโครงการอื่นๆ ในเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำและกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินโครงการในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะในทะเลอ่าวไทย เพราะเป็นทะเลปิดจะส่งผลให้ปูวนเวียนอยู่ในบริเวณอ่าวไทยและคาดว่าจะมีการขยายไปสู่ความรู้ทุกภาคส่วน

ปูม้าในระยะ Young Crab

วิเศษ กล่าวต่อว่า การปล่อยพันธุ์ปูม้าลงสู่ทะเลเป็นการอนุรักษ์เพาะพันธุ์ปูม้า ให้อยู่คู่กับทะเลไทยไม่เพียงสร้างความสมบูรณ์ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยส่งเสริมอาชีพของชาวประมงให้คงอยู่ต่อไปด้วย เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีถือเป็นแหล่งที่เรารับซื้อปูมากที่สุดและยังมีศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์ปูที่ชาวบ้านจัดทำธนาคารปูม้าและยังมีเขตอนุรักษ์สัตว์รน้ำอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับความตั้งใจที่อยากจะให้เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนในการสร้างความสมบูรณ์ทางทะเล โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณปูม้าในทะเล

  “จากที่ทางทีมนักวิจัยของซีพีแรมได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาจุดอ่อนจุดแข็งในการอนุรักษ์พันธุ์ปูให้เกิดความยั่งยืน โดยการสนับสนุนทั้งเงินทุนในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ พบว่าการปล่อยปูในระยะ Young Crab ที่มีขนาด 0.5-1 เซนติเมตร   ซึ่งเป็นระยะที่มีรูปร่างเป็นปูแล้วถือว่าเป็นระยะที่ปลอดภัยสามารถว่ายน้ำหรือซุกซ่อนตัวได้ จึงได้เลือกนำมาปล่อยในโครงการนี้ ทำให้ปูม้ามีอัตรารอด 80-95%เพราะถ้าหากปล่อยในระยะซูเอียที่เพิ่งฟักออกจากไข่ได้เพียง 10-14 วัน อาจจะกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ง่าย” วิเศษ กล่าว

ล่องเรือไปปล่อยปูที่เกาะเสร็จ

 เจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปูม้าเป็นสัตว์ทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะเสร็จ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของปูม้าและสัตว์น้ำทะเลต่างๆ จากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ได้แก่ ชาวประมงพื้นบ้านได้ให้ความร่วมมือในการทำธนาคารปูม้าและภาคเอกชน ได้เข้ามาทำกิจกรรมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้าในระยะการเติบโตที่มีโอกาสรอดสูง อีกทั้งยังเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คงความอุดมสมบูรณ์และเกิดความยั่งยืนต่อระบบนิเวศของท้องทะเลไทย

อรัญญา อัศวอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสุราษฎร์ธานีกล่าวเสริมว่า ในการดูแลการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ของจ.สุราษฎร์ธานี สัตว์น้ำที่เพาะพันธุ์คือ ปูม้า ปูทะเล ปลากระบอกขาว ปลากะพง ซึ่งมีทั้งส่วนที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และขายเข้ากิจกรรมงบเงินทุนหมุนเวียน และมอบให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงแต่ทั้งนี้การเพาะพันธุ์ปูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร  ที่ต้องการเลี้ยงปูสูงและงบประมาณในการดำเนินการเพาะพันธุ์ดังนั้นมีโครงการต่างๆเข้ามาสนับสนุนก็ทำให้สามารถช่วยขยายการเพาะพันธุ์ปูม้าได้เพิ่มขึ้นโดยภายในปีนี้มีเป้าหมายที่จะอนุบาลปูม้าและปล่อยลงสู่ทะเลตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 40,000 ตัวต่อปี โดยในจำนวนนี้ก็จะมีการเฉลี่ยแบ่งให้ในพื้นที่รอบชอบฝั่งของสุราษฎร์ธานี โดยทางจังหวัดก็จะมีการคัดเลือกเกษตรกรผู้ที่ต้องการเพาะเลี้ยงปูม้ามาให้เพื่อดำเนินการในการดูต่อไป  

คณะผู้ดูแลการเพาะพันธุ์และการอนุรักษ์สัตว์ในชายฝั่งจ.สุราษฎร์ธานี

 ด้านนิรันดร์ อุบลสุวรรณ ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของเกาะเสร็จว่า เกาะแห่งนี้เป็นพื้นที่หลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ไม่ได้มีเพียงแค่ปูแต่ยังมีสัตว์น้ำอื่นๆด้วย เนื้อที่รวมราวๆ 5,600 ไร่โดยพื้นที่บริเวณเกาะเสร็จทางคณะกรรมการประมงจังหวัดสุราษธานียังได้ประกาศให้เป็นเขตห้ามทำการประมงเมื่อปี พ.ศ.2561 โดยมีหลักกติกาคือ ห้ามใช้เครื่องมือลอบปูทุกชนิดทำการประมง หากพบจะมีการดำเนินการทางกฎหมายแต่ชาวบ้านก็ยังสามารถทำประมงในพื้นที่ของเกาะเสร็จได้ด้วยวิธีการจับปูด้วยมือหรือใช้อวนติดตาที่ขนาดความกว้างของตาเกิน 3 นิ้วขึ้นไป โดยประมงพื้นบ้านในอ.ไชยากว่า 300 ลำ ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการอนุบาลปูม้าซึ่งภายในอำเภอมีธนาคารปูม้า 3-4 แห่งในการช่วยเพาะพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

 จรินทร์ เฉยเชยชม ประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านพุมเรียง กล่าวว่า เกาะเสร็จ ถือว่าเป็นอีกเกาะในจ.สุราษฎร์ธานีที่มีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ทำให้สัตว์ทะเลได้อยู่ในระบบเวศที่ดีมีการขยายพันธุ์ต่อเนื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องคอยดูแลคือเรื่องขยะเพราะในระยะจากฝั่งออกไปสู่ทะเล 500 เมตรจะพบขยะหลายร้อยกิโลกรัมต่อวัน ที่มีทั้งพัดมาจากที่อื่นกว่า 50% ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำในทะเล วิธีการจัดการคือ การใช้โมเดลท่องเที่ยวชุมชนในการให้คนในชุมชนรวมถึงนักท่องเที่ยวมีส่วนช่วยในการเก็บขยะรวมไปถึงการเข้ามาช่วยส่งเสริมของโครงการปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทยที่ทำให้ชาวบ้านได้ร่วมมือกันในการดูแลไม่ออกไปจับปูม้าในระยะที่กำลังเติบโตเพื่อให้ปูม้าได้มีโอกาสขยายพันธุ์ซึ่งจะส่งผลให้มีเพียงพอต่อความต้องการด้วย
--------------------------

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“วราวุธ” มอบ "ปลัด พม." ร่วมคณะนายกฯ “แพทองธาร” ลุยน้ำท่วมนครศรีฯ - สุราษฎร์ฯ ช่วยผู้ประสบภัย

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)

'พล.อ.เกรียงไกร' ร่วมรำลึก 83 ปีสงครามมหาเอเชียบูรพา

“พล.อ.เกรียงไกร” รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 นำประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี รำลึก 83 ปีสงครามมหาเอเชียบูรพา นำสักการะอนุสาวรีย์ครูลำยอง วิศุภกาญจน์ เนื่องในวันวิญญาณ ประจำปี 2567 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

ปลุกคนใต้โดนปล้นพลังงาน 'วัชระ' ค้านย้ายโรงไฟฟ้าสุราษฎร์  

“วัชระ”ปลุกกระแส จุดเทียนประท้วง ค่าไฟมหาโหด ค้านย้ายโรงไฟฟ้าจากสุราษฎร์ธานีไปภาคกลาง ชี้จะทำให้ภาคใต้สูญเสียความมั่นคงด้านพลังงาน

ไอเดียเจ๋ง! 'ลิงจากมะพร้าว' งานฝีมือพระวัดเกาะเต่า

นางสาววัจนันท์ ศิลปวรณ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำคณะสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเปิดเทศกาลท่องเที่ยวเกาะเต่า Spotlight Koh Tao 2024